พิมพ์ไทยออนไลน์ // วงการสื่อสารโทรคมนาคมตั้งข้อกังขา ผลงานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล 7 ปีในรัฐบาล”ลุงตู่” สุดปังหรือพังกันแน่ ชี้แม้ไทยจะมีการประมูลคลื่น 5 จีมาก่อนใครแต่แทบไม่ต่างจาก “ไก่ได้พลอย เหตุรัฐลอยแพปล่อยเอกชนลงทุนเอง แถมรัฐยังไม่รู้จักนำเอามาใช้ประโยชน์ แค่จัดคิวกระจายวัคซีนต้านโควิดยังเหลวไม่เป็นท่า
จากการที่ นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมต.กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอีเอส) ออกมาตีปี๊บผลงานในรอบ 7 ปีของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้น
ฐานดิจิทัลของประเทศ โดยระบุว่า มีความสำเร็จเป็นรูปธรรมทั้ง 5 ด้าน อาทิ การให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ให้ประชาชนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้ครอบคลุม 44,352 หมู่บ้านและมี
การต่อยอดสู่นโยบายส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ผ่าน “ศูนย์ดิจิทัลชุมชน” ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 500 แห่ง และมีแผนขยายอีกไม่น้อยกว่า 2,520 แห่งทั่วประเทศ
นอกจากนี้ ยังมีการผลักดันให้ประเทศไทยเปิดประมูลและออกใบอนุญาตคลื่น 5G เป็นประเทศแรกในภูมิภาคนี้ มีการกำหนดแนวทางขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์ 5G ภายใต้คณะกรรมการขับเคลื่อน
5G แห่งชาติที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ส่งเสริมให้เกิดการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เกิดการค้าขายออนไลน์และสังคมไร้เงินสดได้ครอบคลุมทั่วประเทศ ขณะที่ภาครัฐก็มีการพัฒนารัฐบาลดิ
จิทัลอำนวยความสะดวกให้ประชาชนสามารถรับบริการจากภาครัฐได้โดยง่าย สะดวก ทุกที่ทุกเวลา
อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวในวงการสื่อสารได้ตั้งข้อสังเกตต่อผลงานของรัฐในช่วงที่ผ่านมาว่า แม้ประเทศไทยจะเป็นประเทศแรกในภูมิภาคนี้ที่มีการประมูลออกใบอนุญาต 5 จีในเชิงพาณิชย์ แต่ภาครัฐ
กลับไม่ได้ลงไปสนับสนุนการลงทุนของภาคเอกชนแต่อย่างใด กลับลอยแพให้ภาคเอกชนต้องลงไปสู้รบปรบมือกับหน่วยงานท้องถิ่นต่างๆ ด้วยตนเอง โดยที่ภาครัฐไม่ได้มีการประสานให้ความช่วย
เหลือทั้งที่ถือเป็นบริการโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ขณะที่คณะกรรมการขับเคลื่อน 5 จีแห่งชาติ ก็ไม่ได้เป็นรูปธรรม การใช้ประโยชน์ 5 จีของภาครัฐที่มีก็ขาดมาตรการในการติดตามดูแลอย่าง
เห็นได้ชัด จึงทำให้การบูรณาการใช้ประโยชน์จาก 5 จีไม่เป็นไปตามเป้าหมาย หน่วยงานต่างๆ ยังคงต่างคนต่างทำ
เห็นได้จากมาตรการช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบจากสถานการณืโควิดหลายระลอกที่รัฐบาลดำเนินการไปนั้น เต็มไปด้วยความโกลาหล ขาดการประสานงานระหว่างหน่วยงานได้อย่างชัดเจน มี
การจัดตั้งศูนย์ติดตามของแต่ละหน่วยงานจนประชาชนสับสน การลงทะเบียนรับบริการจากภาครัฐของหน่วยงานต่าง ๆ ก็ซ้ำซ้อนขาดการประสานการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5 จีที่มีอยู่
ขณะที่การบริหารและกระจายวัคซีนต้านโควิดซึ่งต้องมีความคล่องตัว ฉับไว ก็เห็นได้ชัดว่าระบบที่ ศบค.และสธ.วางเอาไว้นั้นเดินไปคนละทางต่างคนต่างทำ บางจังหวัดยังต้องกลับไปใช้ระบบแมน่วล
ในการจัดคิวผู้มาขอรับบริการกันอยู่เลย “เอาแค่การทำคลอดแอพลิเคชันที่จะติดตามตรวจสอบผู้ติดเชื้อ หรือเปิดให้ลงทะเบียนฉีดวัคซีนก็ขาดเอกภาพมีการผุดแอพอะไรต่อมิอะไรมาไม่รู้กี่แอพกี่ศูนย์
เข้าไปแล้ว ล่าสุดกทม.และกสทช.ก็ไปร่วมกับภาคเอกชนจัดตั้งศูนย์ให้บริการจองฉีดวัคซีนต้านโควิดของตนเอง 1516 มาอีกศูนย์แยกออกมาจากแอปหมอพร้อม สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นความความ
สำเร็จ-ล้มเหลวของการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลของประเทศได้เป็นอย่างดี”
แหล่งข่าวกล่าวด้วยว่า แม้แต่ศูนย์เรียนรู้ดิจิทัลชุมชนที่ดีอีเอสกำลังตีปี๊บอยู่นั้น ที่ผ่านมาก็ถูกร้องเรียนความไม่โปร่งใสการเช่าระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประจำศูนย์ที่จ้องประเคนโครงการออกไป
ให้รายเก่าย้อมแมวเอาคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์มาส่งมอบจนถูกกรรมาธิการ (กมธ.) สื่อสารโทรคมนาคมของสภาผู้แทนฯล้วงลูกเข้ามาตรวจสอบและเรียกกระทรวงดีอีเอสไปชี้แจงสั่งให้แก้ไข แต่ล่า
สุดนั้นกลับพบว่ามีการเดินหน้าโครงการไป โดยไม่ได้มีการแก้ไขอะไรเลย.