วันศุกร์, พฤษภาคม 3, 2024

หนังสือพิมพ์ พิมพ์ไทยออนไลน์

หน้าแรกข่าวเด่นประเด็นร้อนปารเมศ วิทยารักษ์รรค์ อาสา”ทลายทุนผูกขาด” แก้ค่าไฟมหาโหด

ปารเมศ วิทยารักษ์รรค์ อาสา”ทลายทุนผูกขาด” แก้ค่าไฟมหาโหด

พิมพ์ไทยออนไลน์ // ขณะที่คนไทยกำลังเผชิญกับวิกฤตจากอากาศที่ร้อนแทบตับแตก ซ้ำค่าไฟพุ่งพรวดจนตั้งตัวไม่ทัน “ปารเมศ วิทยารักษ์สรรค์” ผู้

สมัคร ส.ส.กทม.เขต 1 เจ้าของสโลแกน” บูมเบอร์ 5! ประหยัดไฟ อาสาทลายทุนผูกขาดด้านพลังงาน เพื่อให้ค่าไฟลดลง เขาจะทำอย่างไร!ไปติดตามกันเลย

“บูม ปารเมศ วิทยารักษ์สรรค์ ”ผู้สมัคร ส.ส.กทม.เขต เขต 1 (ป้อมปราบศัตรูพ่าย พระนคร สัมพันธวงศ์) พรรคก้าวไกล อดีตนักเรียนจบกฎหมายภาคภาษาจีนจากมหาวิทยาลัยฟู่ตั้น นครเซี่ยงไฮ้

ปัจจุบันเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายไทย-จีน และเป็นคณะทำงานวิเทศสัมพันธ์ ไทย-จีน ของพรรคก้าวไกล กล่าวกับ”ฐานเศรษฐกิจ”ถึงแนวทางแก้ปัญหาไฟฟ้าราคาแพงที่กำลังเป็นกระแสร้อนแรงในขณะนี้ว่า

ที่ผ่านมารัฐบาลได้ทำสัญญารับซื้อไฟกับโรงไฟฟ้าเอกชนจำนวนมาก โดยที่ไม่คำนึงถึงภาษีที่เราต้องนำไปจ่ายให้เอกชนรายใหญ่ที่เป็นเจ้าของโรงไฟฟ้า ปัจจุบันเรามีไฟผลิตไฟสำรองมากถึง 60% ซึ่งตามมาตรฐานสากล 15 % ก็พอแล้ว

การผลิตไฟฟ้าต้องสอดคล้องกับการเติบโตของเศรษฐกิจประเทศนั้นๆด้วย ถ้าเศรษฐกิจเราเป็นช่วงขาขึ้น มีคนมาลงทุนเยอะแยะไม่แปลกเลยถ้าเราจะทำเผื่อไว้ แต่ด้วยการเติบโตของเศรษฐกิจปัจจุบันนี้ เราไม่ควรมีไฟฟ้าผลิตสำรองเกิน15 เปอร์เซ็นต์ ผมให้
เต็มที่ 20 % แต่ปัจจุบันแทบจะแตะ 60 % อยู่แล้ว

ปารเมศ บอกว่า ล่าสุด ครม. งทวนเซ็นไปอีก 3,600 เมกะวัตต์ ไม่ใช่เงินน้อยๆเลย สุดท้ายแล้วเงินเหล่านี้ก็คือเงินภาษีประชาชนที่นำไปจ่ายกับโรงไฟฟ้าเอกชน ที่ผ่านมานี้โดยเฉพาะช่วงโควิด-19 มีเงื่อนไขสัญญาหนึ่งที่เรียกว่า ค่าความพร้อมจ่ายหรือค่า AP เป็นการการันตีให้กับเจ้าของโรงไฟฟ้าว่า ต่อให้เขาผลิตหรือไม่ผลิต รัฐบาลต้องนำภาษีไปจ่าย

ช่วงโควิดปีนั้นจ่ายไป 8,000 ล้านบาท โดยที่ครึ่งหนึ่งของโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ หรือ IPP ไม่ได้เดินเครื่องแม้แต่วันเดียว แต่เราต้องเอาเงินภาษีไปจ่าย 8,000 ล้านบาท ซึ่งเงินเหล่านี้สุดท้ายก็นำไปบวกในค่า FT ที่ปรับขึ้นเรื่อยๆ แล้วมาเก็บกับประชน ซึ่งเป็นการเพิ่มต้นทุนให้ประชาชน

แนะทบทวนแผนการผลิตพลังงานปารเมศ บอกว่า สิ่งที่ต้องทำ คือ หนึ่ง ต้องทบทวนแผนการผลิตพลังงานของประเทศเรา เรียกว่าแผน PDP ซึ่งแผนนี้จะมีการกำหนดระยะสั้น ระยะยาว ต้องสอดคล้องกับความเป็นจริง การใช้ไฟช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงของประเทศไทย ปีที่ผ่านมาคือ 33,000 เมกกะวัตต์ แต่เราผลิตได้กว่า 50,000 เมกกะวัตต์ ไฟเหล่านั้นเท่ากับโยนทิ้งลงน้ำเลย แล้วนำต้นทุนที่จ่ายให้เจ้าของโรงไฟฟ้าเอกชนนำมาบวกค่า FT ทำให้ต้องปรับขึ้นเรื่อยๆ เพราะมีการซื้อไฟขึ้นเรื่อยๆโดยที่ไม่มีความจำเป็น

ปารเมศ วิทยารักษ์สรรค์

สิ่งที่ก้าวไกลเสนอคือ ต้องไปทบทวนแผนว่า ความเติบโตของประเทศไทยเป็นอย่างไร ไม่ใช่สั่งซื้อไฟเซ็นสัญญาสัมปทานให้กับโรงไฟฟ้าเอกชนอยู่เรื่อยๆ ต้องสอดคล้องกับความเป็นจริง
สอง สัญญาที่เซ็นไปแล้วในฐานะรัฐบาลมีหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ของคนไทย โดยที่ไปทบทวนสัญญาใหม่ ไปเจรจาใหม่กับโรงไฟฟ้าเอกชน

“ผมอยู่ในอนุกรรมการเชิญกระทรวงพลังงานมา เชิญกรมต่างๆมาไม่ว่า ก๊าซธรรมชาติ เยอะไปหมด สุดท้ายตัวแทนเหล่านี้ก็บอกว่ารับนโยบายมา หรือสัญญาเซ็นไปแล้วทำอะไรไม่ได้ แต่ในหน้าที่รัฐบาลที่ต้องปกป้องผลประโยชน์คนไทยมีหน้าที่เต็มที่ จะเปิดเวทีก็ได้ต้องไปเจรจากับเจ้าของโรงไฟฟ้าเอกชน ว่าสถานการณ์บ้านเราเป็นแบบนี้ค่าไฟแพงเกิน ไม่ใช่อ้างว่าเซ็นไปแล้วทำอะไรไม่ได้ ยิ่งเป็นช่วงโควิด ประชาชนไม่เหลือเงินในกระเป๋าเลย ช่วงที่ลงพื้นที่ค่าไฟสูงมากประมาณ 30 -40 % แต่หน่วยที่ใช้ลดลง”

อันนี้เป็นปัญหาทุนผูกขาดด้านพลังงาน ที่เราต้องไปแก้ไข การเซ็นสัญญารับซื้อไปในอนาคต จะต้องมีภาคประชาชนมีส่วนร่วมไม่ใช่คุณถืออำนาจรัฐ แล้วไปเซ็นสัญญารับซื้อไฟอยู่เรื่อยๆโดยไม่คำนึงถึงภาวะปัจจุบันว่าไฟเราเกินมามากพอแล้ว

ปารเมศ วิทยารักษ์สรรค์ อาสา”ทลายทุนผูกขาด” แก้ค่าไฟมหาโหด
ปารเมศ วิทยารักษ์สรรค์ อาสา”ทลายทุนผูกขาด” แก้ค่าไฟมหาโหด

หนุนใช้โซล่าเซลล์ ปารเมศ ชี้ว่า ก้าวไกลสนับสนุนให้ใช้พลังงานสะอาด ตอนนี้แผนโซล่าเซลล์ ต้นทุนต่ำมาก คุณภาพ และประสิทธิภาพดีกว่าแต่ก่อนมาก ต้นทุนเมื่อเทียบกับ10 ปีที่แล้วถูกลงกว่าร่วม 50 % ประสิทธิภาพดีกว่าเดิม แต่ตอนนี้ติดที่กระบวนการขอใช้แผงโซล่า
เซลล์

ตอนนี้พลังงานสะอาดยังไม่เสรีเท่าที่ควร ถ้าเสรีจริงหน่วยงานภาครัฐอย่างกฟน. หรือ กฟภ.ควรลดขั้นตอน ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ต้องไปขอใบอนุญาต ซึ่งการขอใบอนุญาตยุ่งยากมาก กว่าเจ้าหน้าที่จะนัดคิวมาตรวจสอบ ต้องติดมิเตอร์เพิ่มเสียค่าใช้จ่าย ซึ่งต่างประเทศการติดโซล่าเซลล์ได้ง่ายมาก ต้องลดขั้นตอนการขออนุญาต กลายเป็นช่องโหว่ในการเรียกรับผลประโยชน์จากเจ้าหน้าที่รัฐ

ปารเมศ ยืนยันว่า การใช้โซล่าโซลล์ ถ้าใครเปิดแอร์กลางวัน จะคุ้มมาก สามารถคืนทุนภายใน 5-6 ปี พรรคก้าวไกล มีนโยบายสนับสนุนด้านพลังงานโซล่าเซลล์แสงอาทิตย์ เข้าใจว่ายังไม่ตกผลึกในการปล่อยกู้ดอกเบี้ยในการซื้อแผงโซล่าเซลล์ในราคาดอกเบี้ยต่ำ ที่เราสนับสนุนเพราะประชาชนไม่ไหวแล้วกับค่าไฟปัจจุบัน

ปารเมศ วิทยารักษ์สรรค์ อาสา”ทลายทุนผูกขาด” แก้ค่าไฟมหาโหด

อาสาทลายทุนผูกขาด ปราบคอร์รัปชัน
ปารเมศ เล่าถึงประสบการณ์จากจีนที่อยากนำมาปรับใช้ในประเทศไทยว่า ชื่นชอบการทุจริตคอรัปชั่น เหตุผลหนึ่งที่ทำไมกลุ่มทุนจีนสีเทาทีเราเห็นตอนนี้ มาอยู่ในไทย เพราะเขาอยู่จีนไม่ได้ ต้องชื่นชมเขาทำได้ดีจนพวกทุนจีนสีเทาอยู่ไม่ได้ ไม่ว่า บ่อน ซ่อง ยาเสพติด สมัยเรียนอยู่จีนยังพอมี แต่เดียวนี้ไม่มีเลย คุมเข้มมาก ทำให้เป็นแรงบันดาลใจให้ศึกษาเกี่ยวกับการปราบคอร์รัปชั่น

ตั้งแต่ประธานาธิบดี “สี จิ้น ผิงสีจิ้น” ขึ้นมาดำรงตำแหน่ง 10 ปีที่ผ่านมา จับข้าราชการระดับนายพล ระดับรัฐมนตรี เข้าคุกเป็น1,000คนแล้ว รวมทั้งระดับผู้ว่า ถ้าเป็นข้าราชการ ก็ระดับ ผู้อำนวยการ หรืออธิบดี เข้าคุกไปเป็นหมื่นเป็นแสนคนแล้วกวาดไล่ธุรกิจสีเทา แทบทั้งประเทศเลย

ปารเมศ วิทยารักษ์สรรค์ อาสา”ทลายทุนผูกขาด” แก้ค่าไฟมหาโหด

สองเรื่องการทลายทุนผูกขาด ปัจจุบันประเทศจีนใหญ่ก็จริง แต่ไม่ให้ใหญ่เกิน กฎหมายบังคับใช้เรื่องทุจริตคอร์รัปชันทำได้ดีกว่าเรา เช่น บริษัทอาลีบาบา ของแจ็คหม่า หรือบริษัทอื่นๆที่ใหญ่เกิน รัฐบาลจะบังคับใช้กฎหมายไม่ให้ใหญ่เกินไป ไม่ให้กินสัดส่วนการตลาดเกิน 51 % ต้องแบ่งให้คนอื่นด้วยไม่งั้นจะเป็นการผูกขาด ถ้าเป็นองค์กรเอกชนเขาทำได้ดีมากในการทลายทุนผูกขาด

สองสิ่งนี้เราสามารถนำมาปรับใช้ได้ เพราะประเทศเราปัจจุบันมีปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำมาก 8 ปีที่ผ่านมาความเหลื่อมล้ำโตขึ้นตามสัดส่วนประชากร และเศรษฐกิจ เราน่าจะอยู่ในลำดับต้นๆแซงรัสเซียมาแล้ว คนรวยก็รวยเหลือเกิน เจ้าสัวบางคนถือครองที่ดิน 6 แสนกว่าไร่ ขณะที่ประชากรคนไทย 70 % ไม่มีที่ดินของตนเองแม้แต่หนึ่งตารางวา

“ถ้าเราไม่ทำวันนี้แล้วจะทำวันไหนจะปล่อยให้นายทุนกินรวบประเทศไทยอีกหรือ”เป็นการทิ้งท้ายไว้อย่างน่าคิดไม่น้อย.

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวใหม่