วันเสาร์, พฤศจิกายน 23, 2024

หนังสือพิมพ์ พิมพ์ไทยออนไลน์

หน้าแรกกระทรวงยุติธรรมกระทรวงยุติธรรม แท็กทีม อัยการใช้อำนาจศาลสั่งกักตัวผู้ต้องขังคดีร้ายแรงผิดช้ำหลังพ้นโทษ

กระทรวงยุติธรรม แท็กทีม อัยการใช้อำนาจศาลสั่งกักตัวผู้ต้องขังคดีร้ายแรงผิดช้ำหลังพ้นโทษ

พิมพ์ไทยออนไลน์//“สมศักดิ์ รมว.ยุติธรรม” เปิดศูนย์ EMCC แท๊กทีม ‘อัยการ’ ใช้อำนาจขอศาลสั่งกักกันนักโทษคดีร้ายแรงติดนิสัยทำผิดซ้ำหลังพ้นโทษ พร้อมติดกำไล EM เพื่อสังคมปลอดภัย เริ่มเดินหน้าปีงบประมาณ 2564

วันที่ 11 ก.ย.63 ณ ห้องรับรองกระทรวงยุติธรรมชั้น 2 ที่ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (รมว.ยธ.) เป็นประธานใน “พิธีเปิดศูนย์ควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว (Electronic Monitoring Control Center หรือ EMCC)” ภายใต้แนวคิด “ให้โอกาส คืนอิสรภาพ เพิ่มความมั่นใจ สู่สังคมปลอดภัย” พร้อมเยี่ยมชมศูนย์ควบคุมฯ และชมการสาธิตการใช้ระบบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว โดยมี ว่าที่ ร.ต.ธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม นายวิวัฒน์ นิติกาญจนาที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม นายวิศิษฎ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม นางอภิรดีโพธิ์พร้อม รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค 1 Mr. Julien Garsany ผู้แทน UNODC และ นายวิตถวัลย์ สุนทรขจิต อธิบดีกรมคุมประพฤติคณะผู้บริหารกรมคุมประพฤติ และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม

นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ตนมีความยินดีที่ได้มาเป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์ควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว ของกรมคุมประพฤติกระทรวงยุติธรรมในวันนี้ เพราะเป็นนโยบายสำคัญของกระทรวงยุติธรรมประการหนึ่ง ที่มุ่งเน้นการลดความแออัดในเรือนจำ และลดการใช้การคุมขังในขั้นตอนต่างๆของกระบวนการยุติธรรม

นายสมศักดิ์ กล่าวต่อว่า ทั้งในขั้นตอนการพิจารณาคดี และขั้นตอนหลังการพิจารณาคดี โดยการนำมาตรการทางเลือกแทนการจำคุกมาใช้ในแต่ละระดับ ซึ่งกระทรวงยุติธรรม ได้กำหนดแนวทาง เพื่อลดความแออัดในเรือนจำ และมีมาตรการเพื่อสร้างความเชื่อมั่น ในความปลอดภัยให้กับสังคม โดยคำนึงถึงความรุนแรง ของการกระทำผิดและโทษที่ควรได้รับ เช่นคดีก่อการร้าย คดีฆ่า คดีข่มขืนเด็ก ควรได้รับโทษจำคุกตลอดชีวิต ส่วนคดีผลิตจำหน่ายส่งออกยาเสพติด ควรจำคุกระยะยาว 10 ปีขึ้นไป ส่วนคดีอื่น เช่น ลักทรัพย์ ฉ้อโกงบุกรุก ทำร้ายร่างกาย อาจได้รับโอกาสพักการลงโทษ โดยนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว หรือ กำไล EM มาใช้ เพื่อเป็นมาตรการทางเลือกแทนการจำคุก

“การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวกับกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะผู้ได้รับการพักการลงโทษนั้น ก่อนการปล่อยตัวผู้ต้องขัง ต้องผ่านโปรแกรมที่เข้มข้น เพื่อพัฒนาพฤตินิสัย จนกระทั่งมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น ถึงเข้าสู่กระบวนการพิจารณาวินิจฉัยพักการลงโทษ ซึ่งจะพิจารณาในประเด็นต่างๆ ได้แก่ ผู้อุปการะที่จะให้การดูแล ชุมชนที่จะกลับไปพักอาศัย ตลอดจนความเห็นของคู่กรณีหรือผู้เสียหาย ซึ่งหากเข้าเกณฑ์ จะมีโอกาสในการพักการลงโทษและติดอุปกรณ์กำไล EM” นายสมศักดิ์ กล่าว

นายสมศักดิ์ กล่าวต่อว่า อุปกรณ์กำไล EM จะก่อประโยชน์ให้กับชุมชน เนื่องจากสามารถควบคุม และติดตามผู้ที่ได้รับการพักการลงโทษ สร้างความมั่นใจให้กับประชาชน โดยในอนาคต อาจมีการขยายการใช้อุปกรณ์ EM เป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัยกับกลุ่มคดีร้ายแรง ที่กระทำผิดซ้ำซาก  ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ในการใช้อุปกรณ์ 3 กลุ่มคือ 1.กลุ่มผู้ถูกคุมความประพฤติ ซึ่งศาลให้รอการลงโทษจำคุก 2. กลุ่มนักโทษเด็ดขาด ที่ได้รับการพักการลงโทษ และลดวันต้องโทษจำคุก 3.กลุ่มผู้รอการตรวจพิสูจน์ยาเสพติด ตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ปี 2545 ซึ่งคาดว่าจะสามารถใช้อุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว กับผู้กระทำผิดทั้ง 3 กลุ่ม ได้ปีละประมาณ 87,700 ราย

นายสมศักดิ์ กล่าวอีกว่า ศูนย์ควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว ซึ่งดูแลโดยกรมคุมประพฤติ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการเป็นศูนย์กลาง เพื่อควบคุมติดตามกลุ่มเป้าหมาย ให้ปฏิบัติตามเงื่อนไข รวมถึงสามารถบริหารจัดการ หากมีผู้ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข หรือ ได้อย่างทันท่วงที โดยจะสามารถป้องกันและไม่ก่อให้เกิดผลกระทบ ที่เป็นภัยต่อประชาชนและสังคม ซึ่งตน ขอให้การดำเนินการทุกระบบเป็นไปด้วยความเรียบร้อยประสบความสำเร็จตามเจตนารมณ์ที่ตั้งไว้

นายสมศักดิ์ ยังแถลงข่าวย้ำว่า การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวนักโทษ ต้องคำนึงถึงความพร้อมของผู้ที่จะได้รับการพักโทษ โดยดูจากการพัฒนาพฤตินิสัยที่ต้องเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี จึงจะได้รับการพักโทษ ซึ่งในกรณีที่ไม่มีผู้อุปการะดูแลก็จะเป็นปัญหา รวมถึงความคิดเห็นของคู่กรณี ที่หากพักโทษออกมาแล้ว คู่กรณีที่อยู่ด้านนอกไม่เห็นด้วย ก็ยังต้องพิจารณาโดยคณะอนุกรรมการก่อน หรือแม้แต่ออกมาแล้วอยู่ไม่ได้เพราะไม่มีใครดูแลเลี้ยงดู ดังนั้นต้องคำนึงถึงความเรียบร้อยและไม่เป็นภัยกับสังคม ซึ่งนักโทษที่ใช้กำไล EM จะอยู่ในระดับปานกลาง

ด้านนายสิงห์ชัย ทนินซ้อน อธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญา สำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวว่า ภารกิจสำนักงานอัยการเรื่องมาตรการการกักกัน การควบคุมผู้กระทำความผิดในสถานที่กำหนดว่า เป็นอำนาจของพนักงานอัยการโดยเฉพาะในการร้องขอกักกันผู้กระทำความผิดติดนิสัย ซึ่งหากผู้กระทำความผิดเข้าหลักเกณฑ์เป็นผู้กระทำความผิดติดนิสัย อัยการจะฟ้องศาลขอให้กักกันผู้กระทำความผิดติดนิสัยทุกเรื่อง ยืนยันว่าในสำนวนคดีอาญพนักงานอัยการพิจารณาเรื่องวิธีการเพื่อความปลอดภัยเรื่องการกักกันทุกสำนวน หากมีข้อเท็จจริงปรากฏในสำนวนชัดเจนก็จะร้องขอให้กักกันทุกเรื่องโดยเฉพาะหากได้ข้อมูลที่เป็นเรื่องการกระทำความผิดของผู้กระทำความผิดติดนิสัย หากได้รับจากกรมราชทัณฑ์ก็จะช่วยทำให้สำนวนการสอบสวนในคดีอาญาสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ที่ผ่านมาอัยการเคยฟ้องคดีกักกันผู้กระทำความผิดมาแล้ว

ส่วนนายประยุทธ เพชรคุณ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด ชี้แจงว่า กรณีผู้กระทำความผิดติดนิสัย หมายถึง ศาลพิพากษา จำคุกไม่ต่ำกว่า 6 เดือน 2 ครั้งแล้วกลับมาทำผิดอีก ตัวอย่างของคนที่กระทำความผิดติดนิสัย และทำให้สังคมสะพึงกลัวมากที่สุด ก็คือ นายสมคิด พุ่มพวง ที่ฆ่าหั่นศพ 5 คดี แต่กลับมากระทำความผิดอีกโดยพฤติกรรมก่อเหตุเดิมๆ ซึ่งกระทรวงยุติธรรมกังวลว่า คนเหล่านี้จะกลับไปสู่สังคมโดยไม่มีความปลอดภัยได้อย่างไร ดังนั้น สำนักงานอัยการจึงได้ประสานกับกระทรวงยุติธรรมและ เตรียมประสานไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่องฐานข้อมูลเผื่อเป็นข้อมูลสำคัญในการฟ้องขอศาลกักกัน ซึ่งกฎหมายกำหนดว่า ถ้าคนที่ก่อเหตุครั้งแล้วครั้งเล่ากลับมาก่อเหตุอีก นอกจากจะฟ้องให้ลงโทษสถานหนักแล้ว อัยการก็จะใช้วิธีเพื่อให้เกิดความปลอดภัย ด้วยการขอเข้าไปในคำฟ้องว่าเมื่อพ้นโทษแล้ว ขอให้ศาลกักกันด้วย ซึ่งศาลกักกันได้ตั้งแต่ 3-10 ปี เพื่อดัดนิสัย ฝึกอาชีพในสถานที่กักกัน ซึ่งอัยการมีระเบียบชัดเจน พร้อมที่จะขับเคลื่อนทั่วประเทศขอเพียงแค่ฐานข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์

ด้าน ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ชี้แจงว่า เรื่องการพักโทษ จะไม่ใช้กับนักโทษอุกฉกรรจ์ นอกจากนี้ การพักโทษเป็นหลักสากลที่สามารถปล่อยตัวนักโทษไปได้ก่อน ซึ่งต้องประเมินความเสี่ยงว่าคนที่ปล่อยไปจะไม่กระทำความผิดอีก โดยกำหนดเงื่อนไขว่า ห้ามออกนอกเขตกำหนด ห้ามเข้าไปในเขตบ้านผู้เสียหาย ห้ามออกนอกบ้านเวลากลางคืน ซึ่งเงื่อนไขเหล่านี้ คณะอนุกรรมการพักโทษจะกำหนดให้คณะกรรมการควบคุมความประพฤติดูแลและรายงานตัว เพื่อยืนยันว่า จะมีอาชีพทำงานและอยู่ในสังคมอย่างปกติ แต่การดำเนินการต่างๆ

Cr. : นายทวีศักดิ์ ชิตทัพ ผู้สื่อข่าวพืมพ์ไทยออนไฃน์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวใหม่