วันพุธ, เมษายน 2, 2025

หนังสือพิมพ์ พิมพ์ไทยออนไลน์

หน้าแรก บล็อก

จุฬาฯ อันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย Top ของประเทศ 34 สาขา จัดอันดับโดย QS University Rankings by Subject 2025

0

https://www.natethip.com/news.php?id=9818
Cr. : ต้นฉบับจาก สำนักข่าวเนตรทิพย์ ออนไลน์

(อ่านเพิ่มเติม : ลิ๊งค์เว็บไซต์-เนตรทิพย์ ออนไลน์-ด้านบน)

 

 

 

 

สำนักข่าวเนตรทิพย์-ท้องกินข้าว สมองกินข่าว!

0

https://linevoom.line.me/post/_dRwLP9ryDNNCNElq786ZFgDnUlb3FkZ4wdgFcto/1174355369312073740?
Cr. : ต้นฉบับจาก สำนักข่าวเนตรทิพย์ ออนไลน์

(อ่านเพิ่มเติม : ลิ๊งค์เว็บไซต์-เนตรทิพย์ ออนไลน์-ด้านบน)

 

 

 

 

บีทีเอส มอบปฏิทินตั้งโต๊ะเก่าในแคมเปญ “ฮีโร่ให้” พร้อมมอบเงินสนับสนุนเพื่อคนตาบอด

0

https://www.natethip.com/news.php?id=9817
Cr. : ต้นฉบับจาก สำนักข่าวเนตรทิพย์ ออนไลน์

(อ่านเพิ่มเติม : ลิ๊งค์เว็บไซต์-เนตรทิพย์ ออนไลน์-ด้านบน)

 

 

 

 

SEA-ACN เปิดเวทีเสวนาหัวข้อ “การประสานมาตรฐานคำนิยามบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมือง (PEPs)” ในอาเซียน (มาเลเซียและไทย)

0

พิมพ์ไทยออนไลน์//เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา เครือข่ายความร่วมมือระหว่างองค์กรภาคประชาสังคมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia Anti-Corruption Network: SEA-ACN) ของกลุ่ม Open Data ได้จัดการประชุมโต๊ะกลมออนไลน์ ภายใต้หัวข้อ “การประสานมาตรฐานคำนิยามบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมือง (PEPs) ในอาเซียน (ไทยและมาเลเซีย)” โดยมีเป้าหมายเพื่อเผยแพร่ความรู้และสร้างความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับนิยามของบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมือง (Politically Exposed Persons: PEPs) ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงต่อการทุจริตและการฟอกเงิน อีกทั้งถือเป็นก้าวสำคัญในการเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการต่อต้านการฟอกเงินและคอร์รัปชันในระดับภูมิภาค
SEA-ACN เป็นเครือข่ายที่มุ่งเน้นการสร้างระบบนิเวศการต่อต้านคอร์รัปชันผ่านความร่วมมือของภาคสังคม โดยให้ความสำคัญกับ 4 ด้านหลัก ได้แก่
1. ข้อมูลเปิด (Open Data)
2. การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (Public Procurement)
3. การคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส (Whistleblower Protection)
4. การยึดหลักคุณธรรมในภาคธุรกิจ (Business Integrity)
ในช่วงระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา กลุ่ม Open Data ของเครือข่ายความร่วมมือระหว่างองค์กรภาคประชาสังคมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อต่อต้านคอร์รัปชัน (SEA-ACN) ซึ่งประกอบด้วย องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย), ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชันและส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค (Knowledge Hub for Regional Anti-Corruption Collaboration and Good Governance Promotion: KRAC), Sinar Project (ประเทศมาเลเซีย), บริษัท วีวิซ เดโม จำกัด และบริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด ได้ร่วมกันศึกษาการกำหนดนิยามบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมือง (PEPs) ในประเทศสมาชิกอาเซียน โดยเริ่มจากประเทศไทยและประเทศมาเลเซียเป็นกรณีศึกษา
สำหรับการประชุมโต๊ะกลมออนไลน์ในครั้งนี้ได้แบ่งกิจกรรมออกเป็น 2 ส่วนหลัก ได้แก่
1. การนำเสนอผลการศึกษา
ในหัวข้อ “การประสานคำนิยามบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมือง (PEPs) ในประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย” โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจาก 3 องค์กร ได้แก่
• คุณ Kharil Yusof ผู้ประสานงานจากองค์กร Sinar Project ประเทศมาเลเซีย
• คุณวิถี ภูษิตาศัย ผู้ร่วมก่อตั้งและ Technical Lead จากบริษัท วีวิซ เดโม จำกัด
• คุณณัฐภัทร เนียวกุล หัวหน้าฝ่ายข้อมูลเปิดเพื่อความโปร่งใส บริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด และผู้เชี่ยวชาญในเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชันของศูนย์ KRAC
2. การให้ความเห็นและข้อเสนอแนะ
โดยได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 3 ท่าน ได้แก่
• คุณ Pushpan Murugiah ผู้บริหารองค์กร Centre to Combat Corruption and Cronyism (C4 Centre)
• คุณ Ato ‘Lekinawa’ Costa ผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมนักข่าวแห่งติมอร์-เลสเต
• คุณกิตติเดช ฉันทังกูล ผู้อำนวยการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)
รวมถึงความคิดเห็นจากหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) และหน่วยงานต่างชาติ ได้แก่ Politics for Tomorrow | Open Gov Network Germany (OGP)ประเด็นสำคัญจากการเสวนา
• ณัฐภัทร เนียวกุล นำเสนอเรื่อง “การนิยามบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมือง (Definition of PEPs)” โดยกล่าวถึงความสำคัญของการสร้างนิยามร่วมในภูมิภาคตามมาตรฐานของ Financial Action Task Force (FATF) เนื่องจากพบว่า นิยามของ PEPs ในแต่ละประเทศยังแตกต่างกัน เช่น ประเทศไทยแบ่ง PEPs ออกเป็น 4 กลุ่มหลัก ขณะที่ประเทศมาเลเซียใช้เกณฑ์ FATF โดยตรง จึงควรมีมาตรฐานกลางเพื่อให้การตรวจสอบและแลกเปลี่ยนข้อมูลมีความแม่นยำ
• วิถี ภูษิตาศัย นำเสนอเรื่อง “ความสำคัญของ Data Standard ที่เชื่อมโยงกับ PEPs” โดยยกตัวอย่างการนำมาตรฐานข้อมูล Popolo มาพัฒนาแพลตฟอร์ม Parliament Watch เพื่อจัดระเบียบข้อมูลนักการเมืองไทยให้ตรวจสอบได้ง่ายและรองรับหลายภาษา
• Kharil Yusof นำเสนอเรื่อง “ความร่วมมือระหว่างองค์กรในการกำหนดมาตรฐานข้อมูล PEPs” โดยแบ่งปันประสบการณ์ของ Sinar Project ประเทศมาเลเซีย ในการใช้มาตรฐานข้อมูลเดียวกันกับองค์กรภาคประชาสังคมในประเทศเมียนมา เพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ตรวจสอบความเชื่อมโยง และแสดงผลในรูปแบบกราฟเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ภายหลังการบรรยาย ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เข้าร่วมงานได้แสดงความคิดเห็น เช่น
• คุณ Ato ‘Lekinawa’ Costa มองว่างานศึกษานี้มีประโยชน์อย่างยิ่ง แต่ยังมีข้อจำกัดด้านภาษา เนื่องจากไม่ใช่ทุกคนสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้
• คุณกิตติเดช ฉันทังกูล สะท้อนว่า ฐานข้อมูล PEPs ในประเทศไทยเข้าถึงได้เฉพาะสถาบันการเงิน ทำให้ประชาชนทั่วไปและสื่อมวลชนตรวจสอบได้ยาก พร้อมเสนอให้เปิดกว้างมากขึ้น และควรพิจารณากฎหมายข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Act: PDPA) ควบคู่กัน รวมถึงเสนอให้รวมตำแหน่งในรัฐวิสาหกิจไว้ในนิยาม PEPs ด้วย
ก้าวต่อไปของ SEA-ACN จะเดินหน้าผลักดันการประสานมาตรฐานคำนิยาม PEPs ไปสู่ประเทศอื่นในภูมิภาคอาเซียน พร้อมทั้งเสริมสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการใช้ข้อมูลเปิดเพื่อป้องกันและต่อต้านการทุจริต โดยมีแผนจัดประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งถัดไป มุ่งเน้นประเด็น ความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐในภูมิภาคเอเชีย

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : เพจ KRAC Corruption:Cr;มณสิการ รามจันทร์ 

 

“วราวุธ” เผย พม.-พศ.-มส. ร่วม MOU เสริมพลังวัด พัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบาง 4 เม.ย. ที่วัดโพธิ์

0

พิมพ์ไทยออนไลน์//เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2568 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เปิดเผยว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) มีภารกิจสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง อาทิ เด็ก คนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส ซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงสภาพภูมิอากาศที่มีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จึงทำให้กระทรวง พม. ขับเคลื่อนนโยบาย 5×5 ฝ่าวิกฤตประชากร เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับประชากรวัยแรงงาน เด็กและเยาวชน ผู้สูงอายุ คนพิการ ครอบครัว และได้ขยายผลต่อยอดมาสู่การขับเคลื่อนพันธกิจสำคัญ (Flagship projects) 9 ด้าน โดยเฉพาะ ด้านที่ 5 สร้างหุ้นส่วนทางสังคมสู่สวัสดิการที่ยั่งยืน โดยมีเป้าหมายสูงสุด 2 ประการ คือ 1.มีระบบและกลไกการจัดสวัสดิการสังคมที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย และ 2.หุ้นส่วนทางสังคม (ภาคีเครือข่าย วัด มูลนิธิ องค์กรสาธารณประโยชน์) มีส่วนร่วมจัดสวัสดิการสังคมให้แก่ประชาชนกลุ่มเปราะบางอย่างเป็นระบบและมีมาตรฐาน ในวันที่ 4 เมษายน 2568 นี้ กระทรวง พม. จัดให้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ว่าด้วยการดำเนินงาน “โครงการเสริมพลังวัดพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบาง” ระหว่างกระทรวง พม. ฝ่ายสาธารณะสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคม (มส.) และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) ซึ่งเป็นการประสานความร่วมมือระหว่างกระทรวง พม. และศูนย์ประสานงานสาธารณสงเคราะห์ประจำจังหวัด และหน่วยงานภาคีเครือข่ายให้การสนับสนุนการจัดสวัสดิการสังคมที่สอดคล้องกับแนวทางงานสาธารณสงเคราะห์ ตามบริบทของพื้นที่ อีกทั้งส่งเสริมสนับสนุนให้คณะสงฆ์ เป็นกลไกสื่อสารเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความรู้ด้านการพัฒนาสังคมและสวัสดิการสังคม ให้ประชาชนและชุมชนมีความรู้ความเข้าใจ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน เพื่อสร้างสังคมคุณภาพที่มีความเข้มแข็งได้อย่างยั่งยืน

สำหรับกิจกรรมสำคัญที่จะดำเนินการในโครงการเสริมพลังวัดพัฒนาคุณภาพชีวิตเกาะกลุ่มเปราะบาง แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ 1. ระดับ A กลุ่มเปราะบางผ่านปัญหาได้ ประกอบด้วย มีพื้นที่ปลอดภัยให้พักพิง , แก้ปัญหาเฉพาะหน้า และปรับความคิดพัฒนาทักษะ 2. ระดับ B กลุ่มเปราะบางพึ่งตนเองได้ ประกอบด้วย การสร้างอาชีพ รายได้ และการออม , มีที่อยู่อาศัยมั่นคง และทักษะความคิดในการดำเนินชีวิตที่ปลอดภัย 3. ระดับ C กลุ่มเปราะบางช่วยคนอื่นได้ ประกอบด้วย มีความคิดเสียสละและแบ่งปันเพื่อส่วนรวมและจัดสรรทรัพยากรของตนเองเพื่อการแบ่งปันให้ส่วนรวม และ 4. ระดับ D การสื่อสารให้สังคมเห็นด้วยและร่วมมือ ประกอบด้วย มีชุดข้อมูลและความรู้ที่มีคุณภาพเหมาะสมกับสถานการณ์สังคมปัจจุบัน , มีช่องทางกลไกและกระบวนการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ และมีการสรุปบทเรียนความสำเร็จและสื่อสารให้สังคมเห็นด้วย และขยายความร่วมมือ#ข่าวพม #พม #ศรส #esshelpme #5×5ฝ่าวิกฤติประชากร #พมหนึ่งเดียว #วราวุธศิลปอาชา #ศบปภ #พันธกิจสำคัญ9ด้าน #ฝึกอาชีพ #วัด #กลุ่มเปราะบาง #คุณภาพชีวิต #วัดพระเชตุพน #วัดโพธิ์ :Cr;มณสิการ รามจันทร์ 

“วราวุธ” ย้ำ พม. พร้อมช่วยเหลือครอบครัวผู้ประสบภัยตึก สตง.ถล่มจากแผ่นดินไหว เปิดเต้นท์ ศรส. ที่หน้างาน พร้อม เปิดบ้านให้พักพิง มีสายด่วน 1300 ตลอด 24 ชม.

0

พิมพ์ไทยออนไลน์//เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2568 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เปิดเผยว่า ตั้งแต่เกิดเหตุตึก สตง.ถล่มจากแผ่นดินไหว กระทรวง พม. ได้จัดตั้งจุดอำนวยการผู้ประสบภัย โดยศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน (ศรส.) ที่บริเวณหน้าจุดเกิดเหตุตึกถล่ม มีทั้งเจ้าหน้าที่ พม. และทีมสหวิชาชีพ ประจำอยู่ที่หน้างาน และได้ทำการประสานกับทุกๆ จังหวัดที่เกี่ยวข้อง ให้กับพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ตึกถล่มในครั้งนี้

นายวราวุธ กล่าวว่า ต้องขอแสดงความเสียใจอย่างยิ่งไปยังทุกครอบครัวผู้ประสบภัย ปัจจุบันเราได้รับข้อมูลจากทุกๆ ฝ่าย ในการยืนยันว่าผู้ที่เสียชีวิตและผู้ที่สูญหายเป็นใครบ้าง และกระทรวง พม. ได้ส่งทีม พม.จังหวัด พร้อมด้วยสหวิชาชีพ ไปลงพื้นที่เยี่ยมบ้านแต่ละราย ซึ่งบางรายยังไม่พบตัว และบางรายได้รับการยืนยันว่าเสียชีวิตแล้ว ขอย้ำว่า ถ้าพี่น้องประชาชนมีปัญหา ต้องการความช่วยเหลือ หรือต้องการสอบถามเรื่องข้อมูลผู้ประสบภัยหรือเรื่องต่างๆ ขอให้ติดต่อมาที่ ศรส. กระทรวง พม. ผ่านสายด่วน พม. โทร. 1300 ตลอด 24 ชม.

รวมถึงหน้างานที่จุดเกิดเหตุ ซึ่งติดตามข่าวสาร และหากรู้สึกเคว้งคว้าง ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร หรือติดต่อใคร ถ้าหากเจอเจ้าหน้าที่ใส่เสื้อสีชมพู กระทรวง พม. สามารถเข้าไปพูดคุยสอบถามได้ตลอด แล้วเราจะช่วยเหลือท่านอีกหนึ่งแรง ที่จะประสานติดต่อกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และช่วยตามหาญาติพี่น้องของท่าน ถ้าครอบครัวญาติพี่น้องไม่มีที่พักพิงระหว่างติดตามหาญาติที่หน้างานจุดเกิดเหตุ ทางกระทรวง พม. ได้จัดเตรียมที่พักชั่วคราว คือ “ที่พักคนเดินทาง ดินแดง” พร้อมอาหารและน้ำดื่ม ซึ่งทุกท่านไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือชาวต่างชาติสามารถเข้ามาพักพิงได้#ข่าวพม #พม #ศรส #esshelpme #5×5ฝ่าวิกฤติประชากร #พมหนึ่งเดียว #วราวุธศิลปอาชา #ศบปภ #พันธกิจสำคัญ9ด้าน #แผ่นดินไหว #ตึกถล่ม :Cr;มณสิการ รามจันทร์ 

“วราวุธ” ส่ง ผช.รมต.-ปลัด พม. เยี่ยมศูนย์ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยตึก สตง.ถล่ม เปิด บ้านพักคนเดินทาง ดินแดง ให้พักพิงชั่วคราว ส่ง จนท.เร่งเยียวยาจิตใจทุกครอบครัว

0

พิมพ์ไทยออนไลน์//เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2568 นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) มอบหมายให้ นายธเนศพล ธนบุณยวัฒน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และ นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กับคณะผู้บริหารกระทรวง พม. ลงพื้นที่บริเวณที่เกิดเหตุอาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แห่งใหม่ พังถล่ม เขตจตุจักร เพื่อติดตามสถานการณ์และกำกับดูแลการให้ความช่วยเหลือของศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน (ศรส.) สำหรับพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบ

นายธเนศพล กล่าวว่า ตนและปลัด พม. ร่วมกันตรวจเยี่ยมพื้นที่จุดเกิดเหตุตึกถล่มและรับฟังรายงานสถานการณ์ปัจจุบัน ในวันนี้ครบ 72 ชั่วโมงแล้ว แต่เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบพื้นที่ยังไม่อนุญาตให้ใครเข้าไปในเขตพื้นที่เกิดเหตุเนื่องจากต้องเร่งรื้อถอนและค้นหา โดยเครื่องจักรหนัก กระทรวง พม. ได้มีจุดอำนวยการผู้ประสบภัยของกระทรวง พม. โดยศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน (ศรส.) มีการอัพเดทข้อมูลอย่างต่อเนื่องโดยเปิดทำการเวลา 08.30 – 17.00 น. ของทุกวัน ซึ่งมีพี่น้องประชาชนเข้ามาติดต่อประสานขอความช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ อาทิ ขอข้อมูลบุคคลสูญหาย และขอการสนับสนุนที่พักชั่วคราว รวมถึงมีนักสังคมสงเคราะห์และนักจิตวิทยาให้คำปรึกษาแนะนำในการเยียวยาสภาพจิตใจ เพื่อเป็นการผ่อนคลายสถานการณ์ สอบถามเรื่องสิทธิสวัสดิการสังคมต่างๆ ของกระทรวง พม. มีหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเข้ามาตั้งเต็นท์เป็นจำนวนมาก เพื่อระดมให้ความช่วยเหลือต่างๆ

จากสถานการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น ตั้งแต่วันที่ 28 มี.ค. 68 ที่ผ่านมา ทาง ศรส. กระทรวง พม. พร้อมทีมปฏิบัติการหน่วยเคลื่อนที่เร็ว ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติการที่จุดอำนวยการผู้ประสบภัยเพื่อรับเรื่องจากผู้ประสบภัยและคัดกรองเบื้องต้น กรณีญาติของผู้ประสบภัยเข้ามาติดต่อและแจ้งคนสูญหาย พร้อมทั้งพาไปจุดอำนวยการรับแจ้งคนสูญหาย และประสานส่งต่อเรื่องให้ ศรส.จังหวัดภูมิลำเนาของผู้สูญหาย ดำเนินการลงพื้นที่เยี่ยมครอบครัวเพื่อประเมินทางสังคมและให้ความช่วยเหลือในเรื่องสิทธิสวัสดิการต่างๆ ของกระทรวง พม. อีกทั้งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ร่วมกันให้ความช่วยเหลือต่างๆ พบว่า ขณะนี้ มีผู้สูญหาย 78 ราย ผู้เสียชีวิต 12 ราย (โดยเป็นคนไทย 7 ราย มีภูมิลำเนาในจังหวัดอุบลราชธานี ร้อยเอ็ด หนองคาย อุทัยธานี และ นครพนม ,  เป็นชาวต่างชาติ 2 ราย และยังไม่ทราบข้อมูล 2 ราย) อีกทั้งมีผู้บาดเจ็บ 33 ราย ซึ่งอยู่ระหว่างรักษาตัวในโรงพยาบาล

ทีม ศรส. กระทรวง พม. ได้ประสานช่วยเหลือญาติที่มาติดตาม ในเรื่องที่พักพิงชั่วคราวโดยได้พาไปยัง “ที่พักคนเดินทาง ดินแดง” เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน พร้อมให้บริการรับ-ส่ง อีกทั้งให้คำปรึกษาแนะนำในเรื่องการช่วยเหลือเป็นสิทธิสวัสดิการสังคมต่างๆ ของกระทรวง พม. อีกทั้งต้องขอขอบคุณผู้มาบริจาคสิ่งของ อาหาร ของใช้ ที่จุดอำนวยการผู้ประสบภัยของกระทรวง พม. ได้แก่ นมกล่อง , เครื่องดื่มชูกำลัง , ผ้าเย็น , น้ำผลไม้ และข้าวกล่อง สำหรับให้บริการเจ้าหน้าที่ พม. และประชาชนผู้มาติดต่อขอความช่วยเหลือ#ข่าวพม #พม #ศรส #esshelpme #5×5ฝ่าวิกฤติประชากร #พมหนึ่งเดียว #วราวุธศิลปอาชา #ศบปภ #พันธกิจสำคัญ9ด้าน #แผ่นดินไหว #ตึกถล่ม :Cr;มณสิการ รามจันทร์ 

“นิกร-ผู้ช่วย รมต.พม.-คณะทปษ.” หนุน ยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างอาชีพ กลุ่มเปราะบาง ในภาคอีสาน พ้นภัยพิบัติ

0

พิมพ์ไทยออนไลน์//เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2568 นายนิกร จำนง ประธานคณะที่ปรึกษาติดตามและเร่งรัดการขับเคลื่อนนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) พร้อมด้วยนายธเนศพล ธนบุณยวัฒน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวง พม. , ศ.ดร.กนก วงษ์ตระหง่าน รองประธานคณะที่ปรึกษาติดตามและเร่งรัดการขับเคลื่อนนโยบาย รมว.พม. พร้อมคณะที่ปรึกษา นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวง พม. และคณะผู้บริหาร ลงพื้นที่ติดตามการขับเคลื่อนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเป้าหมายในระดับพื้นที่ของหน่วยงานทีม พม. หนึ่งเดียว จังหวัดขอนแก่น พบปะให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและกลุ่มเป้าหมาย ที่ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวรัตนาภา จังหวัดขอนแก่น

จากนั้นตรวจเยี่ยมนิคมสร้างตนเองเขื่อนอุบลรัตน์ อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น มอบพันธุ์ไม้ให้กับสมาชิกนิคมฯ ที่ได้รับเอกสารสิทธิ์ที่ดิน นค. 1 , ชมสินค้าผลิตภัณฑ์และการสาธิตของกลุ่มอาชีพของสมาชิกนิคมฯ ได้แก่ กลุ่มตีมีด ต.ม่วงหวาน อ.น้ำพอง , กลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ บ้านหนองแต้และบ้านกุดเชียง ต.บ้านดง อ.อุบลรัตน์ , กลุ่มผ้าพิมพ์ลายใบไม้ ต.บ้านดง อ.อุบลรัตน์ , กลุ่มดงเห็ด ต.บ้านดง อ.อุบลรัตน์ และ กลุ่มจักสานหวดไม้ไผ่เงินล้าน ต.โคกสูง อ.อุบลรัตน์ อีกทั้ง เยี่ยมชมการพัฒนาคุณภาพชีวิตสมาชิกบ้านน้อยในนิคมฯ โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ แปลงผักสวนครัวแบบกางมุ้ง , บ้านเป็ด , บ้านไก่ และแปลงมะนาว นอกจากนี้ ได้มอบสิ่งของสำหรับการพัฒนาทักษะการใช้ชีวิตในสังคมให้แก่สมาชิกบ้านน้อยในนิคมฯ

นายนิกร กล่าวว่า กรณีหากเกิดภัยพิบัติ จะมีกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบโดยตรง โดยเฉพาะกลุ่มผู้ยากไร้ ผู้มีรายได้น้อย ที่กระทรวง พม. จะต้องจัดหาอาชีพ และฝึกอาชีพให้ ตอนนี้เราได้ตกลงกับกรมบัญชีกลางแล้วว่าเราจะสามารถสร้างงานได้ จึงได้เข้ามาดูว่าพื้นที่ที่จะสร้างงานและฝึกอาชีพเป็นอย่างไร ซึ่งตนพร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวง พม. ได้มาลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานที่ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวรัตนาภา จ.ขอนแก่น ซึ่งเป็นศูนย์กลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือในการฝึกอาชีพให้กับกลุ่มเปราะบาง โดยมีประชาชนกลุ่มเปราะบางเข้ารับการฝึกอบรมอาชีพต่างๆ จำนวน 500 – 600 คน และต้องติดตามว่าเมื่อฝึกอบรมอาชีพแล้วสามารถมีงานทำได้จริง ศูนย์ฯ ควรจะมีหลักสูตรสำหรับกลุ่มเปราะบางผู้ยากไร้ในกรณีที่เกิดภัยพิบัติ ซึ่งกระทรวง พม. ได้เตรียมงบประมาณสำหรับจัดอบรมเพื่อสร้างอาชีพ สำหรับกลุ่มเปราะบางที่เป็นผู้ยากไร้ที่ได้รับผลกระทบ

นายนิกร กล่าวว่า นอกจากนี้ วันนี้ ยังได้ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของนิคมสร้างตนเองเขื่อนอุบลรัตน์ ซึ่งสามารถสร้างอาชีพได้หลากหลายให้กับกลุ่มเปราะบาง โดยเฉพาะการจัดจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งทุกคนมีฝีมือในการทำผลผลิตต่างๆ แต่ที่สำคัญ คือ การตลาดก็ทำได้ดีเช่นกัน อย่างไรก็ตาม การสร้างอาชีพเป็นเรื่องที่สำคัญ การจะสร้างความมั่นคงของมนุษย์ แต่เรายังมีกลุ่มเปราะบาง เรายกระดับกลุ่มเปราะบางให้สามารถเลี้ยงดูตนเองได้#ข่าวพม #พม #ศรส #esshelpme #5×5ฝ่าวิกฤติประชากร #พมหนึ่งเดียว #วราวุธศิลปอาชา #ศบปภ #พันธกิจสำคัญ9ด้าน #แผ่นดินไหว:Cr;มณสิการ รามจันทร์ 

ข่าวดี! ส่งออก-นำเข้าไทย @ ก.พ. ปรับตัวสูงขึ้น… มี.ค. โตต่อ!

0

https://www.natethip.com/news.php?id=9816
Cr. : ต้นฉบับจาก สำนักข่าวเนตรทิพย์ ออนไลน์

(อ่านเพิ่มเติม : ลิ๊งค์เว็บไซต์-เนตรทิพย์ ออนไลน์-ด้านบน)