วันอาทิตย์, กันยายน 8, 2024

หนังสือพิมพ์ พิมพ์ไทยออนไลน์

หน้าแรก บล็อก

สำนักข่าวเนตรทิพย์-ท้องกินข้าว สมองกินข่าว!

0

https://linevoom.line.me/?utm_source=chrome_app&utm_medium=windows
Cr. : ต้นฉบับจาก สำนักข่าวเนตรทิพย์ ออนไลน์

(อ่านเพิ่มเติม : ลิ๊งค์เว็บไซต์-เนตรทิพย์ ออนไลน์-ด้านบน)

 

 

 

น้ำใจงาม! Banpu ร่วมฟื้นฟูเยียวยา ผู้ประสบอุทกภัยพื้นที่ภาคเหนือ มูลค่า 2.8 ล้านบาท

0

https://www.natethip.com/news.php?id=8943
Cr. : ต้นฉบับจาก สำนักข่าวเนตรทิพย์ ออนไลน์

(อ่านเพิ่มเติม : ลิ๊งค์เว็บไซต์-เนตรทิพย์ ออนไลน์-ด้านบน)

 

 

 

 

หุ้นไทยทะลุกว่า 1,400 จุด ต้อนรับ “ครม.สืบสันดาน” ถ้าการเมืองนิ่ง! 1,500 จุดแน่!

0

https://www.natethip.com/news.php?id=8942
Cr. : ต้นฉบับจาก สำนักข่าวเนตรทิพย์ ออนไลน์

(อ่านเพิ่มเติม : ลิ๊งค์เว็บไซต์-เนตรทิพย์ ออนไลน์-ด้านบน)

 

 

 

พม. รับมอบสิ่งของบริจาค จากมูลนิธิ We Love U เตรียมส่งต่อกลุ่มเป้าหมายที่ประสบปัญหาอุทกภัย 

0

พิมพ์ไทยออนไลน์//เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2567 เวลา 14.30 น. นางสาวนฤมล พงษ์สุภาพ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานในพิธีรับมอบสิ่งของบริจาค จากมูลนิธิ We Love U นำโดย คุณโจ ซอง ฮวาน ผู้แทนมูลนิธิ We Love U ในประเทศไทย รวมมูลค่า 74,226 บาท ได้แก่ 1) ข้าวสาร ปริมาณ 5 กิโลกรัม จำนวน 250 ถุง 2) น้ำมันพืช ปริมาณ 1 ลิตร จำนวน 30 ลัง และ 3) บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป จำนวน 100 กล่อง เพื่อนำไปจัดสรรและส่งมอบให้กับผู้ประสบปัญหาอุทกภัย และกลุ่มเป้าหมายตามภารกิจของกระทรวง พม. ณ บริเวณโถง ชั้น 1 อาคารกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

นางสาวนฤมล กล่าววา กระทรวง พม. ต้องขอขอบคุณมูลนิธิ We Love U ที่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุน เสริมสร้างวัฒนธรรมในการแบ่งปัน ส่งเสริมคุณภาพชีวิต และบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ทั้งนี้ ขอให้ทุกท่านมั่นใจว่าสิ่งของบริจาคในวันนี้ จะส่งถึงผู้ประสบปัญหาอุทกภัย  และเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มเป้าหมายตามภารกิจของกระทรวง พม. อย่างแท้จริง #ข่าวพม #พม #ศรส #esshelpme #1300 #วราวุธรับฟังทำจริง #พมพอใจให้ทุกวัยพึงพอใจในพม #พมหนึ่งเดียวรวมใจ #รับมอบสิ่งของบริจาค #มูลนิธิWe_Love_U :Cr;มณสิการ รามจันทร์ 

ศรส.ร่วมกับเครือข่ายลงพื้นที่พักอาศัยขอทานต่างด้าว กก.ดส.กทม.คัดกรอง-ส่ง ตม.ดันกลับประเทศต้นทาง

0

พิมพ์ไทยออนไลน์//เมื่อวันที่ 6 ก.ย. 67 ศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชนหรือ ศรส.กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.)ส่งทีมปฏิบัติการหน่วยเคลื่อนที่เร็ว โดยศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ร่วมกับ”กัน จอมพลัง” และ กองกำกับการสวัสดิภาพเด็กและสตรี (กก.ดส.) ลงพื้นที่บ้านพักของผู้ทำการขอทาน

จากการลงพื้นที่พบชาวกัมพูชา อาศัยอยูในห้องเช่าอาคารเดียวกัน ภายในซอยรามอินทรา 73 แยก 2 พบเด็ก 4 คน ผู้ใหญ่ 6 คน (ชาย 3 คน หญิง 3 คน) มีสภาพใบหน้าเหลว 2 คน เป็น ชาย 1 คน หญิง 1 คน มีพฤติกรรมขอทาน ส่วนบุคคลอื่นทำงานรับจ้างค้าขาย เจ้าหน้าที่ กก.ดส. ได้เชิญตัวทั้ง 10 คน ไปคัดกรองและสอบประวัติที่ กก.ดส.กรุงเทพมหานคร ต่อมา เจ้าหน้าที่ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งกรุงเทพมหานคร และเจ้าหน้าที่ กก.ดส. ให้บุคคลทั้งหมดไปกระทำการคัดกรองและคัดกรองการค้ามนุษย์เบื้องต้น ซึ่งไม่พบหลักฐานกระทำการขอทาน แต่จากการตรวจสอบทราบข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้หญิงอายุ 45 ปี มีเอกสารเข้าเมืองถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ได้ประกอบอาชีพ อาศัยอยู่กับสามีอายุ 49 ปีมีรายได้จากการกระทำการขอทานแต่อยู่ในประเทศไทยเกินกว่าที่ได้รับอนุญาต (Over Stay) เป็นเวลา 475 วัน ใบหน้ามีแผลเป็นจากการถูกภรรยาเก่าสาดน้ำกรด มีรายได้จากการกระทำการขอทานในประเทศไทย และมีหลานวัย 1 ปี อาศัยอยู่ด้วย,

หญิงอายุ 51 ปี เข้าประเทศไทยผ่านช่องทางธรรมชาติ อำเภออรัญประเทศ จ.ปราจีนบุรี ไม่มีเอกสารการเข้าเมือง อาศัยอยู่กับสามี อายุ 52 ปี มีรายได้จากการกระทำการขอทาน พร้อมลูกชายวัย 7 ขวบ ซึ่งเกิดในประเทศไทย มีสูติบัตร ได้รับเลขประจำตัวประชาชน ขึ้นต้นด้วยเลข 0

ชายอายุ 52 ปี เข้าประเทศไทยผ่านช่องทางธรรมชาติ ใกล้ด่านถาวรบ้านแหลม จังหวัดจันทบุรี ไม่มีเอกสารการเข้าเมือง มีความพิการขาซ้ายผิดรูป มีรายได้จากการกระทำการขอทานในประเทศไทย , หญิงอายุ 41 ปี เข้าประเทศไทยผ่านช่องทางธรรมชาติ ใกล้ด่านถาวรบ้านแหลม จังหวัดจันทบุรี ตามองเห็นเลือนราง และใบหน้ามีแผลเป็นจากเหตุการแก๊สระเบิด อาศัยอยู่กับบุตรชาย อายุ 12 ปี มีรายได้จากการกระทำการขอทานในประเทศไทย

ชายอายุ 45 ปี เข้าประเทศไทยผ่านช่องทางธรรมชาติ อำเภออรัญประเทศ ไม่มีเอกสารการเข้าเมือง มีความสัมพันธ์เป็นสามีของนางแอน มะยม ซึ่งถูกจับกุมข้อหากระทำการขอทานที่ สน.ลาดพร้าว เมื่อคืนวันที่ 5 ก.ย. 67 อาศัยอยู่กับเด็กหญิง อายุ 2 ปี ที่ระบุว่าเป็นหลาน

ทั้งนี้หลังจากการคัดกรอง พบว่าบุคคลทั้ง 10 ราย“ไม่เข้าข่าย” เป็นเหยื่อจากการค้ามนุษย์ เจ้าหน้าที่ กก.ดส. จึงวางแผนส่งให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ดำเนินการผลักดันกลับประเทศต้นทาง เหลือเฉพาะผู้ที่มีเอกสารเข้าเมืองถูกกฎหมาย 2 รายที่เห็นควรทำประวัติและปล่อยตัว โดยทั้งสอง จะเดินทางกลับประเทศกัมพูชาด้วยตนเองในภายหลัง

หากพบเห็นหรือกำลังเผชิญกับปัญหาทางสังคม สามารถแจ้งเหตุได้ที่…Inbox: Facebook fanpage : #HuSECศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน หรือโทรสายด่วน 1300 พม. โทรฟรีตลอด 24 ชั่วโมง #Hotline1300 #ศรส #พม :Cr;มณสิการ รามจันทร์ 

น้ำใจงาม! ผู้บริหารและพนักงาน EBM – NBM ร่วมใจแพ็กถุงยังชีพ ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม

0

https://www.natethip.com/news.php?id=8941
Cr. : ต้นฉบับจาก สำนักข่าวเนตรทิพย์ ออนไลน์

(อ่านเพิ่มเติม : ลิ๊งค์เว็บไซต์-เนตรทิพย์ ออนไลน์-ด้านบน)

 

 

 

พร้อมมูฟไปทุกที่! Banpu ส่ง “e-PromptMove” โซลูชันผลิตและกักเก็บไฟฟ้า พลังงานสะอาดแบบเคลื่อนที่ – ตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า “MuvMi” @งาน Sustrends 2025

0

https://www.natethip.com/news.php?id=8940
Cr. : ต้นฉบับจาก สำนักข่าวเนตรทิพย์ ออนไลน์

(อ่านเพิ่มเติม : ลิ๊งค์เว็บไซต์-เนตรทิพย์ ออนไลน์-ด้านบน)

ศรส.ร่วม”กันจอมพลัง”-สน.ลาดพร้าว ลงพื้นที่จับขอทานชาวกัมพูชาย่านบางกะปิ

0

พิมพ์ไทยออนไลน์//เมื่อวันที่ 5 ก.ย. 67 เวลา 20.00 น. ศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน (ศรส.) ส่งทีมปฏิบัติการหน่วยเคลื่อนที่เร็ว โดยศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งกรุงเทพมหานคร ร่วมกับคุณกัน จอมพลัง และสถานีตำรวจนครบาลลาดพร้าว ลงพื้นที่ตลาดนัดแฟลตคลองจั่น เขตบางกะปิ พบหญิงหน้าพิการ และเด็กชายอายุ 12 ปี ทำการขอทาน จึงได้เชิญตัวไปยังสถานีตำรวจนครบาลลาดพร้าว

ต่อมา ได้มีการตรวจสอบเพิ่มเติม พบว่า มีผู้ทำการขอทานเป็นหญิงอายุ 52 ปี และเด็กชาย อายุ 12 ปี โดยหญิงดังกล่าวอ้างว่าเป็นหลาน พักอาศัยอยู่แถวรามอินทรา กม. 8 และให้ข้อมูลกับทีมเจ้าหน้าที่ว่ามาทำการขอทานได้ประมาณ 2 เดือน จึงได้มีการตรวจค้นทรัพย์สิน และพบเงินจำนวน 2,260 บาท จึงได้ดำเนินการตาม พ.ร.บ.ควบคุมการขอทาน พ.ศ.2559 และหลบหนีเข้าเมือง ตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง และทำบันทึกจับกุม พร้อมเปรียบเทียบปรับ จำนวน 500 บาท หลังจากนั้นได้รับตัวเพื่อเข้ารับการคุ้มครองสวัสดิภาพที่สถานคุ้มครองฯ เพื่อดำเนินการตรวจพิสูจน์ความสัมพันธ์ทางสายโลหิต (DNA) ต่อไป :Cr;มณสิการ รามจันทร์

 

สงขลา-กงสุลใหญ่ สาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำจังหวัดสงขลาร่วมเสวนาความก้าวหน้าในความ สัมพันธ์ ไทย-จีน ในภาคใต้

0

สงขลา-กงสุลใหญ่ สาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำจังหวัดสงขลาร่วมเสวนาความก้าวหน้าในความ สัมพันธ์ ไทย-จีน ในภาคใต้

เมื่อเวลา 14.30.วันที่ 6.ก,ย.67 ที่ห้องรับรองบ้านพัก กงสุลใหญ่สาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำ จ.สงขลา นางอู่ ตงเหมย กงสุลใหญ่สาธารณประชาชนจีนประจำจังหวัดสงขลา ได้เชิญนายไชยยงค๋ มณีรุ่งสกุล สมาชิกวัฒิสภา จ.สงขลา ร่วมเสวนาถึงความก้าวหน้าของมิตรภาพไทย-จีน ในโอกาสคครบรอบ 30 ปี ของการต่อตั้ง สำนักงานกงสุลประจำจังหวัดสงขลา โดยนางอู๋ ตงเหมย กล่าวว่.
สถานกงสุลใหญ่จีนประจำสงขลาก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 1994 รวมเวลาเกือบ 30 ปีแล้ว การก่อตั้งสถานกงสุลใหญ่จีนประจำสงขลาได้สร้างสะพานแห่งใหม่สำหรับการแลกเปลี่ยนและความร่วมมีอระหว่างจีนและภาคใต้ของไทย และแสดงให้เห็นถึงการแลกเปลี่ยนที่ใกล้ชิดมากขึ้นระหว่างจีนและไทย ในประวัติศาสตร์อันยาวนานของมนุษยชาติ 30 ปีอาจเป็นเพียงช่วงเวลาสั้นๆ แต่ 30 ปีที่ผ่านมาเป็น 30 ปีแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของประเทศจีน และเป็น 30 ปีแห่งความก้าวหน้าอันยิ่งใหญ่ของมิตรภาพจีน-ไทย ผมขอใช้โอกาสพิเศษในวาระครบรอบ 30 ปีของการสถาปนานกงสุลใหญ่จีนประจำสงขลาเพื่อย้อนประวัติอันน่าตื่นเต้นและเป็นแรงบันดาลใจของพวกเราร่วมกัน 30 ปีที่ผ่านมาเป็นเครื่องยืนยันถึงการพัฒนาอย่างรวดเร็วของจีน.
30 ปีที่แล้ว GDP ของจีนมีมูลค่า 600,000 กว่าล้านดอลลาร์สหรัฐ และให้หลัง คือปี 2023 GDP ของจีนมีมูลค่ามากกว่า 18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 18% ของเศรษฐกิจโลก ในปี 1994 เศรษฐจีนอยู่ในอันดับที่ 8 ของโลก มาในปี 2010 จีนได้กลายเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลก และเป็นประเทศอุดสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุด ปัจจุบัน จีนเป็นประเทศเดียวในโลกที่มีอุตสาหกรรมครบทุกประเภทตามการแบ่งประเภทอุตสาหกรรมของสหประชาชาติ โดยมีอุตสาหกรรมการผลิตที่ทรงพลังที่สุด และมีการพัฒนาขีดความสามารถด้านนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว
เศรษฐกิจของจีนมีขนาดมหึมา การพัฒนาที่ยั่งยืนและมีคุณภาพสูงของเศรษฐกิจจีนย่อมเป็นแรงผลักดันสาคัญสาหรับการเติมโดของเศรษฐกิจโลกอย่างแน่นอน ตลอด 30 ปีที่ผ่านมา จีนได้ขยายการเปิดกว้างสู่โลกภายนอกและยกระดับการเปิดกว้างอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นสัญลักษณ์ที่เด่นชัดอย่างหนึ่งของจีน ปัจจุบัน จีนเป็นคู่ค้าหลักของประเทศและภูมิภาคต่างๆ มากกว่า 140 ประเทศท้าโลก และเป็นผู้ส่งออกและนำเข้ารายใหญ่อันดับสองของโลก นับตั้งแต่เริ่มต้นโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางหรือ Belt and Road Initiative เมื่อปี 2013 จีนได้ดึงดูดประเทศต่างๆ มากกว่า 150 ประเทศและองค์กรระหว่างประเทศมากกว่า 30 องค์กรเข้าร่วม ซึ่งโครงการ หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางได้กลายเป็นผลิตภัณฑ์สาธารณะระดับนานาชาติที่ได้รับความนิยมและเป็นเวทีความร่วมมือระหว่างประเทศ ซึ่งจะส่งแรงขับเคลื่อนใหม่ๆ ต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลกอย่างต่อเนื่องจีนยินดีแบ่งปันการพัฒนาของตนเองเพื่อมอบโอกาสใหม่ๆ ให้กับประเทศต่างๆ ทั่วโลก “เค้ก” ของความร่วมมือแบบ win-win ชาติที่หอมหวาน จีนยินดีทำงานร่วมกับมิตรประเทศรวมทั้งประเทศไทยเพื่อสร้าง “เค้ก” ที่ใหญ่ขึ้นและดีขึ้น และแบ่งปันประโยชน์จากกพัฒนาของจีน ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จีนมีส่วนร่วมในการเติบโตของเศรษฐกิจโลกเฉลี่ยปีละกว่า 30% ในปี 2023 ท่ามกลางเศรษฐกิจโลก.ที่ฟื้นตัวอย่างยากลำบากและเผชิญความไม่แม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้นของอุปสงค์และอุปทานในตลาดโลก เศรษฐกิจจีนมีส่วนสนับสนนการเต็มโดของเศรษฐกิจโลกถึง 32% และกลายเป็นกลไกขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของโลกอีกครั้ง
30 ปีที่ผ่านมาเป็นเครื่องยืนยันถึงการพัฒนาความสัมพันธ์จีน-ไทยอย่างครอบคลุม จีน-ไทยเป็นเพื่อนบ้านที่ดีที่เชื่อมต่อกันด้วยภูเขาและแม่น้ำ เป็นญาติที่ดีด้วยสายเลือด และเป็นหุ้นส่วนที่ดีที่มีอนาคตร่วมกัน ตั้งแต่ “แถลงการณ์ร่วม” ปี 2001 ที่รัฐบาลจีนและไทยบรรลุฉันทามติในการส่งเสริมความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ร่วมกัน จนถึงปี2012 ที่ทั้งสองประเทศได้เริ่มต้นความสัมพันธ์หุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน และปี 2022 ที่ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เยือนประเทศไทยและร่วมกับผู้นำรัฐบาลไทยในการสร้างเป้าหมายยุคใหม่ของ “ประชาดิมที่มีอนาคตร่วมกันจีน-ไทย” จนถึงปี 2023 ที่นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสินเยือนประเทศจีน และได้แลกเปลี่ยนเชิงลึกกับผู้นำจีนเกี่ยวกับความร่วมมือด้านต่างๆ ระหว่างสองประเทศ และบรรลุฉันทามติอย่างกว้างขวาง ทำให้ทั้งสองประเทศมีความไว้วางใจทางการเมืองต่อกันเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ผู้นำระดับสูงของทั้งสองประเทศมีการเยือนระหว่างกันเหมือนเครือญาติ ผู้นำจีนหลายคนเคยมาเยือนประเทศไทย ราชวงศ์ไทย ผู้นำรัฐบาล รัฐสภา และผู้นำกองทัพของไทยก็ได้เยือนจีนหลายครั้งเช่นเดียวกัน ความสัมพันธ์จีน-ไทยรักษาโมเมนตัมการพัฒนาที่มั่นคงและแข็งแรงมาโดยดลอด และกลายเป็นต้นแบบของการอยู่ร่วมกันอย่างปรองดองและพัฒนาร่วมกัน
ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ขนาดการค้าระหว่างจีนและไทยยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จีนกลายเป็นคู่คำรายใหญ่ที่สุดของไทย เป็นแหล่งเงินทุนต่างประเทศที่สำคัญที่สุด เป็นประเทศต้นทางของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่สำคัญที่สุด และเป็นตลาดส่งออกสินค้าเกษตรที่ใหญ่ที่สุดของไทย ตั้งแต่ปี 2021 เป็นต้นมา ปริมาณการค้าจีน-ไทยทะลุ 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน ประเทศไทยเป็นฐานสำคัญของโครงการ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ที่มีคุณภาพสูง ภายใต้กรอบของ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” การส่งออกสินค้าเกษตรของไทยไปยังจีนยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในปี 2023 การส่งออกสินค้าเกษตรของไทยไปยังจีนมีมูลค่าร่วม 11,262 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 42% ของการส่งออกสินค้าเกษตรทั้งหมดของไทย เพิ่มขึ้น 6.19% เมื่อเทียบเป็นรายปีการส่งออกทุเรียนไทยไปยังจีนคิดเป็น 70% ของการส่งออกทั้งหมดของไทย ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนเมษายนปีนี้ไทยส่งออกทุเรียนสดไปยังจีนถึง 225,000 ตัน ธุรกิจจีนมีการลงทุนในไทยอย่างแข็งขัน ในปี2023 การลงทุนโดยตรงของจีนในประเทศไทยมีมูลค่า 4,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 109% เมื่อเทียบเป็นรายปี และมีส่วนช่วยในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และการจ้างงานของไทยอย่างมีนัยสำคัญในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างจีนะไทยมีความใกล้ชิดกันมากขึ้น ประเทศไทยเป็นหนึ่งใงในจุดหมายปลายทางยอดนิยมของนักท่องเที่ยวจีน ในปี 2023 มีนักท่องเที่ยวจีนเดินทางมาเยือนประเทศไทย 3.52 ล้านคน สร้างรายได้ด้านการท่องเที่ยวให้ไทยกว่า 196,700 ล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคมปีนี้ จีนและไทยได้เข้าสู่ “ยุคปลอดวีซ่า” จำนวนนักท่องเที่ยวทั้งจีนมาไทยและไท่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ในช่วงสี่เดือนแรกของปีนี้ มีนักท่องเที่ยวจีนประเทศไทย 2.352 ล้านคน ซึ่งกว่าชาติอื่นๆในช่วงเวลาดังกล่าว วันที่1 มีนาคม มีนักท่องเที่ยวไทยไปเที่ยวจีนเพิ่มขึ้น 3 เท่า เพิ่มขึ้นม60% เมื่อเทียบกับปี 2019 ในช่วงก่อนโควิด นักศึกษาจีนยังคงศึกษาต่างชาติกลุ่มหลักในรั้วมหาวิทยาลัยไทย ในภาคการศึกษาของปีการศึกษา 2023 มีนักศึกษาจีนในสถาบันอุดมศึกษาของ21,906 คน คิดเป็น 60% ของนักศึกษาต่างชาติทั้งหมดในประเทศไทย
30 ปีที่ผ่านมาเป็นเครื่องยืนยันถึงความมีชีวิตชีวาของความร่วมมือระหว่างจีนกับภาคใต้ของไทย ภาคใต้ของไทยอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ จีนมีตลาดขนาดใหญ่และมีฐานการผลิตที่แข็งแกร่ง ทั้งสองฝ่ายมีส่วนส่งเสริมระหว่างกันอย่างมากในด้านเศรษฐกิจ การสงอองออกเนื่อง ในปี 2023 ไทยส่งออกยางพาราทั้งสิ้น 4.267 ล้านตัน ในจำนวนนี้ 2.057 ล้านต้นส่งออกไปจีน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นยางที่ผลิตในภาคใต้ ในปี 2023 ประเทศไทยสงออกทเรียนไปยังจีนจำนวน 945,000 ต้นเฉพาะจังหวัดชุมพรเพียงจังหวัดเดียวก็ส่งออกทเรียนไปยังจีนถึง400,000 ตัน ผลไม้อื่นๆ จากภาคใต้ เช่น มะพร้าว สับปะรด กล้วยมะม่วง ฯลฯ ก็เป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศจีนเช่นกัน การลงทุนและการสร้างโรงงานของบริษัทจีนในพื้นที่ภาคใต้ของไทยได้ช่วยแก้ปัญหาการดำรงชีพของคนท้องถิ่นจำนวนมาก เช่น การจ้างงาน การกำจัดขยะและแหล่งจ่ายไฟฟ้า เป็นต้น อีกทั้งมีส่วนร่วมในการพัฒนาภาคใต้ของไทย การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างจีนและภาคใต้ของไทยด่าเนินไปอย่างต่อเนื่อง ชาวใต้มีความสนใจในภาษาและวัฒนธรรมจีนเพิ่มมากขึ้น โรงเรียนจีนในภายได้ได้ผลิตทูดสันถวไมตรีระหว่างจีน-ไทยจำนวนมาก ภาคใต้อุดมไปด้วยทรัพยากรด้านการท่องเที่ยว ภูเก็ดสมย และหลีเป๊ะเป็นที่ชื่นชอบของนักท่องเที่ยวจีน ในสื่อสังคมออนไลน์ของจีน มีนักท่องเที่ยวจีนจำนวนนับไม่ถ้วนได้แบ่งปันความทรงจำดีๆ ขณะไปท่องเที่ยวในสถานที่เหล่านี้30 ปีที่ผ่านมาเป็นเครื่องยืนยันถึงมิตรภาพจีน-ไทยที่เรียกว่า”ไทยจีนใช่อื่นใกล พี่น้องกัน” ซึ่งมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง คนจีนและไทยมีมิตรภาพอันยาวนานและมีความใกล้ชิดเหมือนครอบครัวเดียวกันนับตั้งแต่สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต ประชาชนทั้งสองประเทศได้ร่วมทุกร่วมสุขกัน ช่วยเหลือเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ร่วมกันเอาชนะภัยพิบัติทางธรรมชาติ ร่วมกันตอบสนองต่อวิกฤตการณ์ทางการเงิน และร่วมกันส่งเสริมการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจ เราจะไม่มีวันลืมว่าเมื่อเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ครั้งแรกในปี 2019 รัฐบาลและประชาชนทุกสาขาอาชีพในไทย รวมถึงประชาชนในภาคใต้ ต่างมีความห่วงใยกับความปลอดภัยของประชาชนในเมืองอู่ฮั่น และได้จัดกิจกรรม “อู่ฮั่นสู้ๆ”โดยร่วมกันบริจาคเงินและสิ่งของให้กับประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ อำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวชาวจีนที่ติดอยู่ในประเทศไทยและรักษาผู้ป่วยชาวจีนที่คิดเชื้อในประเทศไทยโดยทันทีในทำนองเดียวกัน หลังจากเกิดการแพร่ระบาดในประเทศไทย ฝ่ายจีนก็ได้จัดหาอุปกรณ์ป้องกัน แบ่งปันประสบการณ์ในการรับมือ และจัดหาวัคขืนให้กับประเทศไทยมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จนเกิดเรื่องที่น่าประทับใจครั้งแล้วครั้งเล่า ทั้งสองฝ่ายได้ใช้การปฏิบัติจริงอธิบายถึงมิตรภาพอันลึกซึ้งสมกับคำกล่าวที่ว่า “จีนไทยใช่อื่นไกล พี่น้องกัน”ตั้งแต่ข้าพเจ้าเข้ารับตำแหน่งที่สงขลา ข้าพเจ้ามักจะไปเยี่ยมสถานที่ต่างๆในเขตรับผิดชอบ ได้พบปะพุดคุยกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น นักธุรกิจชาวจีนโพ้นทะเล และนักศึกษา ได้รู้จักเพื่อนมากมาย ในทุกพื้นที่เข้าจะได้สัมผัสถึงความกระตือรือร้นอย่างมากของผู้นำท้องถิ่นและระชาชนภาคใต้ต่อความปรารถนาในการสร้างความร่วมมือกัมจีน นับตั้งแต่ก่อตั้งสถานกงสุลใหญ่ประจ่าสงขลา เพื่อนจากทุกสาขาอาชีพในภาคใต้ได้ให้การสนับสนุนเรามากมายอย่างประเป็นค่ามิใต้ แม้ว่าเจ้าหน้าที่ของสถานกงสุลใหญ่จะสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันหลายครั้งแต่มิตรภาพระหว่างเราไม่เคยเปลี่ยน และยังคงสัมผัสได้ถึงมิตรภาพอันลึกซึ้งที่ทุกท่านมอบให้เราเสมอมา ข้าพเจ้าขอใช้โอกาสนี้ เป็นของเจ้าหน้าที่ทุกคนของสถานกงสุลใหญ่ทั้งในอดีตและปัจจุบันเพื่อแสดงความขอบคุณอย่างจริงใจต่อประชาชนจากทุกสาขาอาชีพในภาคใต้ของประเทศไทยที่ห่วงใยและสนับสนุนการดำเนินงานของสถานกงสุลใหญ่มาโดยตลอดเมื่อย้อนมองความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของความร่วมร่วมมือจีน-ไทยในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา เรามีความมั่นใจเต็มเปี่ยมต่ต่ออนาคดข้างหน้า จีนกำลังพัฒนา ความสัมพันธ์จีน-ไทยกำลังเผชิญกับโอกาสครั้งสาคัญในประวัติศาสตร์ ความร่วมมือระหว่างจีนกับภาคใต้ของไทยมีอนาคตที่สดใสนี้ถือเป็นวาระครบรอบ 75 ปีของการสถาปนาสาธารณรัฐปรจีน และเป็นปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ปีหน้าจะเป็นวาระครบรอบ 50 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างจีนและไทย บนจุดเริ่มต้นครั้งใหม่ทางประวัติศาสดร์นี้ สถานกงสุลใหญ่จีนประจ่าสงขลายินดีทำงานร่วมกับเพื่อนจากทุกสาขาอาชีพในภาคใต้ของไทย เพื่อดำเนินการตามฉันทามติที่สำคัญของผู้นำผู้น่าทั้งสองประเทศ และมุ่งมันที่จะเร่งสร้างชุมชนที่มีอนาคดร่วมกันระหว่างจีนไทยที่มีความมั่นคง รุ่งเรือง และยังยืนมากขึ้น โปรดจับมือกันต่อไป ร่วมกันต่อสู้เพื่อส่งเสริมมิตรภาพอันดีระหว่างจีน-ไทย ส่งเสริมความร่วมมือในด้านต่างๆ ระหว่างจีนและภาคใต้ของไทย