พิมพ์ไทยออนไลน์ // “ศรีสุวรรณ” ชี้จับตา ครม.ยื้อการลงมติให้ความเห็นชอบร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสีเขียว (หมอชิต-คูคต)ซึ่งเป็นโครงการที่ให้บริการสาธารณะไม่ใช่ผลประโยชน์ของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส ควรส่งเสียงเพื่อให้นักการเมืองเกิดความยำเกรง
นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย กล่าวถึงกรณีที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 พ.ย.ที่ผ่านมา
กระทรวงมหาดไทย ขอถอนเรื่องการพิจารณาลงมติให้ความเห็นชอบร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสีเขียว (ทางขยายเชื่อมต่อระหว่างหมอชิด-คูคต)กับ บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ กลับไปทบทวน หลังจากจากกระทรวงคมนาคม โดยนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม หยิบยกผลการศึกษาของกรมขนส่งทางราง ลงวันที่ 10 พ.ย.2563 ขึ้นมาคัดค้าน ว่า เป็นการทำให้ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบทางธุรกิจโครงการขนาดใหญ่ประเภทนี้ต้องวางแผนการลงทุนระยะยาว แต่ผู้กระทบโดยตรงอย่างแท้จริงคือผู้โดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอส ที่ขาดโอกาสที่จะมีความสะดวกสบายในการเดินทาง
เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม นายศรีสุวรรณ์ ยื่นคำร้องเรียนและสอบถามต่อคณะรัฐมนตรี กรณีคณะกรรมการคัดเลือกตาม ม.36 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีมติเมื่อวันที่ 21 ส.ค.63 เห็นชอบเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขเอกสารประกวดราคาใหม่ (TOR)หลังจากที่มีการขายซองประกวดราคาไปแล้ว โดยเขาบอกว่า ที่ร้องเรียนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม เพราะชัดเจนว่ามีพฤติกรรมในการเอื้อเอกชนบางราย ซึ่งขัดแนวทางการประมูลงานในอดีต และเมื่อศาลปกครอง สั่งคุ้มครองให้กลับไปใช้แนวทางการประมูลเดิม จึงถือว่าถูกต้องแล้ว
อย่างไรก็ตาม การที่รัฐบาลยกเหตุไม่ให้ความเห็นชอบร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสีเขียว ส่วนตัวมองว่า ผู้เสียหายที่สุดคือประชาชน เพราะบีทีเอส มีสัญญาอีกนับ 10 ปี กว่าจะครบสัญญาสัมปทาน แต่หากรัฐบาล เห็นชอบร่างสัญญาร่วมลงทุนฯ โดยเร็ว จะทำให้ผู้ประกอบการมีความมั่นใจว่าจะไม่หยุดยั้งการพัฒนาการให้บริหารเพื่อประโยชน์ผู้โดยสาร ในทางตรงกันข้าม ถ้าไม่เห็นชอบร่างสัญญาร่วมลงทุนฯ ผู้ประกอบการก็มีเหตุผลที่ไม่กล้าลงทุนในระยะยาว เพราะไม่รู้ว่าตัวเองจะได้ไปต่อหรือไม่
นอกจากนี้ บีทีเอส คือผู้ลงทุนโครงการแต่ต้น ย่อมรู้เทคนิควิธีการเดินรถอย่างช่ำชอง แต่การชักเข้า คนที่กระทำการอย่างนี้เท่ากับไม่ได้ยึดถือประชาชนเป็นที่ตั้ง
นายศรีสุวรรณ กล่าวว่า อยากให้สังคมจับตาว่า โครงการที่ให้บริการสาธารณะไม่ใช่ผปลประโยชน์ของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนผู้โดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอส จึงอยากให้ประชาชนส่งเสียง เพื่อที่นักการเมืองจะเกิดความยำเกรงเสียงประชาชนบ้าง
อนึ่ง การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) 17 พ.ย.63 กระทรวงคมนาคม หยิบยกผลการศึกษาของกรมขนส่งทางราง ลงวันที่ 10 พ.ย. 63 ขึ้นมาคัดค้าน ทั้งที่การประชุม ครม. 13 ส.ค. 63 เพื่อพิจารณาในเรื่องดังกล่าว นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ มิได้มีท่าทีคัดค้านร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสีเขียว แต่อย่างใด
โดยเมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 63 กระทรวงคมนาคม เป็นฝ่ายเสนอผลการพิจารณาศึกษา เหตุผลและความจำเป็น เรื่องการขยายสัญญาสัมปทานทางด่วนและรถไฟฟ้าบีทีเอส ของกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาการขยายสัญญาสัมปทานทางด่วนและรถไฟฟ้า (บีทีเอส) สภาผู้แทนราษฎร เข้าสู่ที่ประชุม ครม.ให้มีมติรับทราบ
จากการตรวจสอบพบว่า เรื่องนี้มีการประชุมจนได้ข้อสรุปจากทุกหน่วยงานเกี่ยวข้อง ตามเอกสารกระทรวงการคลัง วันที่ 16 พ.ย.63 ว่า กระทรวงมหาดไทย ได้ดำเนินการมาตามลำดับขั้นตอน และกระทรวงคมนาคม ในฐานะที่เป็นหน่วยงานนำเสนอความเห็นประกอบการพิจารณา เห็นชอบโครงการนี้มาตั้งแต่แรก แต่เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลง รมว.คลัง จากนายปรีดี ดาวฉาย เป็นนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ สำนักเลขาธิการครม. จึงต้องขอความเห็นจากกระทรวงการคลังอีกครั้ง ตามมติ ครม. 13 ส.ค. 63 และกระทรวงการคลัง ยังคงยืนยันให้ความเห็นชอบตามเดิม จากที่ทุกหน่วยงานเคยลงมติรับทราบผลการเจรจาและร่างสัญญาร่วมลงทุนฯ ในโครงการรถไฟฟ้าสีเขียว มาก่อนหน้า โดยเฉพาะกระทรวงคมนาคม ที่ร่วมให้ความเห็นตั้งแต่วันที่ 4 มิ.ย.63 และที่ประชุมครม. วันที่ 13 ส.ค.63 เคยรับทราบผลการพิจารณาตามรายงานสรุปของกระทรวงมหาดไทย ไปแล้ว
ดังนั้น โครงการขยายสัญญาสัมปทานการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว ให้กับ “บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์” ได้ผ่านความเห็นชอบของทุกหน่วยงานแล้ว จึงมีการเตรียมความพร้อมเข้าสู่การขอมติที่ประชุมครม.เพื่ออนุมัติ ในวันที่ 17 พ.ย. 63 แต่กระทรวงคมนาคม โดยนายศักดิ์สยาม ได้นำผลการศึกษาของกรมขนส่งทางราง ขึ้นมาคัดค้าน โดยไม่สนใจแนวทางเดิมจากการทำงานร่วมกับกระทรวงมหาดไทย มาตั้งแต่แรก อะไรเป็นตัวแปรทำให้หลักคิดของนายศักดิ์สยาม เปลี่ยนไป
สำหรับ “บีทีเอส” นั้น มีปัญหากับ กระทรวงคมนาคม ถึงขั้นฟ้องร้องต่อศาลปกครอง ขอความเป็นธรรม กรณี รฟม. แก้ไขเงื่อนไขหลักเกณฑ์ประมูลสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสีส้ม จนถูกตั้งคำถามว่า เป็นไปเพื่อเอื้อให้กับ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด หรือ BEM หรือไม่
จากนี้ไป จึงต้องจับตาว่า ท้ายสุด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะตัดสินใจประเด็นนี้อย่างไร เพราะในคราวการประชุมครม. วันที่ 13 ส.ค.63 มีการหารือในประเด็นเดียวกันนี้อีกครั้ง เป็นที่มาหนังสือด่วนกระทรวงการคลัง ที่ กค 0820.1/20037 ยืนยันความเห็นชอบ ปรากฎข้อความสำคัญ ว่า “กระทรวงการคลังให้ความเห็นตามเดิม เหมือนที่กระทรวงคมนาคม เคยเสนอผลการพิจารณารายงานผลการศึกษาฯ ตามหนังสือกระทรวงคมนาคม ด่วนที่สุด ที่ คค (ปคร) 0202/192 ลงวันที่ 4 มิ.ย.2563 ให้ที่ประชุมครม.รับทราบไปแล้ว
ดังนั้น ความตั้งใจของพล.อ.ประยุทธ์ ตั้งแต่เข้ามาทำหน้าที่หัวหน้าคสช. ในประกาศแนวนโยบายเรื่องการเร่งพัฒนาระบบขนส่งมวลชน เพื่อคุณภาพชีวิตคนกรุงให้มีความสมบูรณ์แบบ จะเกิดขึ่นได้หรือนั้น อยู่ที่จะมีมติให้ความเห็นชอบร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสีเขียว กับ บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์