วันพุธ, พฤศจิกายน 27, 2024

หนังสือพิมพ์ พิมพ์ไทยออนไลน์

หน้าแรกข่าวเด่นประเด็นร้อนกสทช.มึนตึ๊บ! มือมืดใช้สื่อใต้ดินปล่อยข่าวถูกยักษ์เอไอเอสครอบงำ ดีลควบทรู-ดีแทค ด้านเอไอเอสเอาจริงจ่อฟ้องสื่อเผยแพร่ข่าวปลอมหนัก!

กสทช.มึนตึ๊บ! มือมืดใช้สื่อใต้ดินปล่อยข่าวถูกยักษ์เอไอเอสครอบงำ ดีลควบทรู-ดีแทค ด้านเอไอเอสเอาจริงจ่อฟ้องสื่อเผยแพร่ข่าวปลอมหนัก!

พิมพ์ไทยออนไลน์ // ยิ่งใกล้โค้งสุดท้ายของการพิจารณาชี้ขาดดีลควบรวมกิจการระหว่างบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค หลังจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สั่งให้สำนักงาน กสทช.เร่งจัดทำรายงานผลการวิเคราะห์เพิ่มเติมใน 6 ประเด็นสำคัญที่จะนำเข้าสู่การพิจารณาของบอร์ด กสทช.ภายใน 30 วันนั้น ก็ยิ่งทำให้สองค่ายยักษ์สื่อสารออกอาการดิ้นพล่าน เพื่อหวังจะให้ปิดดีลควบรวมกิจการในครั้งนี้ลงให้จงได้

ล่าสุดมีการเผยแพร่ข่าวถึงขั้นระบุว่า เป็นแผนใช้สื่อใต้ดินนำเสนอข่าวที่อ้างว่า ผู้บริหารเอไอเอสคือ นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเอไอเอสได้เข้าพบ กสทช.และเสนอให้ กสทช.กำหนดเงื่อนไขสั่งห้ามไม่ให้บริษัทใหม่ที่เกิดจากการควบรวมทรู-ดีแทค รวมคลื่นความถี่ พร้อมชี้แนะให้ กสทช.เรียกคืนคลื่นความถี่บางส่วนกลับมาโดยจ่ายค่าชดเชยให้แก่บริษัท

โดยระบุว่า เป็นการใช้อำนาจเหนือขอบเขตของบริษัท เพราะการกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ต่อกรณีควบรวมกิจการนั้น เป็นอำนาจหน้าที่ของ กสทช.ไม่ใช่เรื่องที่บริษัทเอกชนผู้รับใบอนุญาตจะออกมาเคลื่อนไหวหรือใช้อิทธิพลกดดันเช่นนี้ และยังอ้างด้วยว่า การที่บริษัทใหม่ที่เกิดขึ้นหลังการควบรวมถือครองคลื่นความภี่เป็นจำนวนมาก จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคด้วยอีก (อ่าน https://thejournalistclub.com/%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%97%E0%B8%8A-%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B9%89-%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%AA-%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%AB%E0%B8%99/)

ต่อกรณีดังกล่าวฝ่ายประชาสัมพันธ์ เอไอเอส ได้ออกแถลงการณ์ยืนยันว่า นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเอไอเอส ไม่เคยเข้าพบเพื่อให้ข้อมูลหรือข้อเรียกร้องต่อ กสทช.แต่อย่างใด เพราะบริษัทไม่มีหน้าที่ที่จะไปดำเนินการในเรื่องเหล่านี้ การจะพิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติดีลควบรวมกิจการทรูและดีแทคนั้น ถือเป็นอำนาจหน้าที่โดยตรงของ กสทช. ในฐานะองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระที่ทำหน้าที่ดังกล่าว

ส่วนการที่ กสทช.หรือกรรมาธิการ สภาผู้แทนฯ จะเชิญบริษัทเอกชนผู้รับใบอนุญาตประกอบการในตลาดเดียวกันไปให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบต่อตลาด หากมีการพิจารณาดีลควบรวมกิจการนั้น เป็นเรื่องปกติตามขั้นตอนกฎหมายและประกาศ กสทช.อยู่แล้ว และเอไอเอสก็ได้แสดงจุดยืนต่อเรื่องนี้อย่างเปิดเผยไปต่ออนุกรรมการที่ กสทช.จัดตั้งขึ้นเพื่อรับฟังความคิดเห็นผู้เกี่ยวข้องในเวที Focus Group ไปหมดแล้ว รวมทั้ง

“การที่สื่อใต้ดินบางฉบับมีการนำเสนอข่าวว่าผู้บริหาร AIS ได้เข้าพบและยื่นเงื่อนไขให้กสทช.ต้องดำเนินการกำหนดเงื่อนไขต่างๆ ก่ออนุมัติรวบรวมกิจการ ถือเป็นการนำเสนอข้อมูลอันเป็นเท็จโดยสิ้นเชิง ไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานข้อเท็จจริงใดๆ น่าจะมีความจงใจให้สังคมเข้าใจผิดหรือเข้าใจคลาดเคลื่อน จึงอยากวอนสื่อมวลชนที่นำเสนอข่าวเรื่องนี้ให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างมีจรรยาบรรณ ไม่ถูกกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งใช้เป็นเครื่องมือ หาไม่แล้วบริษัทจะดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างถึงที่สุด”

ทั้งนี้ การนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิด ความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคง ในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะของประเทศ หรือก่อให้เกิด ความตื่นตระหนกแก่ประชาชนนั้น ถือเป็นความผิดตามมาตรา 14 (2) มีโทษจำคุกไม่เกิด 5 ปี ปรับไม่เกิดน 100,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

ด้านนายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รักษาการแทน เลขาธิการ กสทช. เปิดเผยว่า “จากข่าวที่เผยแพร่นี้ ไม่เป็นความจริง ทาง CEO เอไอเอสไม่ได้มาเข้าพบกับ กสทช.เพื่อคุยเรื่องนี้ และเอไอเอสไม่เคยชี้นำหรือก้าวล่วงในการพิจารณาของกสทช. อีกทั้ง กสทช ก็มิได้มีความเห็นใดๆตามที่ข่าวระบุไว้แต่อย่างใด ทั้งนี้ กสทช ยินดีรับฟังความคิดเห็นในกรณีนี้จากทุกภาคส่วน เพื่อให้ได้ข้อมูลอย่างครบถ้วนในการประกอบการตัดสินใจต่อไป”

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวใหม่