พิมพ์ไทยออนไลน์//สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (สคพ.) เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับนานาชาติ Trade and Development Regional Forum 2022: Futuristic Asia Pacific เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2565 ณ โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพฯ มุ่งเสริมสร้างความเข้มแข็งในการพัฒนาการค้าและการลงทุนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก พร้อมขยายเครือข่ายใหม่ๆ เพื่อสร้างระบบนิเวศน์เศรษฐกิจที่ยั่งยืนท่ามกลางกระแส ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) หรือ สคพ. เดินหน้าเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือและความแข็งแกร่งด้านการค้าการลงทุนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ผ่านการประชุม Trade and Development Regional Forum 2022: Futuristic Asia Pacific โดยได้รับเกียรติจาก
นายสรรเสริญ สมะลาภา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานในพิธีเปิด ซึ่งการประชุมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในการเผชิญกับปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจโลก อันเกิดจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านสงคราม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และโรคอุบัติใหม่ เป็นต้น โดยเฉพาะ
โรคโควิด-19 ที่เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญในการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ เพื่อป้องกันการพังทลายของธุรกิจการค้าและการลงทุนจากโรคระบาด ซึ่งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อประชากรทั่วโลก
นายสรรเสริญ สมะลาภา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า “ปัจจุบันเทคโนโลยี
สร้างความเปลี่ยนแปลงต่อวิถีชีวิตของผู้คนในสังคมโลกอย่างมากมาย ซึ่งอาจก่อให้เกิดช่องว่างระหว่างกลุ่มคนที่เข้าถึงเทคโนโลยีกับคนที่ไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ ประกอบกับปัจจัยเสี่ยงด้านความไม่แน่นอนต่างๆแต่สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนามองว่าเราสามารถปรับเปลี่ยนประเด็นดังกล่าวมาให้เป็นโอกาสได้เช่นกัน เช่น เกิดการเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจ การค้าและบริการโดยใช้โมเดลใหม่ๆที่ จะสามารถตอบโจทย์ความท้าทายที่เกิดขึ้นได้ และเพื่อหาโอกาสใหม่ๆ ให้กับธุรกิจ การค้า และการลงทุน สถาบันฯ จึงได้จัดการประชุมนานาชาติดังกล่าวขึ้น โดยรวบรวมผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศร่วมแบ่งปันและถ่ายทอดประสบการณ์ในการทำธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน”
นายมนู สิทธิประศาสน์ ผู้อำนวยการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) กล่าวเพิ่มเติมว่า “เป้าหมายหลักของงานครั้งนี้ เน้นการแสวงหาอนาคตทางการค้าและการลงทุนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจากนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์ปัญหาและอุปสรรคในการลงทุนของธุรกิจ และในขณะเดียวกันสามารถสร้างโอกาสใหม่ๆ ในการลงทุนด้วยเช่นกัน โดยกลุ่มธุรกิจที่สำคัญ ประกอบด้วย ภาคการเงิน ภาคเทคโนโลยี ภาคพลังงานสะอาด ภาคการท่องเที่ยว ภาคการเกษตร และภาคการขนส่ง เป็นต้น โดยภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเปรียบเสมือนโรงงานของโลก เพราะเป็นศูนย์กลางการผลิตสินค้า และเป็นแหล่งบ่มเพาะนวัตกรรมใหม่ๆ ที่สำคัญ ส่วนด้านการค้าระหว่างประเทศนั้น ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีข้อตกลงการค้าเสรีที่เกี่ยวข้องกับภูมิภาคอื่นๆ อีกหลายฉบับ
การฉายภาพของเศรษฐกิจโลกในอนาคต โดยนายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้อำนวยการและรองประธานบริหารธนาคารกรุงเทพ จำกัด มหาชน หัวข้อ “Future of Regional MNC” ซึ่งเป็นการนำเสนอยุทธศาสตร์
ในการทำธุรกิจในอีก 5-10 ปีข้างหน้า โดยผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงหัวข้อ “Future of Startup Business” และหัวข้อ “Future of Technology” ซึ่งผู้ร่วมเสวนานั้นมาจากผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจ startup และเทคโนโลยีนวัตกรรมสำหรับโลกอนาคต ที่มาร่วมแบ่งปันเรื่องราวความท้าทายในการทำธุรกิจ จากนั้น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ขึ้นกล่าวในหัวข้อ “The Future is now” ผ่านมุมมองและประสบการณ์เกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจมหภาค นโยบายและกฎระเบียบใหม่ เพื่อสร้างระบบนิเวศน์เศรษฐกิจแบบใหม่ในภูมิภาค และปิดท้ายงานประชุม โดยนายมนู สิทธิประศาสตร์ ผู้อำนวยการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) กล่าวในหัวข้อ “Future of ITD”