วันศุกร์, ตุลาคม 18, 2024

หนังสือพิมพ์ พิมพ์ไทยออนไลน์

หน้าแรกข่าวกีฬาผลการสำรวจความคิดเห็น เรื่อง "ยืนหนึ่งแวดวงกีฬาไทยปี 63" สองล้อนำโด่ง

ผลการสำรวจความคิดเห็น เรื่อง “ยืนหนึ่งแวดวงกีฬาไทยปี 63” สองล้อนำโด่ง

พิมพ์ไทยออนไลน์ // สืบเนื่องจากในรอบปี 2563 ที่ผ่านมาแวดวงกีฬาไทยต้องประสบกับปรากฎการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จนนำมาซึ่งส่งผลกระทบในหลากหลายมิติ แต่องค์กร สมาคม นักกีฬาตลอดจนผู้เกี่ยวข้องยังมีความมุ่งมั่นเดินหน้าขับเคลื่อน เพื่อประโยชน์สูงสุดของวงการกีฬาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ตลอดจนการให้กำลังใจกับผู้ที่มีส่วนร่วมการสนับสนุน และสร้างชื่อเสียงให้กับวงการกีฬาไทยในรอบปี 2563 KBU SPORT POLL โดยศูนย์นวัตกรรมการพัฒนาทุนมนุษย์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต จึงสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ยืนหนึ่งแวดวงกีฬาไทยในปี 63”
สำหรับการสำรวจดังกล่าวดำเนินการผ่านระบบออนไลน์และภาคสนาม ระหว่างวันที่ 22-24 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่สนใจและติดตามข่าวสารทางการกีฬา ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปจำนวน 1,186 คน แบ่งเป็นชาย 703 คนคิดเป็นร้อยละ 59.27 หญิง 483 คน คิดเป็นร้อยละ 40.73 ซึ่งผลการวิเคราะห์ในประเด็นต่างๆโดยภาพรวมพบว่า

ผู้บริหารระดับสูงที่มีส่วนร่วมการส่งเสริมสนับสนุนการกีฬาของประเทศใหญ่ร้อยละ 20.01พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รองลงมาร้อยละ 18.83 พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี/ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย ร้อยละ 17.03 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ร้อยละ 14.44 คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล กรรมการคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ร้อยละ11.95 พล ตรี จารึก อารีราชการัณย์ รองประธาน/เลขาธิการคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยฯ ร้อยละ 10.69 ดร.ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย ร้อยละ4.33 ดร.นิวัฒน์ ลิ้มสุขนิรันดร์ อธิบดีกรมพลศึกษา และอื่นๆร้อยละ2.72
องค์กร/สมาคมที่ร่วมจัดกิจกรรมกีฬาฝ่าโควิด -19 ส่วนใหญ่ร้อยละ 22.63 สมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทยฯ รองลงมาร้อยละ20.79 สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ร้อยละ 19.89 การกีฬาแห่งประเทศไทย ร้อยละ 17.24สมาคมกีฬาเพาะกายและฟิตเนสแห่งประเทศไทยฯร้อยละ 11.48 สมาคมกีฬาเทควันโดแห่งประเทศไทย และอื่นๆร้อยละ7.97
สมาคมกีฬาฯที่มีผลงานเข้าตาประชาชน ส่วนใหญ่ร้อยละ24.03 สมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทย รองลงมาร้อยละ 20.85 สมาคมกีฬาเพาะกายและฟิตเนสแห่งประเทศไทย ร้อยละ 17.75 สมาคมกีฬาแบดมินตันแห่งประเทศไทย ร้อยละ15.01 สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ร้อยละ 12.81สมาคมกีฬาเทควันโด และอื่นๆร้อยละ9.55

ชนิดกีฬาและกิจกรรมการออกกำลังกายยอดนิยม ส่วนใหญ่ร้อยละ 26.77 เดิน/วิ่ง รองลงมาร้อยละ 22.09 ปั่นจักรยาน ร้อยละ20.47 ฟุตบอล ร้อยละ15.63 ว่ายน้ำ ร้อยละ11.05 แอโรบิก และอื่นๆร้อยละ 3.99
กีฬาอาชีพยอดนิยม ส่วนใหญ่ร้อยละ27.61 ฟุตบอล รองลงมาร้อยละ 22.48 มวยไทย/มวยสากล ร้อยละ18.01 วอลเลย์อล ร้อยละ 14.98 จักรยานยนต์/รถยนต์ ร้อยละ10.94 เซปักตะกร้อ และอื่นๆร้อยละ 5.98
นักกีฬาที่มีผลงานเข้าตาประชาชน ส่วนใหญ่ร้อยละ24.71 ธีราธร บุญมาทัน (ฟุตบออล) รองลงมาร้อยละ 22.05 ชนาธิป สรงกระสินธ์ (ฟุตบอล) ร้อยละ17.39 อาฒยา ฐิติกุล(กอล์ฟ) ร้อยละ14.77 อเล็กช์ อัลบอล อังศุสิงห์ (จักรยานยนต์) ร้อยละ11.43 เอรียา จุฑานุกาล (กอลฟ์) และอื่นๆร้อยละ 9.65
ผศ.ดร.รัฐพงศ์ บุญญานุวัตร ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการพัฒนาทุนมนุษย์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตในฐานะผู้ดำเนินการKBU SPORT POLL กล่าวเพิ่มเติมว่าจากผลการสำรวจดังกล่าวจะเห็นได้ว่าในรอบปี 2563 ถึงแม้สังคมไทยและแวดวงกีฬาจะประสบกับปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19ก็ตาม จะเห็นได้ว่าผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องในแวดวงกีฬายังตระหนักและให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากกรณีนี้สอดคล้องกับมุมมองของกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามที่เห็นว่าผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในวงการกีฬาไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร/บุคคลหรือองค์กร/สมาคมฯต่างเข้ามามีบทบาทในการส่งเสริมและสนับสนุนจึงทำให้กิจกรรมกีฬาเดินหน้าและฝ่าวิกฤติไปได้ในระดับหนึ่ง

ขณะเดียวกันถึงแม้ว่าสังคมจะเผชิญกับ การแพร่ระบาดของเชื้อโรคร้าย ก็ตามแต่ถ้ามองในมิติของความสำคัญและความสนใจการเล่นกีฬาหรือการออกกำลังกายกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่ยังให้ความสำคัญและสนใจการเลือกชนิดหรือกิจกรรมกีฬายอดนิยมมาดำเนินการในชีวิตประจำวันอาทิ การเดิน/วิ่ง ฟุตบอล และปั่นจักรยานเป็นต้น
อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาถึงยืนหนึ่งที่เกี่ยวกับองค์กร/นักกีฬาที่มีผลงาน และสร้างชื่อพบว่ากลุ่มตัวอย่างสะท้อนให้เห็นว่าสมาคมฯ หรือนักกีฬารายใดที่มีผลงานและสร้างชื่อเสียงอย่างต่อเนื่อง มักจะเป็นที่ชื่นชมและได้รับการยกย่องจากสังคมและแฟนๆกีฬา ที่น่าสนใจจากผลงานซึ่งส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างรับทราบอาจจะเป็นเพราะว่าปัจจุบันสื่อมวลชนเข้ามามีบทบาท และมีการรายงานการจัดกิจกรรมและผลการแข่งขันผ่านสื่อแขนงต่างๆอย่างแพร่หลาย ซึ่งจากประเด็นนี้คงจะสร้างขวัญกำลังใจให้กับองค์กร/สมาคม//บุคลากรและนักกีฬาได้ไม่มากก็น้อย
เหนือสิ่งอื่นใดในปี 2564ที่จะมาถึงในเร็ววันนี้ ยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าสังคมและวงการกีฬาไทยตลอดจนวงการกีฬาโลกจะประสบกับวิกฤติโควิด-19อยู่อีกหรือไม่ แต่เพื่อการเตรียมการรองรับกับสถานการณ์ดังกล่าว
จึงใคร่ขอให้รัฐบาลตลอดจนองค์กร/สมาคม/บุคลากรที่เกี่ยวข้อง และนักกีฬาเตรียมการให้พร้อมอยู่อยู่ตลอดเวลาทั้งนี้เพื่อที่จะร่วมฝ่าวิกฤติไปด้วยกันและหากเป็นไปดังว่าก็จะส่งผลดีต่อสังคมและวงการกีฬาบ้านเรา

Cr. : นายวิชัย แสงทวีป ผู้สื่อข่าวพิมพ์ไทยออนไลน์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวใหม่