http://www.natethip.com/news.php?id=3028
Cr. : ต้นฉบับจาก สำนักข่าวเนตรทิพย์ ออนไลน์
(อ่านเพิ่มเติม : ลิ๊งค์เว็บไซต์-เนตรทิพย์ ออนไลน์-ด้านบน)
http://www.natethip.com/news.php?id=3028
Cr. : ต้นฉบับจาก สำนักข่าวเนตรทิพย์ ออนไลน์
(อ่านเพิ่มเติม : ลิ๊งค์เว็บไซต์-เนตรทิพย์ ออนไลน์-ด้านบน)
http://www.natethip.com/news.php?id=3027
Cr. : ต้นฉบับจาก สำนักข่าวเนตรทิพย์ ออนไลน์
(อ่านเพิ่มเติม : ลิ๊งค์เว็บไซต์-เนตรทิพย์ ออนไลน์-ด้านบน)
http://www.natethip.com/news.php?id=3026
Cr. : ต้นฉบับจาก สำนักข่าวเนตรทิพย์ ออนไลน์
(อ่านเพิ่มเติม : ลิ๊งค์เว็บไซต์-เนตรทิพย์ ออนไลน์-ด้านบน)
พิมพ์ไทยออนไลน์ // ศาลอุทธรณ์แก้ยกฟ้อง “อดีตเจ้าอาวาสวัดสามพระยา – ผู้ช่วย” ไม่ผิดฟอกเงิน 5 ล้าน งบโรงเรียนพระปริยัติธรรม ทั้ง 2 เตรียมห่มเหลือง
วันที่ 23 ก.ย. 63 ที่ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ถ.นครไชยศรี ศาลอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีหมายเลขดำ อท.196/2561 คดีฟอกเงินทุจริตจัดสรรงบประมาณสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ของวัดสามพระยา ที่พนักงานอัยการสำนักงานคดีปราบปราบการทุจริต 1 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายเอื้อน กลิ่นสาลี อดีตพระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธมฺโม) อดีตเจ้าอาวาสวัดสามพระยา, กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) และเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร กับนายสมทรง อรรถกฤษณ์ อดีตพระอรรถกิจโสภณ และเลขาเจ้าคณะกรุงเทพ เป็นจำเลยที่ 1-2 ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต เพื่อให้ความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานฯ, ร่วมกันฟอกเงินอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 กรณีร่วมกันฟอกเงิน จากการทุจริตจัดสรรเงินงบประมาณ พศ. ปี 2557 ให้กับวัดสามพระยา จำนวน 5 ล้านบาท ในงบส่วนอุดหนุนการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม ทั้งที่ไม่มีโรงเรียน เจ้าอาวาสวัดสามพระยา นำงบที่ได้มานั้นไปใช้ก่อสร้างอาคารร่มธรรมแทน ทั้งที่ไม่มีสิทธิได้รับเงินนั้นมาตั้งแต่แรก ซึ่งอัยการยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2561
ศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อวันที่ 16 พ.ค. 2562 ว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดต่างกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิด
ให้จำคุกจำเลยที่ 1 ฐานร่วมกันฟอกเงิน 2 กระทงๆ ละ 2 ปี ให้จำคุกนายเอื้อน หรืออดีตพระพรหมดิลก รวมจำคุก 6 ปี และนายสมทรง หรืออดีตพระอรรถกิจโสภณ จำเลยที่ 2 จำคุก 2 กระทงๆ ละ 1 ปี 6 เดือน รวมจำคุก 3 ปี
วันนี้จำเลยทั้งสอง มาศาล(ได้ประกันตัว) สวมชุดขาวมาศาล พร้อมมีกลุ่มพระสงฆ์และกลุ่มฆราวาสเพื่อให้กำลังใจจำเลย
ศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว จำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ เรื่องการขออนุมัติงบศึกษาพระปริยัติธรรมนั้น หาใช่เฉพาะวัดที่มีโรงเรียนศึกษาพระปริยัติธรรม แต่วัดสามพระยามีโรงเรียนสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล ย่อมมีสิทธิ์ในการใช้งบดังกล่าว จำเลยทั้งสองเป็นบุคคลภายนอกไม่เกี่ยวกับสำนักงาน พศ. ไม่มีหลักฐานว่าจำเลยทราบว่าเงินเกี่ยวกับการกระทำความผิด ในหนังสือระบุได้รับเงินเกี่ยวกับการบูรณะปฏิสังขรณ์ แสดงว่าจำเลยที่ 1 เข้าใจว่าเป็นงบบูรณะปฏิสังขรณ์ เมื่อได้รับงบ 5 ล้านบาทตามเช็คแล้ว จำเลยได้มอบอำนาจให้มีการถอนเงินจ่ายค่าก่อสร้างอาคารร่มธรรม วัดมีการก่อสร้างอาคารและโอนเงินชำระหนี้จริง โดยจำเลยจ่ายเงินให้ผู้ดูแลการก่อสร้าง เชื่อได้ว่าจำเลยในฐานะผู้ดูแลวัดได้นำเงินไปทำนุบำรุงวัด แม้วัดสามพระยาไม่มีโรงเรียนพระปริยัติธรรม และไม่ได้นำเงินไปใช้โดยตรง ก็ไม่ถือว่าเป็นการเปลี่ยนทรัพย์สินที่เป็นการกระทำความผิดมูลฐานฟอกเงิน ที่ศาลชั้นต้นพิพากษามานั้น ศาลอุทธรณ์ไม่เห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น อุทธรณ์ของจำเลยฟังขึ้น จำเลยทั้งสองไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ฟอกเงินฯ พิพากษาแก้เป็นยกฟ้อง
หลังพิพากษาแล้ว อดีตพระอรรถกิจโสภณ(นายสมทรง) จำเลยที่ 2 ถึงกับยกมือไหว้และร่ำไห้ด้วยความดีใจ
ด้านนาย อรรณพ บุญสว่าง ทนายความ ให้สัมภาษณ์ภายหลังศาลยกฟ้องว่า วันนี้ศาลได้มีคำพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากเห็นว่าจำเลยทั้งสองไม่ได้รู้เห็นเกี่ยวข้อง กลับการใช้เงินดังกล่าวเพื่อฟอกเงิน ซึ่งงบ ดังกล่าวทั้งวัดสามพระยาก็จัดให้มีการศึกษาในแผนกสามัญด้วย วัดสามพระยาจึงมีสิทธิรับงบประมาณนี้
ดังนั้นการใช้เงินใช้จ่ายในวัดสามพระยาไม่ได้เป็นการฟอกเงินจึงยกฟ้องจำเลยทั้งสอง ส่วนคดีจะขึ้นสู่ศาลฎีกาหรือไม่นั้นจะต้องรอให้อัยการโจทก์เป็นผู้พิจารณาตามข้อกฎหมาย
สำหรับเรื่องสมณเพศความจริงแล้วท่านทั้งสองก็ไม่ได้เปล่งวาจาสึกและยังรักษาดำรงพฤติการณ์เสมือนตอนเป็นพระอยู่ ซึ่งจริงๆแล้วท่านตั้งใจว่าหากศาลยกฟ้องจะเรียกร้องสิทธิในการเเสดงออกด้วยการห่มเหลือง
Cr.: นายทวีศักดิ์ ขินทัพ ผู้สื่อข่าวพิมพ์ไทยออนไลน์
พิมพ์ไทยออนไลน์//ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ SACICT โชว์ 50 ผลงานแฟชั่น
สุดสร้างสรรค์ ยกทัพนางแบบนายแบบ เปิดรันเวย์ชิงสุดยอดผลงานชนะเลิศ โครงการประกวดผลงานศิลปหัตถกรรมเชิงสร้างสรรค์ (SACICT AWARD 2020) “ผ้าไทยใส่ได้ทุก GEN” พร้อมเดินหน้าสู่
การยกระดับเสื้อผ้าแฟชั่นจากผ้าไทยที่มีความร่วมสมัย ตอบโจทย์ตรงใจทุกเจเนอเรชั่น และพัฒนา
ต่อยอดผลงานสู่อุตสาหกรรมแฟชั่นทั้งในและต่างประเทศเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2563 ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ SACICT ได้จัดงานประกาศผลและพิธีมอบรางวัล โครงการประกวดผลงานศิลปหัตถกรรมเชิงสร้างสรรค์ (SACICT AWARD 2020) ภายใต้หัวข้อ “ผ้าไทยใส่ได้ทุก GEN” โดยได้รับเกียรติจาก นายพรพล เอกอรรถพร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (SACICT) เป็นประธานในพิธี ซึ่งภายในงานได้นำ
50 ผลงานสุดสร้างสรรค์ที่ผ่านการคัดเลือก และได้รับการตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าที่สมบูรณ์แบบมาจัดแสดง
บนรันเวย์การประกวดในรอบชิงชนะเลิศ พร้อมแฟชั่นโชว์ผ้าไทยจากแบรนด์ชั้นนำ โดยศิลปินดาราชื่อดัง
อาทิ ณิชา-ณัฏฐณิชา ดังวัธนาวณิชย์, ตั๊ก-นภัสรัญชน์ มิตรธีรโรจน์, อ๊ะอาย-กรณิศ เล้าสุบินประเสริฐ และ
มินิคอนเสิร์ตจาก เบน-ชลาทิศ ตันติวุฒิ ณ อาคารศาลาพระมิ่งมงคล ชั้น 1 ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
นายพรพล เอกอรรถพร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (SACICT) เปิดเผยว่า จากการที่ SACICT ได้จัดโครงการประกวดผลงานศิลปหัตถกรรมเชิงสร้างสรรค์ (SACICT AWARD 2020)
โดยเปิดโอกาสให้บุคคลที่มีความสามารถได้นำเสนอแนวคิดการออกแบบสร้างสรรค์ประเภทแฟชั่นและ
เครื่องแต่งกาย ในหัวข้อ “ผ้าไทยใส่ได้ทุก GEN” โดยแบ่งการประกวดเป็น 5 ประเภท ได้แก่ 1.ประเภทชุด Finale 2.ประเภทชุด Baby Boomer 3.ประเภทชุด Generation X 4.ประเภทชุด Generation Y และ
5.ประเภทชุด Generation Z ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีมีผู้ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดถึง 293 ผลงาน และคณะกรรมการได้พิจารณาคัดเลือกผลงานจากภาพแบบร่าง (Sketch) ประเภทละ 10 ผลงาน รวมทั้งสิ้น50 ผลงาน ก่อนนำต่อหน้าคณะกรรมการด้วยรูปแบบของแฟชั่นโชว์ในการประกวดรอบชิงชนะเลิศโดยผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในแต่ละประเภทจะได้รับรางวัลเป็นเงินสด จำนวน 30,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ
สำหรับคณะกรรมการตัดสินการประกวด “การประกวดผ้าไทยใส่ได้ทุก GEN” ประกอบด้วย
นายพรพล เอกอรรถพร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (SACICT) ในฐานะประธานคณะกรรมการ พร้อมด้วย นายอดิศักดิ์ จันทร์วิทัน รองผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (SACICT), ดร.หญิงฤดี ภูมิศิริรัตนาวดี ผู้ก่อตั้งยุทธศาสตร์ทุนคนไทย (Thainess Capital),
รองศาสตราจารย์ (พิเศษ) ระพี ลีละสิริ ดีไซเนอร์และเจ้าของแบรนด์ระพี ลีลา, นายอธิษฐ์ ฐิรกิตติวัฒน์
ดีไซเนอร์และเจ้าของแบรนด์ Surface, อาร์ต-อารยา อินทรา สไตลิสต์และดีไซเนอร์ และนายเฉลิมเกียรติ คติเกษมเลิศ เจ้าของแบรนด์ Wonder Anatomie เสื้อผ้าแบรนด์ไทยที่ 4minute เกิร์ลกรุ๊ป จากประเทศเกาหลีใส่ถ่ายปกอัลบั้ม
นายพรพล กล่าวว่า ผลงานการออกแบบเสื้อผ้าแฟชั่นที่ผ่านเข้ารอบการประกวด “ผ้าไทยใส่ได้
ทุก GEN” ในรอบชิงชนะเลิศ จำนวน 50 ผลงาน สะท้อนให้เห็นถึงมุมมองของคนรุ่นใหม่ที่มีความคิดสร้างสรรค์ในการเลือกผ้าไทยชนิดต่างๆ มาใช้เป็นวัตถุดิบในการนำเสนอแนวคิดการออกแบบแฟชั่นและ
เครื่องแต่งกายให้มีความร่วมสมัย แต่ยังคงไว้ซึ่งความเป็นเอกลักษณ์ของผ้าไทย ด้วยการผสมผสานองค์ความรู้และภูมิปัญญาของผ้าไทยซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมให้เข้ากับทักษะการออกแบบแฟชั่นและเครื่องแต่งกาย
ได้อย่างสอดรับกับวิถีชีวิตของคนในปัจจุบัน โดยแต่ละผลงานเป็นงานที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ มีความโดดเด่น ประณีต สวยงาม มีความสอดคล้อง กลมกลืน มีความร่วมสมัยในมุมมองที่น่าสนใจ ตอบโจทย์ความต้องการได้อย่างแท้จริง และมีความเป็นไปได้ในการนำไปพัฒนาต่อยอดในเชิงพาณิชย์
สำหรับผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ทั้ง 5 ประเภท คือ ประเภทชุด Baby Boomer ได้แก่
ผลงานชุด “ยอดดอย (YOD DOI)” จากฝีมือการออกแบบของนายวารินทร์ อินทะยศ, ประเภทชุด Generation X ได้แก่ “PHI TA KHON” โดยนายไอสยา โอวาท, ประเภทชุด Generation Y ได้แก่ “ช่วงเวลาแห่งการพักผ่อน (HOLIDAY)” โดยนายนัทธพงศ์ คงรักษ์, ประเภทชุด Generation Z ได้แก่ “BIKER GIRL” โดย นางสาวสุทธิดา ทิพย์เนตร และนายขจรพงศ์ ชุมวงศ์ และ ประเภทชุด Finale ได้แก่ “ความเจิดจรัส (INCANDESCENCE) จากฝีมือการออกแบบของนายนัทธพงศ์ คงรักษ์
“ขอแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดทั้ง 5 ประเภท พร้อมทั้งขอชื่นชมทั้ง 50 ผลงานที่ได้ร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานออกมาอย่างสวยงามและมีเอกลักษณ์ รวมทั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านที่ได้ร่วมคัดเลือกและตัดสินผลงานในครั้งนี้ได้อย่างสมบูรณ์แบบที่สุด การประกวดในครั้งนี้จะเป็นก้าวแรกในการเชื่อมโยงนักออกแบบรุ่นใหม่กับผ้าไทยที่จะช่วยกระตุ้นและจุดประกายคนรุ่นใหม่ให้หยิบผ้าไทยมาผสมผสานไอเดียเป็นเสื้อผ้าหลากหลายสไตล์ และหันมาสวมใส่ผ้าไทยกันมากขึ้น และจะเป็นก้าวต่อไปที่แข็งแรงในการยกระดับเสื้อผ้าแฟชั่นจากผ้าไทยให้มีความร่วมสมัย สามารถสวมใส่ได้จริงในชีวิตประจำวันสำหรับคนทุกเจเนอเรชั่น และเมื่อการประกวดดำเนินการเสร็จสิ้น SACICT ได้เตรียมแผนการดำเนินงานที่เป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาและต่อยอดผลงานจากการประกวดในครั้งนี้สู่อุตสาหกรรมแฟชั่นทั้งในประเทศประเทศและระดับสากล เพื่อให้ผ้าไทยคงอยู่ต่อไปได้อย่างยั่งยืน” นายพรพล กล่าวในตอนท้าย :Cr;มณสิการ รามจันทร์
http://www.natethip.com/news.php?id=3025
Cr. : ต้นฉบับจาก สำนักข่าวเนตรทิพย์ ออนไลน์
(อ่านเพิ่มเติม : ลิ๊งค์เว็บไซต์-เนตรทิพย์ ออนไลน์-ด้านบน)
http://www.natethip.com/news.php?id=3024
Cr. : ต้นฉบับจาก สำนักข่าวเนตรทิพย์ ออนไลน์
(อ่านเพิ่มเติม : ลิ๊งค์เว็บไซต์-เนตรทิพย์ ออนไลน์-ด้านบน)
https://timeline.line.me/post/_dRwLP9ryDNNCNElq786ZFgDnUlb3FkZ4wdgFcto/1160081919810054752
Cr. : ต้นฉบับจาก สำนักข่าวเนตรทิพย์ ออนไลน์
(อ่านเพิ่มเติม : ลิ๊งค์เว็บไซต์-เนตรทิพย์ ออนไลน์-ด้านบน)
พิมพ์ไทยออนไลน์//อาคารเกษร เออร์เบิน รีสอร์ท – สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล แถลงผลงานสำคัญในรอบ 3 ปี ภายใต้แนวคิด “The Premier by depa” ชูความเป็นแถวหน้าด้านการส่งเสริมและพัฒนาประเทศด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลในทุกมิติ ทั้งภาคเศรษฐกิจ สังคม และความร่วมมือระดับนานาชาติ ผ่านผลสำเร็จจากกลไกส่งเสริมและสนับสนุนที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง พร้อมเผยแผนการดำเนินงานปี 2564 ในการเป็นองค์แถวหน้าที่ส่งเสริมและนำพาไทยสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างยั่งยืนดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เปิดเผยในงาน “The Premier by depa” งานแถลงผลการดำเนินงานสำคัญในรอบ 3 ปี ว่า ขณะนี้ ดีป้า กำลังเดินหน้าเข้าสู่ปีที่ 4 ซึ่งแผนการดำเนินงานจะยังคงให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและนำพาประเทศสู่เศรษฐกิจดิจิทัล ผ่านกลไกส่งเสริมและสนับสนุนที่ถูกพัฒนาขึ้น และคงความเป็นแถวหน้าที่พร้อมทำในสิ่งที่ผู้อื่นยังไม่ริเริ่มดำเนินการ
“ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ดีป้า ทำงานสอดประสานกันเป็น “ทีม” โดยมี Think Tank ที่ดำเนินการวิเคราะห์แผนระดับชาติถึงแผนส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล การเสนอกฎหมายที่เอื้อต่อระบบนิเวศด้านเศรษฐกิจดิจิทัล อีกทั้งกำหนดกลยุทธ์และกลไกสำคัญที่ส่งผลให้การดำเนินงานของ ดีป้า เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนากำลังคนสู่ยุคดิจิทัล การยกระดับภาคเศรษฐกิจสู่ดิจิทัลไทยแลนด์ การขับเคลื่อนชุมชนสู่สังคมดิจิทัล และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับนวัตกรรมดิจิทัล
พร้อมกันนี้ ดีป้า ยังให้ความสำคัญกับความร่วมมือกับเครือข่ายระดับนานาชาติ ซึ่งทั้งหมดอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของ ดร.กษิติธร ภูภราดัย รองผู้อำนวยการใหญ่ (กลุ่มยุทธศาสตร์และบริหาร)” ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าว
ทั้งนี้ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลจะต้องดำเนินการบนพื้นฐานของข้อมูล ดังนั้นสถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ (GBDi) หนึ่งในสถาบันภายใต้สังกัด ดีป้า จึงมีความสำคัญ ซึ่งขณะนี้ทีม Think Tank มีการจัดเก็บข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) อาทิ การสำรวจข้อมูลเพื่อประเมินสถานภาพอุตสาหกรรมดิจิทัล โดยจัดทำระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อแสดงผลข้อมูลสภาพรวมและแนวโน้มอุตสาหกรรมดิจิทัล การสำรวจความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัลรายไตรมาส และการสำรวจการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในอุตสาหกรรมการผลิต
นอกจากนี้ ดีป้า ยังให้ความสำคัญกับการสร้างความตระหนักรู้ด้านทักษะดิจิทัล กฎหมาย ความปลอดภัย ประโยชน์และโทษจากดิจิทัลสำหรับผู้สูงวัย ผู้พิการ เด็กและเยาวชน เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนากำลังคนสู่ยุคดิจิทัล
โดย ดีป้า มุ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนา “คน” สู่การเป็น “ทุนมนุษย์” (Human Capital) ของประเทศ โดยการส่งเสริมให้เยาวชนไทยเข้าถึงหลักสูตรต่าง ๆ พร้อมเพิ่มทักษะความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยี
ดิจิทัล (นิวสกิล) ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ด้าน Coding ได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์อย่าง codingthailand.org และส่งผ่านองค์ความรู้ในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) แก่นักศึกษาจบใหม่ ผู้ว่างงาน รวมถึงผู้ที่ต้องการอัพสกิล-รีสกิลตนเองสู่การเป็นกำลังคนดิจิทัล ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมของประเทศ อีกทั้งมีความพร้อมเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจดิจิทัลต่อไป
ขณะเดียวกันก็ไม่ลืมที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้ “ชุมชน” สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลไปแล้ว 177 ชุมชน โดยสามารถยกระดับภูมิปัญญาท้องถิ่นและสร้างรายได้ให้ชุมชนแล้วมากกว่า 137 ล้านบาท ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีด้านการเกษตรอัจฉริยะ เทคโนโลยีการผลิตและแปรรูป โดรนเพื่อการเกษตร แอปพลิเคชันสำหรับการบริหารจัดการธุรกิจให้กับวิสาหกิจชุมชน เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต และเทคโนโลยีเพื่อการท่องเที่ยว ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ด้านการขับเคลื่อนชุมชนสู่สังคมดิจิทัล โดยภารกิจต่าง ๆ มี ดร.รัฐศาสตร์ กรสูต รองผู้อำนวยการใหญ่ (กลุ่มสังคมและกำลังคนดิจิทัล) เป็นผู้ดำเนินการขณะที่ยุทธศาสตร์ด้านการยกระดับภาคเศรษฐกิจสู่ดิจิทัลไทยแลนด์ ดีป้า โดยสถาบันส่งเสริมวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น รับบทเป็น “ทีมลงทุนร่วมสร้าง” สร้างระบบนิเวศด้านเศรษฐกิจดิจิทัล พร้อมเปิดโอกาสให้ผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการดิจิทัลได้พบกัน อีกทั้งร่วมลงทุนและหาตลาดภาครัฐและภาคเอกชนสำหรับผู้ให้บริการ โดยที่ผ่านมา ดีป้า ได้ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนดิจิทัลสตาร์ทอัพสัญชาติไทยไปแล้ว 98 ราย สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจรวม 6,890 ล้านบาท พร้อมเดินหน้าผลักดันดิจิทัลสตาร์ทอัพไทยสู่ระดับสากล อีกทั้งเป็นกำลังสำคัญในการส่งเสริมดิจิทัลสตาร์ทอัพไทยเข้าสู่ระดับ Series A แล้ว 4 ราย และมีแผนที่จะสนับสนุนให้เกิด “ยูนิคอร์น” สัญชาติไทยให้ได้ในที่สุด
พร้อมกันนี้ ดีป้า ยังสร้างมาตรฐานที่ยั่งยืน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนผู้ใช้บริการ ทั้งผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ร้านค้า หาบเร่ แผงลอย ตลาดสด และเกษตรกร สามารถเปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่ยุคดิจิทัล (Digital Transformation) ด้วยกลไกต่าง ๆ ที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และสร้างรายได้อย่างยั่งยืน ผ่านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลไปแล้ว 6,407 ราย สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้สำหรับปีนี้ที่ 4,000 ราย ซึ่งดำเนินการโดย นายฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์ รองผู้อำนวยการใหญ่ (กลุ่มงานเศรษฐกิจดิจิทัล)
นอกจากนี้ ดีป้า ยังมีทีมโครงการพิเศษที่ดำเนินยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับนวัตกรรมดิจิทัล โดย ดร.ภาสกร ประถมบุตร รองผู้อำนวยการใหญ่ (กลุ่มงานโครงการพิเศษ) ที่เล็งเห็นว่า โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ อีกทั้งดึงดูดความสนใจจากนักลงทุนต่างชาติ ดังนั้น ดีป้า จึงเร่งยกระดับพื้นที่ที่มีความพร้อมจากทั่วประเทศสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ตามเกณฑ์ประเมินมาตรฐาน ผ่านความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ทั้งกระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพลังงาน และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภาคเอกชน รวมถึงการมีส่วนรวมของประชาชนในพื้นที่ในการวิเคราะห์และเฟ้นหาบริการที่เหมาะสมจากเครือข่ายดิจิทัลสตาร์ทอัพ ก่อนนำมาประยุกต์ใช้แก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุดและยั่งยืน โดยตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมามีการประกาศเขตส่งเสริม
เมืองอัจฉริยะแล้ว 40 เมือง และตั้งเป้าที่จะพัฒนาเมืองอัจฉริยะประเทศไทย จำนวน 100 เมืองภายในปี 2565ดีป้า โดยสถาบันไอโอทีและนวัตกรรมดิจิทัล ยังได้พัฒนา Thailand Digital Valley บนพื้นที่ 30 ไร่ในเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (Digital Park Thailand หรือ EECd) เพื่อเป็นศูนย์กลางการออกแบบ พัฒนา วิเคราะห์ ทดสอบ ทดลองเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลขั้นสูง ไม่ว่าจะเป็น IoT, Data Science, 5G Applications, Smart Devices, High Value-Added Software, Robotics, Cloud และ Digital Services อีกทั้งเป็นพื้นที่จับคู่ธุรกิจระหว่างบริษัทชั้นนำระดับโลกกับดิจิทัลสตาร์ทอัพ โดยเฉพาะเทคโนโลยีเป้าหมายใน 6 สาขา ประกอบด้วย เทคโนโลยีเพื่อการเงิน (FinTech) เทคโนโลยีเพื่อการเกษตร (AgTech) เทคโนโลยีเพื่อการท่องเที่ยว (Travel Tech) เทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ (Health Tech) เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (EdTech) และเทคโนโลยีเพื่อการบริการภาครัฐ (GovTech) ก่อนขยายตลาดเชิงพาณิชย์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
พร้อมกันนี้ ดีป้า ประสงค์ที่จะเปลี่ยนสังคมผู้บริโภคไปสู่สังคมผู้ใช้ให้เกิดประโยชน์ พร้อมผลักดันให้เกิดการสร้างนวัตกรรมร่วมกันทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา เพื่อขับเคลื่อนระบบนิเวศน์ด้านดิจิทัลอย่างเข้มแข็ง อีกทั้งเป็นแรงจูงใจและสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนและธุรกิจชั้นนำในอุตสาหกรรมดิจิทัล โดยมุ่งหวังให้ Thailand Digital Velley ก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลขั้นสูงของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN Digital Hub) ต่อไป
โดยภายใน Thailand Digital Valley ประกอบด้วย 5 อาคาร รวมพื้นที่ใช้สอยกว่า 86,000 ตารางเมตร ได้แก่ depa Digital One Stop Service Centre อาคารหลังแรกในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่สร้างแล้วเสร็จและมีการจองสิทธิ์เช่าโดยเอกชนเต็มพื้นที่แล้ว ขณะที่อาคารหลังที่สองคือ Digital Startup Knowledge Exchange Centre ที่ได้รับเกียรติจาก พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ ทรงเป็นองค์์ประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์์ สร้างแล้วเสร็จไปกว่า 50% และมีบริษัทเอกชน รวมถึงดิจิทัลสตาร์ทอัพจองสิทธิ์เช่าพื้นที่แล้วกว่า 25% นอกจากนี้ ยังมีอาคาร Digital Co-creation & Innovation Centre ที่อยู่ระหว่างเตรียมประกาศผู้รับจ้าง อาคาร Digital Edutainment Complex และอาคาร Digital Go Global Centre ซึ่งทั้งหมดจะก่อสร้างแล้วเสร็จภายในปี 2566
ปี 2564 ดีป้า พร้อมเดินหน้าผลักดันในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนผ่านมหาวิทยาลัยสู่ยุคดิจิทัล โดยการจัดตั้ง Drone University เพื่อพัฒนาคนให้รู้จักนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงการจัดตั้ง AI University โดยให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างทักษะ ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เพื่อผลิตบุคลากรตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรม การผลักดันเครื่องหมายรับรองผลิตภัณฑ์ดิจิทัลและไอโอทีในชื่อ dSURE การสร้างแพลตฟอร์มไทยเพื่อคนไทย (National Platform for All) การนำเทคโนโลยี 5G มาเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญสำหรับโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนา Tech Hunting รวมถึง Big Data พร้อมสานต่อการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนา Thailand Digital Valley
“ดีป้า จะคงความเป็นแถวหน้าด้านการส่งเสริมและพัฒนาประเทศด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ตามแนวคิด ‘Premier’ ที่พร้อมทำงานเชิงรุก เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนคิดเป็น ทำเป็น และทำได้ อีกทั้งเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างยั่งยืน” ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าว :Cr;มณสิการ รามจันทร์