วันเสาร์, กรกฎาคม 27, 2024

หนังสือพิมพ์ พิมพ์ไทยออนไลน์

หน้าแรก บล็อก หน้า 2

รฟฟ.สายสีส้ม.. เตรียมรับค่าโง่ระลอกใหม่!.. “เพื่อไทย” กับการกลืนเสลดลงคอ!

0

https://www.natethip.com/news.php?id=8713
Cr. : ต้นฉบับจาก สำนักข่าวเนตรทิพย์ ออนไลน์

(อ่านเพิ่มเติม : ลิ๊งค์เว็บไซต์-เนตรทิพย์ ออนไลน์-ด้านบน)

 

 

 

“ลดค่าผ่านทาง” แลก “ขยายสัมปทาน”.. ใครได้ประโยชน์ ?

0

https://www.natethip.com/news.php?id=8712
Cr. : ต้นฉบับจาก สำนักข่าวเนตรทิพย์ ออนไลน์

(อ่านเพิ่มเติม : ลิ๊งค์เว็บไซต์-เนตรทิพย์ ออนไลน์-ด้านบน)

 

 

 

สำนักข่าวเนตรทิพย์-ท้องกินข้าว สมองกินข่าว!

0

https://linevoom.line.me/post/_dRwLP9ryDNNCNElq786ZFgDnUlb3FkZ4wdgFcto/1172186564673265052
Cr. : ต้นฉบับจาก สำนักข่าวเนตรทิพย์ ออนไลน์

(อ่านเพิ่มเติม : ลิ๊งค์เว็บไซต์-เนตรทิพย์ ออนไลน์-ด้านบน)

 

 

 

พม. เปิดเวทีอภิปรายเชิงวิชาการ “การยุติการลงโทษทางกายทุกรูปแบบต่อเด็ก”แก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1567 (2) ส่งเสริมการเลี้ยงดูบุตรปราศจากความรุนแรง

0

พิมพ์ไทยออนไลน์//เมื่อวันที่  23 กรกฎาคม 2567 เวลา 09.30 น. นายโชคชัย วิเชียรชัยยะ รองปลัดการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานพิธีเปิดการประชุมเพื่ออภิปรายเชิงวิชาการ หัวข้อ การยุติการลงโทษทางกายทุกรูปแบบต่อเด็ก เพื่อเสนอความเห็นสนับสนุนสภาผู้แทนราษฎรแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1567 (2) โดยมี นางเธียรทอง ประสานพานิช ผู้อำนวยการกองคุ้มครองเด็กและเยาวชน ร่วมการการเสวนาหัวข้อ “ความก้าวหน้าของประเทศไทยในการดำเนินงานตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กเพื่อยุติการลงโทษทางกายทุกรูปแบบต่อเด็กโดยการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1567(2)” ร่วมกับนายสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ อดีตกรรมการสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ , รศ.พญ.วนิดา เปาอินทร์ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการคุ้มครองเด็ก , นายอัมรินทร์ เปล่งรัศมี ผู้อำนวยการกลุ่มละคนชุมชน “กั๊บไฟ” และนายอิลยา สมิร์นอฝฝ์ ผู้อำนวยการมูลนิธิสายเด็ก 1387 ณ ห้องประชุมภาณุมาศชั้น 10 โรงแรมรอยัลริเวอร์ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร

นางอภิญญา ชมภูมาศ อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน เปิดเผยว่า จากการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2565 (Multiple Indicator Cluster Surveys programme – MICS) โดยองค์การยูนิเซฟประเทศไทยร่วมกับสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) พบว่า เด็กอายุ 1 – 14 ปี มากกว่าครึ่ง ที่ร้อยละ 53.8 หรือคิดเป็นเด็กจำนวน 5,439,835 คน ในประเทศไทย ได้รับการอบรมโดยวิธีการรุนแรง โดยมีเด็กจำนวน 3,902,930 คน (ร้อยละ 38.6) ได้รับการอบรมโดยการลงโทษทางร่างกายอย่างใดอย่างหนึ่ง ขณะที่เด็กจำนวน 101,112 คน (ร้อยละ 1) ได้รับการลงโทษทางร่างกายอย่างรุนแรงในช่วงหนึ่งเดือนที่มีการเก็บข้อมูล และที่น่าเป็นห่วงคือ แม่และผู้ดูแลเกือบ 2 ใน 5 เชื่อว่าการลงโทษทางร่างกายเด็กเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งการลงโทษทางร่างกายนอกจากจะส่งผลให้เด็กได้รับความบาดเจ็บทางร่างกายและจิตใจแล้ว ยังส่งผลต่อการส่งต่อความรุนแรงข้ามรุ่นและความรุนแรงต่อสังคม เพื่อเป็นการป้องกันและลดความเสี่ยงที่จะเกิดการทารุณกรรมต่อเด็กในครอบครัว จึงจำเป็นที่จะต้องแก้ไขกฎหมายให้กำหนดถึงการคุ้มครองเด็กที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามการแก้ไขประมวลกฎหมายที่กระทบต่อวิถีการอบรมเลี้ยงดูเด็กในประเทศไทยนั้น จำเป็นต้องคำนึงถึงมิติเชิงวัฒนธรรม การปรับแก้กฎหมายจึงต้องควบคู่ไปกับการส่งเสริมความเข้มแข็งแก่ครอบครัว เพราะครอบครัวคือสถาบันทางสังคมที่ใกล้ชิดและเป็นทุนทางสังคมที่สำคัญของเด็ก โดยต้องส่งเสริมให้ครอบครัวมีศักยภาพในการว่ากล่าวสั่งสอนเด็กแบบปราศจากความรุนแรง และมุ่งเน้นการเลี้ยงดูที่ส่งเสริมการสร้างวินัยเชิงบวก เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเด็ก ตลอดจนเปิดโอกาสให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการสร้างวินัยของตนเองตามศักยภาพของพัฒนาการในแต่ละช่วงวัย การเลี้ยงดูเช่นนี้ นอกจากจะส่งผลดีต่อเด็กในระยะยาวแล้ว ยังส่งผลดีต่อสัมพันธภาพภายในครอบครัว ทำให้ครอบครัวอบอุ่นไปด้วยความรัก ความสามัคคี และเกิดความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างสมาชิกภายในครอบครัว

โดยที่ผ่านมาประเทศไทยได้ปฏิบัติตามข้อเสนอแนะการเพิกถอนการลงโทษทางร่างกายต่อเด็กในทุกสถานที่ ภายในกระบวนการรายงานทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทยภายใต้กลไก Universal Periodic Review (UPR) รอบที่ 2 (พ.ศ. 2559 – 2563) โดยในปี พ.ศ.2559 – ปัจจุบัน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยกรมกิจการเด็กและเยาวชน ได้ดำเนินการส่งร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1567 (2) ซึ่งการระบุถึงการทำโทษบุตรตามความสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน ที่ปรากฏอยู่เดิมตามที่กำหนดในมาตรา 1567 (2) นั้น เป็นที่ยากต่อการตีความและการบังคับใช้ให้สอดคล้องกับหลักการยึดถือประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญ จึงมีการเสนอแก้ไขข้อความ (2) “ปรับปรุงพฤติกรรมบุตรด้วยการสอนที่เหมาะสมแก่วัย สติปัญญา สภาพร่างกายและจิตใจ โดยต้องไม่กระทำด้วยความรุนแรง หรือการเฆี่ยนตี หรือด้วยวิธีการอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิต หรือพัฒนาการของบุตร” ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมการเลี้ยงดูบุตรในเชิงบวก และสนับสนุนการเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ครอบครัวให้สามารถดูแลเด็กได้อย่างเหมาะสม

อีกทั้งกระทรวง พม. ยังได้เสนอนโยบาย 5 x 5 ที่มุ่งเน้นประเด็นสำคัญ 5 เรื่อง ได้แก่ การเสริมสร้างวัยทำงาน เพิ่มคุณภาพเด็ก สร้างพลังผู้สูงอายุ สร้างคุณค่าผู้พิการ และสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีครอบครัว เพื่อเพิ่มคุณภาพเด็กผ่านการส่งเสริมสถาบันครอบครัวให้มีความเข้มแข็ง เด็กได้เติบโตในครอบครัวที่อบอุ่น ปลอดภัย เป็นครอบครัวที่สามารถให้ความรักและขัดเกลาทางสังคมแก่เด็กผ่านการสร้างวินัยเชิงบวก โดยปราศจากความรุนแรง ตามที่กำหนดไว้ในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก และพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546

ทั้งนี้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้รับมอบหมายโดยคณะกรรมการประสานงาน
สภาผู้แทนราษฎร (วิปรัฐบาล) ให้เป็นผู้แทนคณะรัฐมนตรีในการรับร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่..) พ.ศ. … ที่เสนอโดย นายณัฐวุฒิ บัวประทุมและคณะ ในวันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ.2567 ที่จะถึงนี้ ซึ่งปัจจุบันการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวยังอยู่ในขั้นตอนของการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร หากได้รับการอนุมัติจากสภาผู้แทนราษฎรก็จะเข้าสู่กระบวนการของการรับฟังความคิดเห็นต่อไปในอนาคต การอภิปรายในวันนี้เป็นโอกาสดีที่จะสร้างการตระหนักรู้ และมีส่วนร่วมต่อการเสนอความเห็นที่เกี่ยวข้อง ที่จะนำไปสู่การคุ้มครองโดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กอย่างแท้จริง เพื่อให้เด็กสามารถเติบโตเป็นพลเมืองของประเทศและพลเมืองของโลกที่มีคุณภาพต่อไป :Cr;มณสิการ รามจันทร์ 

ต่างชาติขนเงินลงทุนไทยครึ่งปีแรกบิ๊กบึ้ม 81,487 ล้านบาท… ญี่ปุ่นครองแชมป์!

0

https://www.natethip.com/news.php?id=8711
Cr. : ต้นฉบับจาก สำนักข่าวเนตรทิพย์ ออนไลน์

(อ่านเพิ่มเติม : ลิ๊งค์เว็บไซต์-เนตรทิพย์ ออนไลน์-ด้านบน)

 

 

 

ดีอี ยัน CrowdStrike-Windows ล่มทั่วโลก ไม่กระทบเครือข่ายมือถือ-อินเทอร์เน็ตไทย

0

https://www.natethip.com/news.php?id=8710
Cr. : ต้นฉบับจาก สำนักข่าวเนตรทิพย์ ออนไลน์

(อ่านเพิ่มเติม : ลิ๊งค์เว็บไซต์-เนตรทิพย์ ออนไลน์-ด้านบน)

 

 

 

ไม่มีชาติใด?… ให้ต่างชาติเช่าที่ดิน 99 ปี หรือให้ซื้อห้องชุด 75%

0

https://www.natethip.com/news.php?id=8709
Cr. : ต้นฉบับจาก สำนักข่าวเนตรทิพย์ ออนไลน์

(อ่านเพิ่มเติม : ลิ๊งค์เว็บไซต์-เนตรทิพย์ ออนไลน์-ด้านบน)

 

 

 

“วราวุธ” รมว.พม. เสริมศักยภาพ เครือข่ายประชาสัมพันธ์กระทรวง พม. ยกระดับ แก้ไขปัญหาสังคม-พัฒนาคุณภาพชีวิต เผยผลงานศรส.ไตรมาส 2 ปี67

0

พิมพ์ไทยออนไลน์//เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2567 เวลา 10.00 น. ที่โรงแรมเดอะทวิน ทาวเวอร์ กรุงเทพมหานคร นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เป็นประธานพิธีเปิด “โครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายประชาสัมพันธ์กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในยุคดิจิทัล เพื่อการสื่อสารประชาสัมพันธ์ภารกิจศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน (ศรส.)” โดยมี นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาศักยภาพการสื่อสารประชาสัมพันธ์ภารกิจศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน (ศรส.) ในยุคดิจิทัลของโฆษกสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 1 – 11 และโฆษกสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งเป็นเครือข่ายประชาสัมพันธ์กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำหรับการสร้างความตระหนักรู้ในสังคม ด้วยการสื่อสารประชาสัมพันธ์สถานการณ์ทางสังคมเชิงรุก และเพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กรที่ดีของศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน (ศรส.) ในการช่วยเหลือและคุ้มครองสวัสดิภาพประชาชนทั่วประเทศ โดยเฉพาะประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนทางสังคม ทั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมโครงการฯ ประกอบด้วย โฆษกสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 1 – 11 โฆษกสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ประจำจังหวัด เจ้าหน้าที่ศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชนและศูนย์ช่วยเหลือสังคม และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง รวมจำนวนทั้งสิ้น 123 คน

นายวราวุธ กล่าวว่า การพัฒนาศักยภาพการสื่อสารประชาสัมพันธ์ภารกิจศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน (ศรส.) ของโฆษกสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 1 – 11 และโฆษกสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งเป็นเครือข่ายประชาสัมพันธ์ภายในกระทรวง พม. ที่สามารถเข้าถึงพี่น้องประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายและทุกช่วงวัย ตั้งแต่เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ขาดโอกาส เพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้แก่สังคมด้วยการสื่อสารประชาสัมพันธ์สถานการณ์ทางสังคมเชิงรุก และเพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กรที่ดีของศูนย์ ศรส. ซึ่งเป็นที่พึ่งของพี่น้องประชาชนทั่วประเทศในการเร่งรัดและช่วยเหลือคุ้มครองสวัสดิภาพ โดยเฉพาะประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนทางสังคม

นายวราวุธ กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบัน กระทรวง พม. ต้องทำงานหนักขึ้น เนื่องจากพี่น้องประชาชนกลุ่มเป้าหมายประสบปัญหาความเดือดร้อนต่างๆ มากขึ้นและรุนแรงขึ้น ซึ่งมีสาเหตุสำคัญจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองที่รวดเร็ว รวมถึงการเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศที่รุนแรง อันเป็นปัจจัยภายนอกที่ยากในการควบคุม และส่งผลกระทบต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งอากาศร้อน พายุ น้ำท่วม และภัยแล้ง รวมถึงการขาดแคลนอาหาร ความยากจน และการอพยพย้ายถิ่น ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร เห็นได้จาก ขณะนี้ ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ (Aged Society) โดยปี 2566 ข้อมูลจากกรมกิจการผู้สูงอายุ พบว่าประเทศไทยมีประชากรผู้สูงอายุ อายุ 60 ปีขึ้นไป คิดเป็น 1 ใน 5 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ หรือประมาณ 13 ล้านคน ซึ่งในอีก 20 ปีข้างหน้า หรืออาจจะเร็วกว่านั้น ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมสูงอายุแบบสุดยอด (Super Aged Society) ในขณะที่อัตราการเกิดของประชากรน้อยกว่าอัตราการตายต่อเนื่อง ประชากรผู้หญิงมีจำนวนมากกว่าผู้ชาย และประชากรวัยแรงงานมีจำนวนลดน้อยลง ย่อมส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงานอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะเศรษฐกิจไทยที่พึ่งพาการใช้แรงงานสูง เพื่อการพัฒนาประเทศไทยให้มีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

นายวราวุธ กล่าวต่ออีกว่า ดังนั้น กระทรวง พม. จึงได้พยายามขับเคลื่อนนโยบาย 5×5 ฝ่าวิกฤตประชากร เพื่อลดผลกระทบต่างๆ ที่จะทำให้พี่น้องประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายประสบปัญหาความเดือดร้อนน้อยที่สุด ซึ่งประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ x 5 มาตรการสำคัญ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 เสริมพลังวัยทำงานให้สามารถตั้งตัวได้ สร้างและดูแลครอบครัวได้ ยุทธศาสตร์ที่ 2 เพิ่มคุณภาพเด็ก เร่งส่งเสริมการพัฒนาทักษะชีวิตและความรู้วิชาชีพตามวัย ยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างพลังผู้สูงอายุ ผู้เชี่ยวชาญชีวิต นำมาเป็นพลังในการขับเคลื่อนสังคมและเศรษฐกิจ ยุทธศาสตร์ที่ 4 สร้างโอกาสและคุณค่าให้คนพิการ ยุทธศาสตร์ที่ 5 สร้างสภาพแวดล้อมทางสังคม ทางกายภาพที่เอื้อต่อการสร้างและดูแลครอบครัวให้มั่นคงรวมถึงพลิกฟื้นสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติให้อุดมสมบูรณ์

นายวราวุธ กล่าวต่อไปอีกว่า เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2567 กระทรวง พม. ได้ขับเคลื่อนศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน (ศรส.) ให้เป็นศูนย์กลางการช่วยเหลือประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายที่ประสบปัญหาทางสังคมและความเดือดร้อนต่างๆ จากผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รวมถึงการเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร โดยมุ่งเน้นการคุ้มครองสวัสดิภาพ โดยเป็นหน่วยงานกลางในการกำกับ ควบคุม ส่งต่อ และติดตามการให้ความช่วยเหลือและคุ้มครองสวัสดิภาพ ภายใต้การดำเนินงานของนโยบาย “พม. หนึ่งเดียว” และหน่วยปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็วของทีมสหวิชาชีพ ซึ่งประชาชนผู้ประสบปัญหาสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือมายัง ศรส. ผ่าน ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน พม. โทร 1300 ตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งช่องทางต่างๆ และการติดต่อด้วยตัวเอง

นายวราวุธ กล่าวอีกว่า สำหรับผลการดำเนินงานของ ศรส. ในไตรมาส 2 ของปี 2567 คือ ช่วงเดือนเมษายน – มิถุนายน 2567 พบว่ามีประชาชนร้องเรียนผ่านทุกช่องทางของ ศรส. รวมทั้งสิ้น 47,110 กรณี ซึ่งแต่ละช่องทางที่มีการร้องเรียนเข้ามาผ่านทางสายด่วน พม. 1300 มากที่สุด 42,930 กรณี สำหรับพื้นที่ที่ให้บริการมากที่สุด คือ กรุงเทพมหานคร 28,849 กรณี โดยปัญหาที่ได้รับการร้องเรียนมากที่สุดคือ ปัญหารายได้ความเป็นอยู่ ตามมาด้วยความสัมพันธ์ในครอบครัว นอกจากนี้ สถิติความรุนแรงในสังคม พบว่า ความรุนแรงในครอบครัวเกิดขึ้นถึงร้อยละ 69 ในขณะที่ ร้อยละ 31 เป็นความรุนแรงภายนอกครอบครัว โดยความรุนแรงจะเกิดกับเด็กและเยาวชนเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่า มีพี่น้องประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายที่ประสบปัญหาทางสังคมและความเดือดร้อนต่างๆ จำนวนมาก เข้ามาติดต่อขอความช่วยเหลือจาก ศรส. ซึ่งเราต้องช่วยกัน ในฐานะเครือข่ายประชาสัมพันธ์ของกระทรวง พม. นับเป็นส่วนหนึ่งของทีม ศรส. ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาคทั่วประเทศ 76 จังหวัด เพื่อให้ ศรส. เป็นที่พึ่งของพี่น้องประชาชนอย่างแท้จริง

นายวราวุธ กล่าวเพิ่มเติมว่า ตนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเครือข่ายประชาสัมพันธ์ของกระทรวง พม. ทุกคนที่เข้าร่วมโครงการครั้งนี้ จะสามารถนำความรู้และประสบการณ์จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ มาดำเนินงานและต่อยอดในงานสื่อสารประชาสัมพันธ์ภารกิจ ศรส. ให้เป็นที่รู้จักของพี่น้องประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายอย่างกว้างขวาง ทั้งในระดับพื้นที่จังหวัด และกลุ่มจังหวัดทั่วประเทศ นำมาซึ่งการยกระดับในการแก้ไขปัญหาสังคมและพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของพี่น้องประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย#ข่าวพม #พม #ศรส #esshelpme #1300 #วราวุธศิลปอาชา #วราวุธรับฟังทำจริง #พมพอใจให้ทุกวัยพึงพอใจในพม #พมหนึ่งเดียว #โครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายประชาสัมพันธ์กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในยุคดิจิทัลเพื่อการสื่อสารประชาสัมพันธ์ภารกิจศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน_ศรส.:Cr;มณสิการ รามจันทร์ 

สำนักข่าวเนตรทิพย์-ท้องกินข้าว สมองกินข่าว!

0

https://linevoom.line.me/post/_dRwLP9ryDNNCNElq786ZFgDnUlb3FkZ4wdgFcto/1172178197270184358
Cr. : ต้นฉบับจาก สำนักข่าวเนตรทิพย์ ออนไลน์

(อ่านเพิ่มเติม : ลิ๊งค์เว็บไซต์-เนตรทิพย์ ออนไลน์-ด้านบน)