https://www.natethip.com/news.php?id=8087
Cr. : ต้นฉบับจาก สำนักข่าวเนตรทิพย์ ออนไลน์
(อ่านเพิ่มเติม : ลิ๊งค์เว็บไซต์-เนตรทิพย์ ออนไลน์-ด้านบน)
https://www.natethip.com/news.php?id=8087
Cr. : ต้นฉบับจาก สำนักข่าวเนตรทิพย์ ออนไลน์
(อ่านเพิ่มเติม : ลิ๊งค์เว็บไซต์-เนตรทิพย์ ออนไลน์-ด้านบน)
พิมพ์ไทยออนไลน์//เมื่อวันที่ 15 มี.ค. 67 เวลา 09.00 น. นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการพัฒนาชุมชนริมคลองเปรมประชากร โดยล่องเรือตามแนวคลองเปรมประชากร เริ่มจากลงเรือที่ท่าเรือชั่วคราวใต้สะพานข้ามแยกบางซื่อ แล้วขึ้นที่ท่าเรือบริเวณชุมชนประชาร่วมใจ 1 (หลังวัดเสมียนนารี) เพื่อพบปะเยี่ยมเยียนชาวชุมชน พร้อมมอบเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็น และล่องเรือต่อไปยังท่าเรือ ปตท. จากนั้นเดินทางด้วยรถยนต์ไปตรวจเยี่ยม โครงการบ้านมั่นคงสหกรณ์เคหสถานบ้านมั่นคงชุมชนวัดรังสิต จำกัด (ระยะที่ 2) ตำบลหลักหก อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี โดยมี นายธเนศพล ธนบุณยวัฒน์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง พม. นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวง พม. นายกฤษดา สมประสงค์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ผู้อำนวยการเขตจตุจักร และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่
นายวราวุธ กล่าวว่า รัฐบาลได้มีแผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานระบบคลองและการพัฒนาชุมชนริมคลองเปรมประชากร พ.ศ. 2562 – 2570 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ ป้องกันน้ำท่วม และบำบัดน้ำเสียในคลองเปรมประชากรทั้งระบบ ความยาว 50.8 กิโลเมตร ซึ่งปัจจุบัน มีบ้านเรือนชุมชนปลูกสร้างรุกล้ำตลอดแนวคลอง ตั้งแต่เขตจตุจักร หลักสี่ และดอนเมือง ไปจนถึงจังหวัดปทุมธานี รวมทั้งหมด 38 ชุมชน 6,386 ครัวเรือน ส่งผลกระทบต่อการรับน้ำและระบายน้ำจากทางตอนเหนือของกรุงเทพฯ โดยมีแผนงานหลักระยะเร่งด่วน ปี 2562 – 2565 จำนวน 4 โครงการหลัก อาทิ การก่อสร้างเขื่อนระบายน้ำในคลองเปรมประชากรตลอดสาย ส่วนบ้านเรือนที่สร้างรุกล้ำลำคลอง อยู่บนที่ดินราชพัสดุ ส่วนใหญ่สภาพบ้านเรือนทรุดโทรม โดยรัฐบาลมอบหมายให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. ภายใต้การก่อสร้างบ้านมั่นคงชุมชนริมคลองเปรมประชากร ซึ่งได้ดำเนินการแล้ว 17 ชุมชน 1,699 ครัวเรือน โดยก่อสร้างบ้านแล้วเสร็จและชาวชุมชนสามารถเข้าอยู่อาศัยแล้ว 1,197 ครัวเรือน ส่วนชุมชนที่เหลืออยู่ระหว่างดำเนินการ ทั้งนี้ ชุมชนริมคลองเปรมประชากรทั้ง 38 ชุมชน สามารถอยู่อาศัยในชุมชนเดิมได้ทั้งหมด และสร้างบ้านใหม่ริมฝั่งคลอง เพื่อให้พ้นแนวคลองและแนวก่อสร้างเขื่อน อีกทั้งทำสัญญาเช่าที่ดินระยะยาว (30 ปี) กับกรมธนารักษ์ เพื่อเปลี่ยนสถานะจาก “ผู้บุกรุกเป็นเช่าที่ดินอยู่อาศัยอย่างถูกกฎหมาย”
นายวราวุธ กล่าวว่า วันนี้ มีการปรับปรุงพื้นที่และแก้ไขปัญหาเรื่องการรุกล้ำลำคลองเปรมประชากร ซึ่งเป็นหนึ่งในคลองหลักที่ต้องใช้ในการระบายน้ำ และการรักษาระบบนิเวศน์ จากการโยกย้ายพี่น้องประชาชนที่อาศัยรุกล้ำลำคลองกลับขึ้นไปอยู่สองฝั่งตลิ่งนั้น ทาง พอช. ได้ทำงานร่วมกันกับพี่น้องประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ มีการตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์เพื่อทำงานร่วมกัน มีการดูแลและพัฒนา ซึ่ง พอช. มีหน้าที่ในการหางบประมาณมาสนับสนุนพี่น้องประชาชนในการสร้างที่พักอาศัยใหม่ ที่สามารถเชิดหน้าชูตาของกรุงเทพมหานครได้ ชุมชนประชาร่วมใจ 1 เราได้เห็นความร่วมมือร่วมใจของพี่น้องประชาชนที่ช่วยกันรักษาความสะอาด รักษาชุมชนให้สวยสดงดงาม และพัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชน
นายวราวุธ กล่าวว่า อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 14 มี.ค. 67ที่ผ่านมามีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตั้งกระทู้ถามตนในสภาผู้แทนราษฎรเกี่ยวกับสถานการณ์ของผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน รวมถึงพี่น้องกลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้สูงอายุ คนพิการ ซึ่งเราได้มีการสนับสนุน การเยียวยาดูแลพี่น้องคนพิการ รวมถึงถ้าหากชุมชนใดที่มีพี่น้องคนพิการ ไม่มีรายได้ ไม่สามารถดูแลตัวเองได้นั้น ทาง พอช. จะมีงบประมาณในการสร้างบ้านกลางให้กับพี่น้องกลุ่มนี้ โดยที่ชุมชนต้องทำความตกลงกันที่จะช่วยกันดูแลค่าใช้จ่ายส่วนกลางต่างๆ ถือว่าเป็นการร่วมมือกันของชุมชน ทั้งภาครัฐและพี่น้องประชาชนในการสร้างสภาพแวดล้อมสังคมให้มีคุณภาพและน่าอยู่มากยิ่งขึ้น
นายวราวุธ กล่าวว่า ชุมชนประชาร่วมใจ 1 เป็นหนึ่งในชุมชนต้นแบบ ที่มีการวางแผนจะดำเนินการให้ตลอดทั้งสองฝั่งคลองเปรมประชากร รวม 38 ชุมชน ซึ่งแต่ละชุมชนจะมีความละเอียดอ่อน และมีปัญหาที่แตกต่างกันไป แต่เราเน้นย้ำในการทำงานร่วมกันของพี่น้องในชุมชน และหน่วยงานราชการ ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว ชุมชนจะเกิดได้ เงินส่วนหนึ่งจากหน่วยงานราชการ และอีกส่วนหนึ่งจากพี่น้องประชาชนที่เป็นการผ่อนชำระ แล้วมาช่วยกันเพื่อทำให้ชุมชนและสังคมของเรามีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และอีกหลายพื้นที่ที่ทาง พอช. กำลังดำเนินการเจรจากับพี่น้องประชาชนอยู่ โดยบางพื้นที่กำลังทำเรื่องขออนุญาตใช้ที่ดิน แต่ว่าท้ายที่สุดแล้วชุมชนต้นแบบเราจะขยายให้ครบทั้ง 38 ชุมชน ตลอดริมฝั่งคลองเปรมประชากร#ช่วย24ชั่วโมง #พม24ชม #ข่าวพม #esshelpme #วราวุธรับฟังทำจริง #พมพอใจให้ทุกวัยพึงพอใจในพม #พมหนึ่งเดียว #ศรส #พม #บ้านมั่นคง #คลองเปรมประชากร #พอช:Cr;มณสิการ รามจันทร์
พิมพ์ไทยออนไลน์//เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2567 เวลา 09.30 น. ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สะพานขาว กรุงเทพฯ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เปิดเผยภายหลังรับหนังสือร้องเรียนประเด็นสายการบินละเมิดสิทธิการเดินทาง และขอความร่วมมือ ร่วมแก้ไขปัญหาเพื่อให้ทุกคนมีสิทธิ์เดินทางที่เท่ากันอย่างแท้จริง จากนายกฤษณะ ละไล ผู้แทนภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนขนส่งมวลชนเพื่อคนทั้งมวลที่ระบุตามที่มีข่าว สายการบินไทยแห่งหนึ่ง ปฏิเสธการให้บริการแก่ผู้โดยสารที่มีความบกพร่องร่างกายนั่งวีลแชร์ โดยให้เหตุผลว่าเดินเองไม่ได้ นั้น ทำให้ตนมีความสะเทือนใจเป็นอย่างยิ่ง ยิ่งได้มีโอกาสทำงานกับพี่น้องคนพิการ ถึงแม้ว่าจะเข้ามาทำงานเพียง 6 เดือน แต่ว่าครอบครัวศิลปอาชา และในส่วนของพรรคชาติไทยพัฒนา ทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กับพี่น้องคนพิการมาตั้งแต่สมัยพ่อบรรหารยังอยู่ แล้วได้พยายามจะแก้ไขปัญหาจนวันนี้ที่พ่อบรรหารจากไป 8 ปีแล้ว ปัญหายังแก้ไม่หมด เมื่อตนมารับไม้ต่อ สถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่ไม่ควรจะเกิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน ที่ประเทศไทยของเราเป็นสังคมสูงอายุเรียบร้อยแล้วนั้น การที่เราจะต้องมีสาธารณูปโภคและสิ่งปลูกสร้าง หรือแม้แต่สิ่งอำนวยความสะดวกทั้งหลายให้กับทุกๆ คน ซึ่งนโยบายของรัฐบาลสำคัญที่สุดคือ ทำอะไรก็แล้วแต่ เราจะต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ใครในที่นี้ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลใด อายุใด เพศสภาพใด หรือแม้แต่สถานะใด สิ่งที่เกิดขึ้นนั้น ตนเร่งให้อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) นำเรื่องเข้าที่ประชุมคณะอนุกรรมการขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการโดยเร็ว อย่างไรก็ตาม แม่แจ่มใส ศิลปอาชา อายุ 90 ปีแล้ว เวลาไปไหน จำเป็นต้องมีรถเข็นเหมือนกัน สิ่งเหล่านี้ต้องบอกว่าไม่เกิดกับตัว ย่อมไม่รู้อย่างเด็ดขาด วันนี้เราเป็นคนปกติ เมื่อเกิดอุบัติเหตุ เราจะกลายเป็นคนพิการ ต้องอาศัยเครื่องมือต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อไหร่ เราไม่เคยรู้โดยเฉพาะอย่างยิ่งตนเคยมีโอกาสทดลองนั่งรถเข็น แล้วรู้เลยว่า แต่ละก้าวที่พี่ๆ คนพิการแต่ละคนออกมาจากบ้านในแต่ละวันนั้น คือการผจญภัย คือความเสี่ยงภัย คือความไม่รู้เลยว่า เราจะได้การตอบรับ จะได้รับการปฏิบัติเช่นใด
นายวราวุธ กล่าวว่า ต้องขอบคุณคุณกฤษนะ ละไล ต้องขอบคุณพี่ๆ ทุกๆ คนที่มา แล้วเราจะมาช่วยกัน ตนจะดำเนินการอย่างเต็มที่ภายใต้อำนาจของกระทรวง พม. นอกจากเรื่องเครื่องบินขนส่งมวลชนต่างๆ แล้ว ยังต้องรวมไปถึงสถานที่ต่างๆ การให้บริการต่างๆ ของภาครัฐ สถานที่ ทางลาด รวมถึงทางของพี่น้องคนตาบอดด้วยเช่นกัน เพราะท้ายที่สุดประเทศไทยนั้น นอกจากจะเป็นอิกไนต์ ไทยแลนด์ (Ignite Thailand) แล้ว ยังต้องเป็น Accessible Thailand ที่พี่น้องประชาชนทุกคนควรจะต้องสามารถไปได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวันนี้เราเป็นสังคมผู้สูงอายุ อีกไม่นานจะเต็มไปด้วยผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้เฒ่าผู้แก่ ที่จะต้องใช้รถเข็น ซึ่งวันนั้นที่ผมไปกับคุณกฤษณะ มีคุณพี่คนพิการคนหนึ่งบอกว่า ถ้ารถเข็นไปได้ คนตาบอดก็ไปได้ คุณกฤษณะได้เสริมอีกว่า ถ้ารถเข็นไปได้ คนตาบอดก็ไปได้ คนสูงอายุก็ไปได้ ถึงได้เป็นที่มาของคำว่า อารยสถาปัตย์ หรือ Universal Design เพราะฉะนั้นวันนี้ เราจะมาช่วยกัน ทำให้ประเทศไทยของเรานั้นเป็นสังคมที่น่าอยู่ ตอบการแก้ปัญหาสังคม ไม่ใช่เฉพาะแค่พี่น้องกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่จะทำให้สังคมของเราน่าอยู่ขึ้น พวกเราชาว พม. เรามี ปลัดกระทรวง พม. อธิบดี พก. และเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง พม. เราจะผลักดันเรื่องนี้อย่างเต็มที่ในทุกๆ มิติ เพราะว่างาน พม. จะทำให้สังคมน่าอยู่ได้นั้น ไม่ใช่ดูแลคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่เราต้องมาเสริมสร้างศักยภาพด้วยกัน#ข่าวพม #esshelpme #วราวุธรับฟังทำจริง #พมพอใจให้ทุกวัยพึงพอใจในพม #พม #รมวพม #คนพิการ #วราวุธศิลปอาชา:Cr;มณสิการ รามจันทร์
https://www.natethip.com/news.php?id=8086
Cr. : ต้นฉบับจาก สำนักข่าวเนตรทิพย์ ออนไลน์
(อ่านเพิ่มเติม : ลิ๊งค์เว็บไซต์-เนตรทิพย์ ออนไลน์-ด้านบน)
https://linevoom.line.me/post/_dRwLP9ryDNNCNElq786ZFgDnUlb3FkZ4wdgFcto/1171046280757529187
Cr. : ต้นฉบับจาก สำนักข่าวเนตรทิพย์ ออนไลน์
(อ่านเพิ่มเติม : ลิ๊งค์เว็บไซต์-เนตรทิพย์ ออนไลน์-ด้านบน)
พิมพ์ไทยออนไลน์//เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2567 เวลา 09.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เปิดเผยว่า เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม 2567 กระทรวง พม. ได้จัดทำ Workshop เกี่ยวกับเรื่องโครงสร้างประชากร ซึ่งต้องขอขอบพระคุณ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าว รวมทั้งรัฐมนตรีทุกๆกระทรวง เพราะเราได้รับความร่วมมือจากทุกกระทรวง เข้ามาร่วม Workshop
นายวราวุธ กล่าวว่ารวมทั้งได้รับเกียรติจากองค์กรระหว่างประเทศ ทั้ง UNDP , UNICEF , UN-Habitat ที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัย รวมถึง UNV เกี่ยวกับอาสาสมัครภายใต้โครงการของ UN ทั้ง ธนาคารโลก และองค์การอนามัยโลก จากที่ประชุมดังกล่าวได้มีการพูดคุยเสนอแนะแนวทางหลายอย่างเกี่ยวกับเรื่องโครงสร้างปัญหาประชากรที่เป็นระเบิดเวลาที่กำลังจะเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศไทยในอีกไม่ถึง 10 ปีข้างหน้านี้ และทางตัวแทนองค์กรระหว่างประเทศนั้น ได้มีการเสนอแนวทาง แนวคิด และได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการให้ความสำคัญกับอาสาสมัครในการทำงานทั้งในระดับประเทศ ระดับชุมชน หรือแม้แต่ออนไลน์ ซึ่งหลายประเทศนั้นได้มีการทำเช่นนี้ไปแล้ว หรือการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กให้มีมาตรฐาน สามารถรองรับเด็กให้มีอายุต่ำลงมาเพื่อที่จะช่วยแบ่งเบาภาระให้กับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่
นายวราวุธ กล่าวเพิ่มเติมว่า การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้สูงอายุ นอกจากจะเป็นวิกฤตของประเทศแล้ว ยังเป็นหน้าที่ที่ทุกภาคส่วนจะต้องเสริมศักยภาพของผู้สูงอายุให้มีพลังและมีกิจกรรมทำอยู่ตลอดเวลา รวมถึงการเชื่อมโยงเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ และให้ประชากรทั้งผู้สูงอายุและเด็กเล็กนั้น ได้มีการปรับตัว ซึ่งจากการทำ Workshop เมื่อวันที่ 7 มีนาคม ที่ผ่านมา ซึ่งภายในปลายเดือน มี.ค. หรือต้นเดือน เม.ย. ทางกระทรวง พม. จะทำเป็นรายงานสมุดปกขาวเสนอให้ความเห็นชอบโดยคณะรัฐมนตรี เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว เราจะนำไปเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมาธิการสหประชาชาติ ว่าด้วยประชากรโลกเพื่อให้เห็นว่าประเทศไทยได้มีแนวทางที่จะดำเนินการอย่างไร ซึ่งขั้นตอนต่อไป เป็นสิ่งที่หลายฝ่ายจับตามอง เพราะว่า เมื่อเราได้จัดทำรายงานสมุดปกขาวแล้ว จะมีการดำเนินการอย่างไรต่อไป คงจะต้องเป็นการดำเนินการใน ครม. ที่ทุกๆ กระทรวงนั้น จะมีแนวทางแปลงออกมาเป็นภาคปฏิบัติ เป็นแผนปฏิบัติการต่อไป#ช่วย24ชั่วโมง #พม24ชม #ข่าวพม #esshelpme #วราวุธรับฟังทำจริง #พมพอใจให้ทุกวัยพึงพอใจในพม #พมหนึ่งเดียว #ศรส #พม #โครงสร้างประชากร:Cr;มณสิการ รามจันทร์
พิมพ์ไทยออนไลน์//เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2567 เวลา 09.30 น. นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เป็นประธานแถลงข่าวเปิด “โครงการบริบาลและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในชุมชน” เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการบริบาลและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ และพัฒนาศักยภาพผู้บริบาลคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในชุมชน พร้อมสร้างกลไกการดูแลผู้สูงอายุครอบคลุมทุกมิติในระดับพื้นที่ โดยมี นายธเนศพล ธนบุณยวัฒน์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ศาสตราจารย์ ดร. นายกนก วงษ์ตระหง่าน รองประธานคณะที่ปรึกษาติดตามและเร่งรัดการขับเคลื่อนนโยบาย รมว.พม. พร้อมด้วย นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และผู้บริหารกระทรวง พม. เข้าร่วมงาน ณ ห้องประชุมปกรณ์ อังศุสิงห์ ชั้น 2 อาคารกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวง พม. สะพานขาว กรุงเทพฯ
นายวราวุธ กล่าวว่า ประเทศไทยกำลังเผชิญกับภาวะวิกฤตของโครงสร้างประชากร โดยสัดส่วนประชากรวัยสูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องสวนทางกับอัตราการเกิดใหม่ของประชากรวัยเด็กและประชากรวัยแรงงานที่มีจำนวนลดลง โดยในปี 2566 พบว่า ประเทศไทย เข้าสู่การเป็นสังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ ซึ่งมีจำนวนผู้สูงอายุมากถึง 13 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 20.08 ของประชากรทั้งหมด ในขณะที่เด็กเกิดใหม่มีเพียง 5.18 แสนคน ส่งผลกระทบต่ออนาคตของประเทศในการเผชิญกับปัญหาภาวะพึ่งพิงของผู้สูงอายุ รวมถึงปัญหาผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง ขาดผู้ดูแล ทั้งนี้ กระทรวง พม. ได้เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ด้วยการสร้างระบบ กลไก และโครงสร้างพื้นฐานในการดูแลและคุ้มครองผู้สูงอายุในชุมชนท้องถิ่น โดยเป้าหมายสำคัญมุ่งหวังให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขที่บ้านของตนเอง (Ageing in Place) ซึ่งครอบครัวเป็นกลไกสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุ รวมถึงชุมชนท้องถิ่น อาทิ รพ.สต. อปท. อาสาสมัคร ชมรมผู้สูงอายุ เข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมสนับสนุนและการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ผ่านกระบวนการปฏิบัติงานของผู้บริบาลคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในการทำหน้าที่ช่วยเหลือ ดูแล คุ้มครองพิทักษ์สิทธิ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุครอบคลุมในทุกมิติที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ
นายวราวุธ กล่าวต่อไปว่า ในปี 2567 กระทรวง พม. ได้ดำเนินการโครงการบริบาลและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในชุมชน โดยมีเป้าหมายการดำเนินงาน จำนวน 19 พื้นที่ 12 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ พิษณุโลก สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา นครปฐม ลพบุรี สิงห์บุรี สกลนคร อุบลราชธานี สงขลา และปัตตานี มีผู้บริบาลคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ จำนวน 35 คน ขณะนี้อยู่ระหว่างฝึกอบรมหลักสูตรผู้บริบาลคุ้มครองสิทธิ จำนวน 240 ชั่วโมง โดยมุ่งหวังให้ผู้บริบาลคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุกลุ่มนี้ จะเป็นกลไกสำคัญในการปกป้องคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนท้องถิ่นของตนเอง จำนวนทั้งสิ้น 73,642 คน ซึ่งเป็นผู้สูงอายุทั้งหมดในพื้นที่นำร่อง และในปี 2568 ได้มีแผนขยายผลโครงการฯ จำนวน 3,886 พื้นที่ ใน 76 จังหวัดทั่วประเทศ และจะมีการสร้างผู้บริบาลคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ จำนวน 7,772 คน ซึ่งจะมีผู้สูงอายุในพื้นที่ได้รับการดูแลและคุ้มครองทางสังคมจำนวนทั้งสิ้น 6,174,854 คน โดยระยะยาว 4 ปี ตั้งเป้าผลักดันให้เกิดระบบการคุ้มครองผู้สูงอายุด้วยผู้บริบาลคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุครอบคลุมให้ทั่วทุกพื้นที่ จำนวน 75,032 พื้นที่ 76 จังหวัดทั่วประเทศ โดยมีผู้บริบาลคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ จำนวน 150,064 คน ซึ่งจะมีผู้สูงอายุในพื้นที่ได้รับการดูแลและคุ้มครอง จำนวนทั้งสิ้น 15,900,000 คน
นายวราวุธ กล่าวเพิ่มเติมว่า วันนี้กระทรวง พม. โดยกรมกิจการผู้สูงอายุ (ผส.) มีความยินดีที่จะเปิดตัวโครงการบริบาลและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในชุมชน ซึ่งวันนี้เราได้รับความร่วมมือจากพี่น้องทั่วประเทศ ทั้งภาคเหนือ กลาง อีสาน และใต้ เข้ามาเป็นเจ้าหน้าที่ในการบริบาลและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ วันนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่เราทำงานในหลายจังหวัด ในการที่จะมีเจ้าหน้าที่เข้าไปในแต่ละชุมชนเพื่อดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งทุกวันนี้ประเทศไทยของเราเป็นสังคมสูงอายุเต็มรูปแบบเรียบร้อยแล้ว และในอนาคตปริมาณผู้สูงอายุในประเทศไทยก็จะเพิ่มมากขึ้นทุกปี ดังนั้นการที่ทุกฝ่ายจะต้องหันกลับมาให้ความสำคัญกับการดูแลผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านร่างกายและจิตใจ มิติทางด้านสังคม ด้านที่พักอาศัย รวมไปถึงเรื่องเทคโนโลยีต่างๆให้กับผู้สูงอายุ เป็นเรื่องที่สำคัญ ซึ่งเจ้าหน้าที่ของเราในวันนี้ ได้รับการฝึกอบรมและจะนำสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ไปขยายต่อในการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งทั้งหมดที่เราทำในวันนี้จะเป็นกลไกสำคัญในการที่จะแก้ไขปัญหาโครงสร้างประชากรที่กระทรวง พม. ได้ทำ Workshop ไปเมื่อวันที่ 7 มีนาคมที่ผ่านมา โดยมิติการดูแลผู้สูงอายุนั้น เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะทำให้แบ่งเบาภาระของคนรุ่นใหม่ ที่มีความกังวลว่าคุณพ่อ คุณแม่ หรือผู้สูงอายุในครอบครัวนั้น ใครจะเป็นผู้ดูแล และถ้าหากว่าจะต้องเลือกระหว่างการมีบุตรและการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในครอบครัวนั้น คนรุ่นใหม่ในวันนี้เลือกที่จะดูแลผู้สูงอายุก่อน ดังนั้น การที่กระทรวง พม. ได้เริ่มโครงการนี้ จะเป็นกลไกสำคัญที่แบ่งเบาภาระและสร้างความมั่นใจให้กับคนรุ่นใหม่ในการที่จะมีครอบครัวและมีบุตรต่อไปในอนาคต และเป็นการแก้ไขปัญหาโครงสร้างประชากรที่ประเทศไทยกำลังจะประเชิญในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้
ด้านสถานการณ์ผู้สูงอายุในไทย ขณะนี้เรามีผู้สูงอายุอยู่ประมาณ 13 ล้านคน คาดว่าอีกประมาณ 4-5 ปี จากนี้ไป ประเทศไทยจะมีแนวโน้มผู้สูงอายุเพิ่มเป็นประมาณ 15-17 ล้านคน แต่ไม่เกิน 10 ปี นี้เราจะมีผู้สูงอายุเกือบ 20 ล้านคน ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นสังคมสูงอายุขั้นสุดยอดเหมือนกับที่ประเทศญี่ปุ่น และการที่เราเป็นสังคมผู้สูงอายุขั้นสุดยอดนั้น จะก่อสร้างภาระให้กับคนวัยทำงานอย่างมหาศาล เพราะว่าอัตราส่วนในการแบกรับผู้สูงอายุจะกลายเป็นคนทำงานเพียงแค่สองคนต่อผู้สูงอายุหนึ่งคนเท่านั้น ดังนั้น การดูแลให้ผู้สูงอายุให้มีสุขภาพทั้งกายและใจที่สมบูรณ์และแข็งแรง ก็จะเป็นการแบ่งเบาภาระทางด้านงบประมาณ ด้านสาธารณสุข และบุคลากรทางสาธารณสุข และในทางเดียวกันนั้นก็ยังสามารถเพิ่มผลผลิต สร้างศักยภาพให้ผู้สูงอายุนั้นเป็นกลไกสำคัญในการที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับรากหญ้าขึ้นมา
สำหรับเจ้าหน้าที่ตอนนี้จุดเริ่มต้นโครงการ มีอยู่ 36 คน กระจายกันอยู่ทั่วแต่ละจังหวัดในประเทศไทย แต่ยังไม่ครบทุกจังหวัด เนื่องจากเพิ่งเป็นการเริ่มต้นโครงการ แต่เป้าหมายของเรานั้นจะต้องมีให้ครบทั้ง 76 จังหวัด ให้ครบทุกอำเภอ และแต่ละอำเภอนั้นอย่างต่ำก็จะมีเจ้าหน้าที่ 2,000-4,000 คน ฉะนั้น เจ้าหน้าที่ของเรานั้นจะเพิ่มปริมาณขึ้นไปเรื่อยๆ จนกระทั่งปีหน้านั้น อาจจะมีถึง 6,000 คน แต่ท้ายที่สุดแล้ว ต้องประมาณกว่า 10,000 คน ที่จะต้องดูแลผู้สูงอายุทั่วประเทศ และเจ้าหน้าที่ของเราก็มีหน้าที่ในการเข้าไปตรวจเยี่ยมให้ความรู้และขยายผลต่อไป
นายวราวุธ กล่าวเพิ่มเติมว่า ทั้งนี้ กระทรวง พม. จะมีเจ้าหน้าที่ พมจ. ในทุกจังหวัด ประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย ในการดูแลคุณภาพชีวิตของกลุ่มผู้สูงอายุ และที่สำคัญโครงการนี้ จะเป็นกลไกสำคัญและเป็นจุดเริ่มต้นในการแก้ไขปัญหาโครงสร้างประชากรที่ตนได้พูดไว้ สำหรับประชาชนที่สนใจเข้ามาเป็นเครือข่ายนักบริบาลผู้สูงอายุ สามารถติดต่อได้ที่กรมกิจการผู้สูงอายุ (ผส.) โดยมีค่าตอบแทนอยู่ที่ 10,000 บาทต่อเดือน ซึ่งเราอยากจะแสดงให้เห็นว่าการดูแลผู้สูงอายุนั้นสามารถทำเป็นอาชีพเลี้ยงดูครอบครัวได้ แต่จำเป็นต้องผ่านการฝึกอบรม 240 ชั่วโมง จะมีการสอนทั้ง 5 มิติ เมื่อมีภาคทฤษฎีแล้ว ต้องมีภาคปฏิบัติด้วยเช่นกัน#ช่วย24ชั่วโมง #พม24ชม #ข่าวพม #esshelpme #วราวุธรับฟังทำจริง #พมพอใจให้ทุกวัยพึงพอใจในพม #พมหนึ่งเดียว #ศรส #พม #แถลงข่าว #บริบาลและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในชุมชน #การดูแลผู้สูงอายุ:Cr;มณสิการ รามจันทร์
พิมพ์ไทยออนไลน์//วันที่ 13 มีนาคม 2567 เวลา 10.30 น. นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เป็นประธานรับมอบข้าวสารถุง จำนวน 7,200 กิโลกรัม จากบริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) โดย คุณอัศวิน – คุณฐาปณี เตชะเจริญวิกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) เพื่อมอบให้ศูนย์ สถาน บ้าน นิคม ในสังกัดกระทรวง พม. ในการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคม ณ บริเวณโถงชั้น 1 กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวง พม. สะพานขาว กรุงเทพฯ
นายวราวุธ กล่าวว่า ตนในนามของกระทรวง พม. ขอขอบคุณคณะผู้บริหาร บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทผู้ผลิตข้าวสารถุง ที่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุน ส่งเสริมคุณภาพชีวิต และบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนกลุ่มเปราะบาง โดยการมอบข้าวสารถุง จำนวน 7,200 กิโลกรัม ให้แก่กระทรวง พม. เพื่อส่งต่อไปยังกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เด็กเยาวชน คนพิการ ผู้สูงอายุ คนไร้ที่พึ่ง กลุ่มเปราะบาง และผู้ประสบปัญหาทางสังคม ทั้งนี้ ขอให้ทุกท่านมั่นใจว่าข้าวสารที่ได้รับบริจาคในวันนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริง และกระทรวง พม. จะเร่งจัดส่งข้าวสารดังกล่าวให้แก่กลุ่มเป้าหมายที่มีความต้องการ ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคต่อไป
คุณฐาปณี กล่าวเพิ่มเติมว่า ในนามของบริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) มีความยินดีที่ได้มาร่วมบริจาคข้าวสารถุง จำนวน 7,200 กิโลกรัม ในวันนี้ เพื่อร่วมถวายพระราชกุศลและเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 สำหรับการบริจาคข้าวสารเกิดจากความร่วมมือที่สำคัญ ภายใต้การจัดงาน “ข้าวถุงร่วมใจ ประหยัดทั่วไทย ที่บิ๊กซี ครั้งที่ 16” โดยบิ๊กซีได้ร่วมกับคู่ค้าผู้ผลิตข้าวถุงทั้ง 16 ราย 20 แบรนด์ ร่วมบริจาคข้าวสาร จำนวน 16 ตัน ให้แก่มูลนิธิ บีเจซี บิ๊กซี เพื่อนำไปส่งมอบให้กับชุมชน สถานสงเคราะห์ และสถานศึกษา
ทั้งนี้ บิ๊กซี ยินดีและพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับภาครัฐและภาคเอกชนอย่างเต็มความสามารถ เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการให้ความช่วยเหลือสังคมอย่างรอบด้าน ทั้งด้านการศึกษา ด้านสาธารณสุข ด้านการสร้างอาชีพ ส่งเสริมผู้ด้อยโอกาส พัฒนาคุณภาพชีวิต และช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยเมื่อยามวิกฤต และหวังว่าการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีจะช่วยแก้ไขปัญหาและพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืนต่อไป#ช่วย24ชั่วโมง #พม24ชม #ข่าวพม #esshelpme #วราวุธรับฟังทำจริง #พมพอใจให้ทุกวัยพึงพอใจในพม #พมหนึ่งเดียว #ศรส #พม #รับมอบข้าวสาร:Cr;มณสิการ รามจันทร์
พิมพ์ไทยออนไลน์//ศึกบีเอ็มเอ็กซ์ชิงแชมป์ประเทศไทยฯ สนามที่ 3 และรายการนานาชาติ “ไทยแลนด์ บีเอ็มเอ็กซ์ คัพ 2” ที่สนามเขาขยาย จ.ชัยนาท วันที่ 16-17 มี.ค. มีนักปั่นทั้งไทยและต่างชาติรวมทั้งผู้ติดตามมุ่งหน้าสู่จังหวัดชัยนามกว่า 2,000 คน ส่งผลให้โรงแรมที่พักเต็มทุกแห่ง ร้านค้า ร้านอาหารมีผู้จับจ่ายใช้สอนมากกว่าปกติ เศรษฐกิจดีขึ้นมีเงินหมุนเวียนมหาศาล และการท่องเที่ยวมีความคึกคัก ขณะที่นักปั่นชาวฮ่องกงมุ่งมั่นฝึกซ้อมอย่างหนักท่ามกลางสภาพอากาศที่ร้อนระอุ เจ้าตัวเผยต้องการคว้าชัยชนะและเก็บแต้มโอลิมปิกเกมส์ 2024 ให้ได้
“เสธ.หมึก” พลเอกเดชา เหมกระศรี ประธานสหพันธ์จักรยานแห่งอาเซียน (เอซีเอฟ) และนายกสมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การแข่งขันจักรยานบีเอ็มเอ็กซ์ชิงแชมป์ประเทศไทย ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราช กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2567 สนามที่ 3 และแข่งขันจักรยานบีเอ็มเอ็กซ์นานาชาติรายการ “ไทยแลนด์ บีเอ็มเอ็กซ์ คัพ 2” แข่งระดับ C1 เก็บคะแนนสะสมโอลิปิกเกมส์ 2024 ระหว่างวันที่ 16-17 มีนาคม ที่สนามบีเอ็มเอ็กซ์เขาขยาย ล่าสุด มีนักปั่นสมัครเข้าแข่งขันทั้ง 2 รายการกว่า 300 คนไม่รวมผู้ติดตาม และนักปั่นจากชาติต่าง ๆ ได้แก่ เกาหลีใต้, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, ออสเตรเลีย, ฮ่องกง พร้อมทีมงานอีกเกือบ 100 คน แข่งขันเพื่อเก็บคะแนนสะสมคัดเลือกโอลิมปิกเกมส์ช่วงโค้งสุดท้าย ทำให้บรรยากาศของจังหวัดชัยนาทมีความคึกคัก
พลเอกเดชา กล่าวว่า การที่มีนักปั่นและผู้ติดตามไปยังจังหวัดชัยนาทเกือบ 2,000 คน ทำให้โรงแรมเต็มหมดทุกแห่ง ร้านอาหาร ร้านสินค้า OTOP ขายของดีกว่าเดิม เศรษฐกิจดีมีเงินหมุนเวียนมหาศาล รวมทั้งแหล่งท่องเที่ยวก็มีความคึกคัก โดยเฉพาะสวนนกชัยนาท ที่อยู่ในความดูแลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยนาท โดยนายอนุสรณ์ นาคาศัย นายก อบจ.ชัยนาท เตรียมแจกบัตรฟรีเข้าชมสวนนกชัยนาทให้นักปั่น 200 คนแรกที่สมัครผ่านระบบออนไลน์ของสมาคมกีฬาจักรยานฯ นอกจากนี้แหล่งที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกมากมาย เช่น วัดปฐมเทศนาอรัญวาสี ซึ่งวัดอยู่บนยอดเขาพลอง สามารถมองเห็นทิวทัศน์ตัวเมืองชัยนาทได้อย่างชัดเจน หรือไปกราบสักการะสรีระของหลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม เกจิอาจารย์ชื่อดังที่คนชัยนาทเคารพนับถือ และแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ อีกมากมาย
ด้าน ยู ฮอน เฉิง นักปั่นชาวฮ่องกง ซึ่งมาฝึกซ้อมที่สนามบีเอ็มเอ็กซ์เขาขยาย ท่ามกลางสภาพาอากาศร้อนกว่า 37 องศาเซลเซียส กล่าวว่า ตนตั้งใจจะคว้าชัยชนะการแข่งขันครั้งนี้ให้ได้ หรืออย่างน้อยต้องติดอันดับ 1-3 ฝึกซ้อมอย่างหนักแม้สภาพาอากาศที่ไทยจะร้อนระอุ แต่ไม่ท้อถอย สำหรับสภาพสนามแข่งขันเป็นดินที่ค่อนข้างร่วนต้องใช้ความระมัดระวังพอสมควร แต่โดยรวมถือว่าเป็นสนามที่ดี และมีความท้าทายอย่างมาก ส่วนอาหารไทยที่ชอบรับประทานคือผัดไทย กับข้าวเหนียวมะม่วง
ผู้ที่สนใจติดตามชมได้ที่ เฟซบุ๊กไลฟ์ Thaicycling Association และ Thai Sport Plus / YouTube : TCA Chanal ตลอดการแข่งขันทั้ง 2 วัน
นายกสองล้อไทย เปิดเผยอีกว่า จากการที่คณะกรรมการโอลิมปิกสากล หรือ ไอโอซี มีมติให้การแข่งขันมหกรรมกีฬาโอลิมปิกเกมส์เยาวชน ครั้งที่ 4 หรือ ยูธโอลิปิกเกมส์ 2026 ที่กรุงดาการ์ เซเนกัล เป็นเจ้าภาพระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม – 13 พฤศจิกายน 2569 หลังจากที่ต้องเลื่อนมาจากกำหนดเดิมในปี 2022 จากปัญหาการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ทั่วโลก ทำให้สมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทยฯ ต้องเร่งวางแผนงานเพื่อเตรียมการนักปั่นไทยรุ่นเยาวชนและเยาวชนรองรับทั้งการคัดเลือกและการแข่งขันอีก 2 ปีข้างหน้า
พลเอกเดชา กล่าวอีกว่า จากการหารือของฝ่ายเทคนิคและตรวจสอบไปยังสหพันธ์จักรยานนานาชาติ (ยูซีไอ) ปรากฏว่ายูซีไอไม่ประกาศรูปแบบการแข่งขัน ตลอดจนระบบการคัดเลือก อย่างไรก็ตาม รูปแบบการแข่งขันน่าจะยังคงใช้ระบบเดิมในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเยาวชน ครั้งที่ 3 ที่กรุงบูเอโนสไอเรส อาร์เจนตินา เมื่อปี 2018 ซึ่งจะมีชิงชัย 4 เหรียญทอง เป็นรายการประเภททีมทั้งสิ้น ประกอบด้วยทีมผสมชาย (นักกีฬาชาย 2 คน แข่งขันรายการโรดเรซ / ไครทีเรียม / ทีมไทม์ไทรอัล / เมาเท่นไบค์ครอสคันทรี่ และ ครอสคันทรี่ อีลิมิเนเตอร์), ทีมผสมหญิง (นักกีฬาหญิง 2 คน แข่งขันรายการโรดเรซ / ไครทีเรียม / ทีมไทม์ไทรอัล / เมาเท่นไบค์ครอสคันทรี่ และ ครอสคันทรี่ อีลิมิเนเตอร์), ทีมผสมบีเอ็มเอ็กซ์เรซซิง (นักกีฬาหญิง 1 คน ชาย 1 คนแข่งขันรวมคะแนน) และทีมผสมบีเอ็มเอ็กซ์ฟรีสไตล์พาร์ค (นักกีฬาหญิง 1 คน ชาย 1 คนแข่งขันรวมคะแนน)
“ในโอลิมปิกเกมส์เยาวชนไทยเราควอลิฟายมาแล้วสองครั้ง โดยครั้งที่ 1 ที่สิงคโปร์ นักกีฬาประกอบด้วย ส.ท.สราวุฒ สิริรณชัย, นายสัจจกุล เสียงล้ำ, นายจักรเพชร วิชนา และ น.ส.ศิริลักษณ์ วาระเพียง อีกครั้งคือโอลิมปิกเกมส์เยาวชน ครั้งที่ 3 ที่อาร์เจนตินา ทีมชาติไทยควอลิฟายเข้าแข่งขันในรายการทีมผสมบีเอ็มเอ็กซ์เรซซิง ประกอบด้วย ส.ท.โกเมธ สุขประเสริฐ และ น.ส.ปนัดดา บูรณภวังค์ ที่ทำคะแนนสะสมอยู่ในอันดับ 7 จาก 13 ทีมที่เข้าร่วมการแข่งขัน”
“ทางสมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทยฯ เริ่มกระบวนการคัดสรรนักกีฬาไทยเพื่อร่วมการคัดเลือกยูธโอลิมปิกเกมส์ 2026 โดยสตาฟฟ์ผู้ฝึกสอน ทั้งประเภทถนน, เมาเท่นไบค์ และบีเอ็มเอ็กซ์ เริ่มพิจารณานักกีฬาในห้วงอายุ 16-17 ปี หรือนักกีฬาที่เกิดในปี พ.ศ.2552 และ 2553 เข้ามาเป็นนักกีฬาในโครงการ ขณะเดียวกันสมาคมกีฬาจักรยานฯ จะหารือไปยังสหพันธ์จักรยานนานาชาติ เรื่องความเป็นไปได้การจัดการแข่งขันจักรยานประเภทถนนเนชั่นส์คัพ ทั้งชายและหญิง เพื่อโอกาสการเก็บคะแนนสะสมของนักปั่นไทย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วการแข่งขันเนชั่นส์คัพรุ่นเยาวชน แข่งขันในทวีปยุโรปและอเมริกา ในเอเชียมีเพียงรายการเดียวคือทัวร์ เดอ ดีเอ็มซี ที่เกาหลีใต้ ซึ่งมีความเชื่อมั่นว่านักปั่นเยาวชนไทยมีโอกาสสูงที่จะผ่านควอลิฟายเข้าร่วมมหกรรมยูธโอลิมปิก 2026 ที่เซเนกัล”
Cr..วิชัย แสงทวีป ผู้สื่อข่าวพิมพ์ไทยออนไลน์