วันอาทิตย์, ตุลาคม 27, 2024

หนังสือพิมพ์ พิมพ์ไทยออนไลน์

หน้าแรกข่าวเด่นประเด็นร้อนข่าวกีฬาอย่าลืมปัดกวาดบ้านตัวเอง!

อย่าลืมปัดกวาดบ้านตัวเอง!

พิมพ์ไทยออนไลน์ // คงจะเดินมาถึงโค้งสุดท้ายที่ต้องเคาะโต๊ะกันให้สะเด็ดน้ำกันอย่างจริงจังแล้ว

กับเรื่องของสัมปทานรถไฟฟ้า สายสีเขียว ที่กรุงเทพมหานคร(กทม.) และกระทรวงมหาดไทย ตั้งแท่นนำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ให้ต่อขยาย
สัมปทาน 30 ปีให้แก่ บมจ.บีทีเอส (BTS) แลกกับหนี้ค้างร่วมแสนล้านที่ กทม.ไม่สามารถจะแบกรับภาระเองได้

เฉพาะหนี้ค้างที่ครบดิวถึงกำหนดที่ต้องชำระจนถูกบริษัทเอกชนคู่สัญญายื่นโนตี๊สให้ชำระในเวลานี้ก็ปาเข้าไปกว่า 30,000 ล้านบาทแล้ว โดยที่ กทม.ได้แต่ซื้อเวลา เพราะยังไม่สามารถจะควานหาเม็ดเงินมาชำระหนี้ให้ได้ และแม้จะถูกบริษัทเอกชนอัดคลิปทวงหนี้ออกสื่อประจานออกไปทั่วโลก แต่ กทม.ก็ได้แต่แบ๊ะ ๆๆ เพราะไม่รู้จะหาทางออกอน่างไร ได้แต่โยนกลองไปให้รัฐบาลช่วยหาทางออกให้

ก่อนหน้านี้ กทม. เคยออกประกาศดีเดย์จัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้า สายสีเขียวส่วนต่อขยาย เพื่อหวังจะนำรายได้มาจ่ายหนี้ค้างเมื่อ 15 ก.พ.64
ที่ผ่านมา แต่ต้องถอยร่นยกเลิกประกาศดังกล่าวไป เพราะคำนวณอัตราจัดเก็บค่าโดยสารตามสูตรที่กรมขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคมวางไลน์ไว้ ก็นัยว่าอัตราค่าโดยสารที่ต้องจัดเก็บสูงสุดของโครงข่ายรถไฟฟ้า สายสีเขียวและสีเขียวส่วนต่อขยายนั้นปาเข้าไปถึง 104 บาทตลอดสาย ขืนดั้นเมฆจัดเก็บไปมีหวังได้ถูกประชาชนคนกรุงแหกอกแน่!

อย่างไรก็ตาม แม้แนวทางการต่อขยายสัมปทานรถไฟฟ้า สายสีเขียวข้างต้น จะเป็นการดำเนินการตามคำสั่ง ม.44 ของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แต่กลับต้อง “คาราคาซัง” มาร่วมปี เพราะถูกกระทรวงคมนาคมตั้งแง่คัดง้าง โดยอ้างว่า อัตราค่าโดยสารที่กำหนดเอาไว้ตามร่างสัญญาใหม่ที่
65 บาทตลอดสายนั้นสูงเกินไป ส่งผลกระทบต่อประชาชนคนกรุง พร้อมตั้งคำถามถึงความถูกต้องตามครรลองแห่งกฏหมาย และวินัยการเงินการคลัง

ล่าสุด นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.กระทรวงคมนาคม ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนถึงเรื่องดังกล่าวอีกครั้ง หลังจากมีข่าวว่านายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้ส่งเรื่องให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาร่วมกับ กทม.เพื่อให้ได้ข้อยุติโดยเร็วนั้นว่า เบื้องต้นได้รับรายงานว่า จะมีการหารือระหว่างกระทรวง
คมนาคม และ กรุงเทพมหานคร ในเรื่องนี้ ซึ่งได้มอบหมายให้ นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม และนายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัด
กระทรวงคมนาคม เป็นผู้รับผิดชอบ

ทั้งนี้ จุดยืนของกระทรวงคมนาคมยืนยันว่า ต้องทำแล้วถูกกฎหมาย และเป็นประโยชน์ต่อประชาชน ส่วนกำหนดการหารือจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ คงต้องรอข้อมูลข้อทักท้วง 4 ข้อที่ กระทรวงคมนาคม จะตั้งข้อสังเกตไปก่อนหน้าส่งมาถึงกระทรวงก่อน เมื่อได้รับข้อมูลแล้วจะรีบดำเนินการหารือร่วมกันต่อไป แต่
เชื่อว่า ถ้ายึดระเบียบกฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เชื่อว่าทุกอย่างจะเดินหน้าได้

เห็นจุดยืนของ รมต.คมนาคมข้างต้นแล้ว ก็ให้นึกชื่นชมจริงๆ หากทุกอย่างได้ยึดถือความถูกต้องของกฏหมายและมติคณะรัฐมนตรี(ครม.)ที่ให้ไว้ ก็เชื่อแน่ว่าโครงการจะเดินหน้าไปได้แน่

แล้วเหตุใดในส่วนของการประมูลหาเอกชนเข้าร่วมลงทุน (PPP) ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี(สุวินทวงศ์) เงินลงทุน 1.427 แสนล้านบาท กระทรวงคมนาคมถึงปล่อยให้ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) แหกกฏข้อกฏหมาย และมติคณะรัฐมนตรีที่วางไว้ จนทำ
เอาเส้นทางการประมูลโครงการนี้ต้องล้มลุกคลุกคลานจ่อจะยกยอดไปประมูลกันเอาชาติหน้าตอนบ่ายๆ แล้ววันนี้

ท่านรัฐมนตรีคมนาคม จะแอ่นอกปกป้อง และยืนยันได้หรือว่า สิ่งที่ฝ่ายบริหาร รฟม.และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 ของพรบ.ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน ที่ดำเนินการไปก่อนหน้า ทั้งในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงเกณฑ์พิจารณาคัดเลือกที่ไม่เป็นไปตามเอกสารประกวดราคา(RFP) จนถูกบริษัทเอกชนที่เข้าร่วมประมูลลุกขึ้นมาฟ้องหัวเอาได้นั้น ทุกอย่างดำเนินไปตามครรลองของกฏหมายและมติคณะรัฐมนตรี

การที่บริษัทเอกชนที่เข้าร่วมประมูลลุกขึ้นมาฟ้อนเงี้ยว ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง กระทั่งศาลมีคำสั่งคุ้มครองขั่วคราวและสั่งให้ รฟม.และคณะกรรมการคัดเลือกชะลอการนำเอาเกณฑ์พิจารณาคัดเลือกเจ้าปัญหามาบังคับใช้

รวมทั้งกรณีที่ศาลทุจริตและประพฤติมิชอบสั่งให้รับคดีที่บริษัทเอกชนยื่นฟ้องผู้บริหาร รฟม.และคณะกรรมการคัดเลือกต่อกรณีรื้อและเปลี่ยนแปลงเกณฑ์พิจารณาคัดเลือกที่ไม่เป็นไปตาม TOR และล่าสุดผลสอบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ที่มีต่อเรื่องนี้ที่ระบุชัดว่า ฝ่ายบริหารรฟม
.และคณะกรรมการคัดเลือกรวม 7 คนมีพฤติกรรมการใช้อำนาจหน้าที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เข้าข่าย ม.157 และอีกหลายมาตราก่อนมีมติให้ส่งสำนวนสอบสวนไปยังคณะกรรมการป.ป.ช.ดำเนินการไต่สวนเอาผิดกันต่อไปนั้น

สิ่งเหล่านี้ ยังไม่เพียงพอที่จะสะท้อนให้เห็นว่า มีการดำเนินการที่ขัดบทบัญญัติแห่งกฏหมายและมติ ครม.ได้อีกหรือ ส่ิงที่ฝ่ายบริหารรฟม.ดำเนินการไปนั้นถือเป็นการดำเนินการที่ยึดมั่นในหลักกฎหมายและความถูกต้องตามมติคณะรัฐมนตรีอีกหรือ?

จนถึงวันนี้ เรายังไม่เห็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จะได้แสดงความรับผิดชอบลงโทษผู้เกี่ยวข้อง กับการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มที่ในวันนี้ ต้องล้มลุกคลุกคลานล่าช้าไปกว่าขวบปี จนสร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติและประชาชนผู้ใช้บริการ สูญเสียโอกาสทางเศรษฐกิจ และเหนือสิ่ง
อื่นใดความล่าช้าที่เกิดขึ้นยังอาจทำให้รปภจะต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากความล่าช้าของโครงการ

แทนที่จะเอาเวลาและสรรพกำลังที่มีไปทุ่มเทให้กับโครงการ รถไฟฟ้าสายสีส้มที่ “ติดหล่ม” จ่อจะต้องไปประมูลกันเอาชาติหน้าตอนบ่ายๆ หรือผ่าทางตัน ” ค่าโง่โฮปเวลล์” มูลค่า 2.5 หมื่นล้าน ที่กระทรวงคมนาคมและการรถไฟฯ ร่วมกันสร้างปัญหาและทำให้มันเกิดขึ้นมา โดยที่จนป่านนี้ก็ยังจับมือ
ใครดมไม่ได้ ทั้งยังหาทางออกไม่ได้ว่าจะจัดการกับหนี้ค่าโง่นับหมื่นล้านบาทนี้อย่างไร จึงจะไม่ทำให้ตัวเองถูกลากลงไปเสียรู้และเสียค่าโง่เสียเองอีก!

กรมขนส่งทางรางและกระทรวงคมนาคมกับมุ่งมั่นมา “คัดง้างและขัดขวาง” การผ่าทางตันโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวของ กทม.ที่หาได้อยู่ในความรับผิดชอบของตนเอง จนทำให้โครงการนี้ต้องพลอยชะงักงัน จ่อจะเรียกแขกให้งานเข้า ทำให้ กทม .ต้องเผชิญทางตันไปด้วย

ก็ได้แต่ฝากความหวังไว้ที่นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะได้ลงมาผ่าทางตันโครงการนี้ให่สะเด็ดน้ำเสียที ก่อนที่จะทำให้โครงการดีๆ ต้องลงเอยด้วยค่าโง่ไปอีกโครงการ!

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวใหม่