วันพุธ, พฤศจิกายน 27, 2024

หนังสือพิมพ์ พิมพ์ไทยออนไลน์

หน้าแรกข่าวเด่นประเด็นร้อนพอช.-ภาคีเครือข่ายจัดงาน ‘20 ปี พม.’ วันที่สอง ยื่น 11 ข้อเสนอ ‘ยุทธศาสตร์ความร่วมมือ’ ถึงกระทรวงพม.

พอช.-ภาคีเครือข่ายจัดงาน ‘20 ปี พม.’ วันที่สอง ยื่น 11 ข้อเสนอ ‘ยุทธศาสตร์ความร่วมมือ’ ถึงกระทรวงพม.

พิมพ์ไทยออนไลน์//เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2565 มีการจัดงาน ‘20 ปี พม. เสริมพลัง สร้างโอกาส พัฒนาคนทุกช่วงวัย’ เป็นวันที่ 2 โดย พอช. และภาคีเครือข่ายร่วมกันจัดเวทีเสวนาที่ห้องประชุมประชาบดี มีผู้แทนกระทรวง พม. ผู้แทนองค์กรชุมชน สภาองค์กรชุมชน และสมาชิกวุฒิสภา ร่วมเสวนา รวมทั้งมีการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย ‘ยุทธศาสตร์ความร่วมมือ’ จากเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนถึงกระทรวง พม. จำนวน 11 ข้อ

การพัฒนาเชิงพื้นที่ สภาองค์กรชุมชน (Sandbox)2นายอนุกูล ปีดแก้ว อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวง พม. กล่าวถึงประเด็นการพัฒนาเชิงพื้นที่ สภาองค์กรชุมชน (Sandbox = พื้นที่ต้นแบบ) มีใจความสรุปว่า เราต่อสู้ความเข้มแข็งของขบวนองค์กรชุมชนแบบแยกส่วน เราไม่เคยรบชนะกับรัฐบาลทุกสมัยมาโดยตลอด เนื่องจากงบประมาณมีจำกัด หากเราให้พี่น้องไปต่อสู้ทุกเรื่อง แต่ที่สุดมีทรัพยากรเท่านี้ คงต้องเปลี่ยนวิธีรบเพื่อให้รัฐบาลจัดสรรงบประมาณให้มากขึ้น

ขณะนี้กระทรวง พม. ขับเคลื่อนศูนย์ช่วยเหลือสังคม เป็นหน่วยบริการประชาชนระดับตำบล และรัฐบาลมีศูนย์แก้จน เราจึงต้องเกาะเกี่ยวไปด้วยกัน ส่วนไหนที่ข้อมูลยังไม่ชัดเจน เช่น ข้อมูลคนจน กลุ่มเปราะบาง ต้องไปบูรณาการใช้ TP-Map ของกระทรวงมหาดไทย ตอนนี้ พม. จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือสังคม 8,000 กว่าแห่งทั่วประเทศ ส่วนเรื่องคุณภาพต้องพัฒนาต่อไป

“กระทรวง พม. พยายามดึงหุ้นส่วนต่าง ๆ เข้ามาเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาทำเชิงยุทธศาสตร์ หมายความว่า อยากทำอะไรก็เข้าร่วมกัน ต้องยอมรับร่วมกันว่าทรัพยากรของโลกไม่เพียงพอ หากรวมทรัพยากรและทำในเชิงยุทธศาสตร์ทำให้สามารถจัดสรรแก้ไขความเดือนร้อนที่จำเป็นก่อน และสามารถดำเนินการไปได้” นายอนุกูลกล่าว8นายอนุกูลกล่าวสรุปว่า หวังว่าพื้นที่ต้นแบบ พื้นที่ Sand box จะเป็นหน้าตาของขบวนองค์กรชุมชน ให้เครือข่ายสังคม และรัฐบาลได้เห็นตัวอย่างการทำงานที่แท้จริงให้มาดูที่ขบวนองค์กรชุมชน การคิดบูรณาการจากล่างขึ้นบน น่าจะเป็นตัวอย่าง ในขณะที่งบประมาณของรัฐบาลไม่มาก กลไกระดับพื้นที่ระดับตำบลใกล้ชิดปัญหามากที่สุดจึงมีความ สำคัญ หากเราทำสัญญาณทุ่นในทะเลที่ดี เรือที่วิ่งในทะเลก็จะเห็นชัดเจน

สภาองค์กรชุมชนกับการบูรณาการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง
นายอนุศักดิ์ คงมาลัย สมาชิกวุฒิสภา ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “สภาองค์กรชุมชนกับการบูรณาการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง” มีใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า สภาองค์กรชุมชนเป็นของใหม่เมื่อ 10 ปีที่แล้ว หลายตำบลประสบความสำเร็จ และสามารถบรรลุเป้าประสงค์ ส่วนสิ่งใดที่ยังไม่ประสบผลสำเร็จ พอช.และพี่น้องสภาองค์กรชุมชนต้องนำไปปรับปรุง อย่างไรก็ตาม กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) มองเห็นความสำคัญของสภาองค์กรชุมชนเรื่องการสร้างความมั่นคง

4
6
9

ขณะเดียวสภาองค์กรชุมชนต้องบ่มเพาะคนรุ่นใหม่ เยาวชน ให้เข้ามาเป็นผู้สืบทอดต่อจากผู้สูงวัยที่ทำหน้าที่มานาน เช่น ปัญหาโรงเรียนขยายโอกาสในตำบลไม่มีงบประมาณค่าอาหารให้กับเด็ก จะทำอย่างไร หากสภาองค์กรชุมชนเข้มแข็งอาจจะช่วยเหลือได้

สว.อนุศักดิ์ยกตัวอย่างบทบาทของสภาองค์กรชุมชนว่า กรณีเรื่องป้องกันการปราบปราบทุจริต เป็นเรื่องยาก ต้องมองเชิงบวก เรื่องนี้อยู่ในยุทธศาสตร์ที่ 6 การทำงานที่มีความสมดุลของภาครัฐ พอมีสภาองค์กรชุมชนจะดำเนิน การได้ภายใต้ธรรมาภิบาล

ในฐานะ สว. เขาบอกว่าจะลงพื้นที่ไปในแต่ละภาค เพื่อดูสภาองค์กรชุมชนในพื้นที่ต้นแบบ และจะสื่อสารการปฏิรูปประเทศ เป็นการปฏิรูปจากบนลางล่าง เป็นล่างขึ้นบน และต้องให้พื้นที่เป็นคนนำ เพราะพื้นที่เท่านั้นเป็นผู้รู้จริง

เวทีเสวนา : ความร่วมมือของสภาองค์กรชุมชนกับหน่วยงาน พม. ในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง

นายเอกนัฐ บุญยัง ประธานคณะกรรมการดำเนินการสภาองค์กรชุมชน กล่าวว่า บทบาทของสภาฯ เป็น พ.ร.บ. ที่มุ่งเน้นการพัฒนาสังคมแบบองค์รวม ที่ผ่านมาสภาองค์กรชุมชนมีองค์กรกว่า 1 แสนกลุ่ม สมาชิกกว่า 2แสนคน มีการจัดตั้งกว่าร้อยละ 90 ของพื้นที่ จัดตั้งมานานกว่า 15 ปี

“สภาองค์กรชุมชนกล้าพอที่จะประกาศว่า สภาคือองค์กรในการพัฒนาทางสังคมและคุณภาพชีวิตของประชาชน เป็นพื้นที่กลางในการเชิญหน่วยงานการพัฒนามาทำงานร่วมกัน ทักษะการพัฒนาที่สำคัญที่สภาฯ ต้องมี คือ การประสานความร่วมมือ การพัฒนางานเชิงวิชาการ การจัดการข้อมูล เครื่องมือสำคัญ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาตำบล สภาองค์กรชุมชนจะเป็นสถาบันของการพัฒนาภาคประชาชน” นายเอกนัฐกล่าว

เขายกตัวอย่างแผนงานสำคัญของสภาฯ ที่จะขับเคลื่อนต่อไป เช่น 1.จัดตัวตนให้ชัดเจน เป้าหมายการพัฒนาในระดับพื้นที่ตำบลต้องชัดเจน 2.การสร้างพื้นที่กลางที่ทำให้ทุกภาคส่วนหารือร่วมกัน 3.ประสานความร่วมมือกับหน่วยงาน ภาคีพัฒนา 4.การจัดการความรู้ การสื่อสารสาธารณะ .ฯลฯ

ส่วนแผนการทำงานในระยะต่อไป เขาเสนอว่า ควรจะมีคณะทำงานร่วมกันในระดับพื้นที่จังหวัดที่มาจากหน่วยงาน องค์กรในระดับจังหวัด เพื่อให้เกิดการปฏิบัติจริง เป็นองค์กรนำทางสังคมเพื่อสร้างความมั่นคงของมนุษย์ร่วมกัน

นายทองสุข สีลิด ประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลบึงกาสาม จังหวัดปทุมธานี ยกตัวอย่างการดำเนินงานของสภาองค์กรชุมชนตำบลบึงกาสามว่า สภาฯ ก่อตั้งเมื่อเดือนมิถุนายน 2551 เป็นสภาแห่งแรกของ จ.ปทุมธานี หลังจากจดแจ้งก็มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการทำงานชุมชนที่ผ่านมาไม่มีสถานะ ไม่มีการยอมรับจากภาครัฐ ที่จดแจ้งเพื่อให้มีการยอมรับของกลุ่มองค์กร สร้างสถานะตัวตนในการทำงานกับหน่วยงาน

ผลที่เกิดขึ้น คือ การบรรจุแผนงานกับท้องถิ่น สภาฯมีการจัดประชุมไป 9 ครั้ง ใช้งบประมาณจากกลุ่ม องค์กรต่างๆ มีกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบล การสนับสนุนการซ่อมแซมด้านที่อยู่อาศัย หน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ให้การยอมรับ

แต่สภาฯ ไม่ใช่ยาวิเศษ หลังจากมีสภาฯ แล้วต้องดำเนินการ 1.สร้างการยอมรับ 2.สร้างหุ้นส่วน 3.มีเป้าหมายร่วมของตำบลพี่น้องในพื้นที่ ต้องอยู่ดี มีกิน มีใช้ มีสุข โดยใช้ฐานข้อมูลร่วมกันกับหน่วยงานทั้ง TP-MAP พอช. ภาคประชาชน จปฐ. เชื่อว่าหากทุกฝ่ายร่วมกัน ร่วมกันทำ สิ่งสำคัญ ต้องมีทำเนียบผู้นำ คนทำงานต้องชัดเจน จับต้องได้ การรับผิดชอบงานที่ชัดเจน หากไม่ชัดเจนจะทำให้มีข้อต่อ การทำงานที่ล่าช้า

ภายใต้แนวทางการทำงานสำคัญ คือ ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ 18 กิจกรรม ภายใต้ยุทธศาสตร์ 5 ด้าน (อยู่ดี มีกิน มีใช้ มีสุข) แผนงานปี 2566-2570 คือ 1.ส่งเสริมสนับสนุนทุกครัวเรือนให้มีที่อยู่อาศัยที่ดี 2.ส่งเสริมทุกครัวเรือนให้มีเศรษฐกิจดี 3.ส่งเสริมให้ทุกครัวเรือนมีสุขภาพดี (สุขภาวะดี) 4.ส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อมดี (ดินอุดมสมบูรณ์น้ำสะอาด อากาศดี) 5.สร้างสรรค์สังคมดี (สังคมอารยะ)

นายกฤษฎา สมประสงค์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ กล่าวถึงทิศทางการทำงานสำคัญในระยะต่อไปของสภาฯ ว่า จะพัฒนาการทำงานของสภาองค์กรชุมชนระดับจังหวัด เน้นการทำงานในระดับพื้นที่จังหวัดเป็นสำคัญ มิติในอนาคตสภาฯ เป็นเจ้าภาพ ไม่ใช่เจ้าของในการชวนเพื่อน หน่วยงานมาทำงานร่วมกัน อาจจะเริ่มตามความพร้อมในมิติที่พร้อม มิติการพัฒนาคุณภาพชีวิต แล้วชวนเพื่อนเข้ามาทำงานร่วมกัน ใช้เวทีสภาองค์กรชุมชนระดับจังหวัดในการรับรองแผนงานของภาคประชาชน เมื่อมีการรับรองแผนงานระดับจังหวัดแล้ว แผนงานที่ผ่านการรับรองจะส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ พมจ. และ อบจ.

นายกิตติ อินทรกุล รองอธิบดีกรมการพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กล่าวว่า ขบวนองค์กรชุมชนคือครูที่สอนการทำงานในพื้นที่ การสร้างความมั่นคงของมนุษย์ ต้องก้าวข้ามการสงเคราะห์ สร้างหลักประกันให้แก่คนในสังคม การทำให้คนกินอิ่มและนอนอุ่น คือบทบาทของ พม.

เขาบอกว่า คนที่รู้ปัญหาของชุมชนที่ดีที่สุด ไม่ใช่ราชการ โดยเฉพาะสภาฯ คือคนในชุมชนจะทราบปัญหาดีที่สุด ข้อจำกัดของหน่วยงาน คือ คนหน่วยงานมีจำนวนน้อย การสั่งการของราชการ ระบบสั่งการ พม.ต้องทำงานร่วมกับชุมชน ต้องทำงานร่วมกับ พอช. ต้องให้ชาวบ้านเป็นพระเอกในการทำงาน ต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมในทุกกระบวนการทำงาน

นอกจากนี้ ภาครัฐควรเติมวิธีการที่ประชาชนขาด ต้องการเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่ พม.ต้องพัฒนาคนในการเป็นนักจัดการชุมชนด้วยเช่นกัน และต้องทำงานในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง กรมพัฒนาสังคมฯ จะเป็นเจ้าภาพในการรวบรวมสวัสดิการที่มีอยู่ทุกหน่วยงานทั้งประเทศเป็นคู่มือให้ภาคประชาชน ให้สามารถเข้าถึงสวัสดิการสังคมด้านต่างๆ ของประเทศไทยได้ รวมถึงการจัดทำแผนส่งเสริมองค์กรภาคประชาสังคม ไม่ใช่แผนที่ส่วนราชการออกแบบ แต่เป็นแผนที่สนับสนุนขับเคลื่อนงานของภาคประชาชน ภาคประชาสังคม !!

ข้อเสนอเชิงนโยบาย เสนอต่อกระทรวง พม.

ในช่วงท้ายของการจัดงานวันนี้ เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนตำบลได้ร่วมกันจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายต่อกระทรวง พม. โดยมีนายธนสุนทร สว่างสาลี รองปลัดกระทวง พม. เป็นผู้รับมอบ ส่วนข้อเสนอมีดังนี้
1.กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบหลักด้านการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ กําหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์เป็น “ยุทธศาสตร์ความร่วมมือ” หรือ “ยุทธศาสตร์เชื่อมโยง” เพื่อแสวงหาความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน องค์กร ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์
2.ขอให้กระทรวง พม. พัฒนา “ระบบการจัดการทางสังคมแบบองค์รวมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ด้อยโอกาส ” โดยรวมพลังภาคีการพัฒนาทั้งภาครัฐและเอกชน สร้างระบบจัดการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ด้อยโอกาส กลุ่มเปราะบางและผู้มีรายได้น้อย โดยอาจเริ่มต้นจากการจัดการระบบข้อมูลให้กลุ่มดังกล่าวเข้าถึงสวัสดิการขั้นพื้นฐานแห่งรัฐ ผลักดันให้เกิดการรวมกลุ่มแก้ปัญหาเชิงประเด็น ยกระดับการทำงาน สร้างระบบการจัดการชุมชนที่ยั่งยืน
3.ขอให้กระทรวง พม. พัฒนาระบบจัดสวัสดิการสังคมแบบครบวงจร เป็นกระบวนการสร้างและพัฒนาสวัสดิการสังคม ที่มีเป้าหมายให้คนในชุมชนมีระบบสวัสดิการที่สอดคล้องกับวิถีชุมชนท้องถิ่น ผลักดันให้เกิดการต่อยอดระบบการจัดการทุนชุมชนที่เหมาะสมกับคนในชุมชน ผลักดันให้เข้าถึงระบบสวัสดิการอย่างเท่าเทียม รองรับความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เหมาะสม และนำไปสู่การสร้างระบบการจัดการชุมชนอย่างยั่งยืน

4.ขอให้เร่งรัดประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อบูรณาการแก้ปัญหาหนี้สินครัวเรือน ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์
5.ขอให้กระทรวง พม. สร้างดุลยภาพการพัฒนาทางสังคม โดยใช้การจัดการสังคมสงเคราะห์เป็นฐาน เพื่อสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนในพื้นที่ตำบลร่วมกัน
6.ขอให้กระทรวง พม. ใช้กระบวนการพัฒนาและการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยเป็นเครื่องมือการขับเคลื่อนงานเชิงประเด็นของกลุ่มผู้ประสบปัญหาที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกิน ผลักดันให้เกิดการรวมกลุ่ม สร้างกระบวนการพัฒนาทุกมิติ โดยประสานพลังภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วนมาสนับสนุนการดำเนินการ
7.ข้อเสนอต่อการพัฒนากลไกความร่วมมือการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นระดับตำบล ขอให้กระทรวง พม. เร่งรัดสนับสนุนให้เกิดพื้นที่กลางการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นระดับตำบล เพื่อให้เกิดผลทางการพัฒนา ดังนี้

-เกิดระบบฐานข้อมูลทางสังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ด้อยโอกาส
-เกิดแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตสร้างกระบวนการพัฒนาที่ยั่งยืน
-เกิดระบบการสนับสนุนงานพัฒนาเชิงพื้นที่การจัดการทางสังคมแบบองค์รวมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ด้อยโอกาส
-เกิดกลไกกลางการพัฒนาสังคมที่มีองค์ประกอบของผู้แทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พมจ. สภาองค์กรชุมชน ภาคีรัฐ ภาคเอกชน ประชาสังคมและภาควิชาการ
– สร้างระบบการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นโดยใช้ชุมชนท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง ให้คนในชุมชนเป็นผู้กำหนดทิศทางและเป้าหมายการพัฒนา องค์กร หน่วยงานภาครัฐ และภาคีเครือข่ายเป็นผู้สนับสนุน
-จัดระบบให้คนด้อยโอกาสได้เข้าถึงระบบสวัสดิการขั้นพื้นฐานของรัฐอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรมผ่านกลไกชุมชน

8.ผลักดันให้เกิดกลไกความร่วมมือการพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างระบบการจัดการทางสังคมแบบองค์รวมเพื่อสร้างความมั่นคงของมนุษย์ มีองค์ประกอบจากตัวแทนทุกภาคส่วน ทำหน้าที่สนับสนุนการขับเคลื่อนงานพัฒนาทางสังคมและสร้างความมั่นคงของมนุษย์
9.เสนอให้สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด มีบทบาทในการประสานความร่วมมือ เชื่อมโยงการพัฒนา สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาชุมชนและสังคมแบบองค์รวม
10.ด้านการส่งเสริมฟื้นฟูอนุรักษ์วิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์และพื้นที่วัฒนธรรมพิเศษ ขอเสนอให้ รัฐบาล กระทรวง พม. และกระทรวงวัฒนธรรม มอบหมายให้ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนกลไกเครือข่ายกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ดำเนินการแก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ในแต่ละด้าน เช่น ที่อยู่อาศัย ที่ดินทำกิน การใช้ประโยชน์ทรัพยากร วัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณอย่างเพียงพอ เพื่อให้ชุมชนในเขตคุ้มครองวัฒนธรรมสามารถดำเนินงานได้จริง
11.ขอให้กระทรวง พม. ให้สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพผู้นำการเปลี่ยนแปลง โดยขอให้เสนอต่อรัฐบาลและคณะรัฐมนตรีในการสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพผู้นำองค์กรชุมชน เพื่อจะเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง :Cr;มณสิการ รามจันทร์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวใหม่