พิมพ์ไทยออนไลน์ // ถึงวินาทีนี้ กล่าวได้ว่า หนทางที่ “การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย”หรือรฟม.จะ”ดั้นเมฆ”กระเตงผลประกวดราคาจัดหาเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม มูลค่า 1.427แสนล้าน ที่ประกาศผลไปตั้งแต่ 8 ก.ย.65 ฝ่ากระแสต้านสังคมเพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรี(ครม.)ให้ความเห็นชอบนั้นคงยากย่ิงกว่า “เข็นครกขึ้นเขา” แล้ว
ไหนจะเผชิญกับข้อกล่าวหา”ล็อคสเปค”ฮั้วประมูลตั้งแต่ในมุ้งเพื่อประเคนโครงการไปให้กลุ่มทุนกากกี่นั๊งเพื่อตุนเสบียงกลังทางการเมือง
ไหนจะคดีค้างเก่าที่ถูก BTS ฟ้องร้องคาราคาซังอยู่ในศาลอีกหลายคดี และยังถูกฝ่ายค้านร้องป.ป.ช.ให้ตรวจสอบการประมูลในครั้งนี้
ไหนจะปม”ส่วนต่าง” ราคาที่เอกชนผู้ชนะประมูลที่ขอรับการสนับสนุนการก่อสร้างจากรัฐด้วยยอดสุทธิกว่า 78,287 /85,000 ล้านบาท สูงกว่าข้อเสนอของกลุ่ม BSR-ที่มี BTSเป็นแกนนำที่ยื่นข้อเสนอเอาไว้ในครั้งก่อน แค่ถูก รฟม ล้มกระดานไปที่ขอรับการชดเชยจากรัฐแค่6,900 ล้านบาทเท่านั้น แตกต่างกันกว่า 75,000 ล้านบาท จนกลายเป็นปมเขื่องที่สังคมพากันตั้งข้อกังขา
หากเอกชนผู้ร่วมลงทุนขอรับการชดเชยจากรัฐสูงถึง 85,000 ล้านบาทแล้ว วงเงิน”ค่าต๋งสัมปทาน” 30 ปีที่เอกชนรายนี้จ่ายให้แก่รัฐคือ รฟม.มีจำนวนเท่าไหร่กันแน่ ถึงได้ขอรับการสนับสนุนจากรัฐสูงถึง 85,000 ล้านบาท
แม้รฟม.จะอ้างว่าข้อเสนอทางการเงินของ BTS ไม่น่าเชื่อถือเพราะไม่ผ่านการประมูลจะนำมาเปรียบเทียบกันได้อย่างไร แต่ก็ไม่สามารถจะอรรถาธิบายแก่สังคมให้เกิดความกระจางได้ว่า
การประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มในครั้งก่อนที่รฟม.ชิงล้มการประมูลไป กับการประมผุลครั้งที่ 2 ที่รฟม.เพิ่มเติมเงือนไขคุณสมบัติด้านเทคนิคเพิ่มเติม โดยที่เนื้อหา เนื้องานโครงการ เทคนิคก่อสร้าง จำนวนสถานี แม้แต่กรอบวงเงินในการขอรับการสนับสนุนก่อสร้างจากรัฐยังคงเดิมทุกกระเบียดนิ้ว
ที่แตกต่างกันมีเพียงการเพิ่มเติมเงื่อนไขคุณสมบัติด้านเทคนิดของเอกชนที่จะยื่นซองประมูลจัต้องมีคุณสมบัติด้านเทคนิค มีประสบการณ์งานโยธา3 ด้านที่เพิ่มเติมจากข้อกำหนดเดิมเท่านั้น
เป็นต้นว่า การกำหนดคุณสมบัติประสบการณ์ในการก่อสร้างระบบงานโยธา3ด้านกับรัฐที่ต้องแล้วเสร็จและเปิดให้บริการแล้ว เพื่อตีกันไม่ให้กลุ่ม BSR-BTS ผ่านเกณฑ์ประมูลได้เพราะแม้จะมีประสบการณ์ในการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออกอยู่ด้วย แต่โครงการดังกล่าวยังไม่เปิดให้บริการ
หรือการปรับเกณฑ์ผู้ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติด้านเทคนิคจากเดิมต้องได้คะแนนด้านเทคนิคแต่ละหัวข้อไม่น้อยกว่า 80% มีคะแนนรวมทุกด้านไม่ต่ำกว่า 85% ได้ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 90% ซึ่งเป็นที่รับรู้กันเพื่อตีกันไม่ให้กลุ่ม BTS ผ่านเกณฑ์ประมูลใหม่เข้ามาได้
แต่ก็กลับมา”ตกม้าตาย”เมื่อมีการตรวจสอบในภายหลังกลับพบว่า1ใน2 กลุ่มรับเหมาที่ผ่านเกณฑ์ประมูลใหม่ดังกบ่าวกลับมีปัญหาด้านคุณสมบัติที่ส่อขัดแย้งประกาศคณะกรรมการ PPP ไปเสียอีก ขณะที่การเพิ่มเติมเกณฑ์ด้านเทคนิคสุดเจ้มจ้นที่วาสนั่นกลับไปตกม้าตายในเรื่องประสบการณ์ของผู้เดินรถไฟฟ้าที่รฟม.กลับเปิดกว้างไม่ต้องมีประสบการณ์เป็นคู่สัญญากับรัฐบาลไทยจนกลายเป็นความ “ย้อนแย้ง”ในตนเอง
ระยะเวลาที่ประเทศต้องสูญเสียไปจากความล่าช้าในการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม ที่กินเวลามากว่า 4ปีแล้ว นับจากมติ ครม.เมื่อ 28 ม.ค.62 ที่เห็นชอบในการดำเนินโครงการดังกบ่าวนั่น ได้สร้างความเสียหายแก่ประเทศ สูญเสียโอกาสทางเศรษฐกิจอ้างอิงตากรายงานของสำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)ปีละไม่ต่ำกว่า 40,000 ล้านส่วนนี้ประเทศก็เสียหายไปแล้วก็ว่า 150,000 ล้านบาทเข้าไปแล้ว
ประขาชนคนกรุงต้องสูญเสียโอกาสได้ใช้รถไฟฟ้าสายสีส้ม ทั้งที่เห็นโครงข่ายสายสีส้มตะวันออกก่อสร้างแล้วเสร็จมาเป็นปีแล้ว ยิ่งเมื่อประชาชนคนกรุงต้องเผชิญกับการปรับขึ้นค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีต่างๆ ล่าสุดนี้ ก็ยิ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสุญเสียโอกาส และสะท้อนความล้มเหลวของการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มภายใต้การกำกับดูแลของรฟมและกระทรวงคมนาคม
*ถึงเวลา”ล้างไพ่”ผ่าทางตันสายสีส้ม?
หนทาง”ผ่านทางตัน”โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม เพื่อตัดปัญหาผลประโยชน์คละคลุ้งท่วมโครงการนี้จริงๆ ก็คือการล้มประมูลและ “ล้างไพ่” เพื่อ Set Zero การประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มใหม่ดังที่ นายศักดิ์สยาม ชิดขอบ รมต.คมนาคมเคยประกาศเอาไว้ก่อนหน้านี้ (แค่กลับไม่ทำอะไร)
แต่การเปิดประมูลใหม่ที่ว่าจะต้องไม่ใช่การนำเอาโครงการ ก่อสร้่างสายสีส้มตะวันตกไปมัดตราสังพ่วงไว้กับการจัดหาเอกชนเข้ารับสัมปทานลงทุนระบบรถไฟฟ้าและให้บริการเดินรถไฟฟ้าแต่ต้องแยก 2โครงการนี้ออกจากกัน เพราะการพิจารณาคัดเลือก 2โครงการนั้นแตกต่างกันคนละโยชน์
การประมูลก่อสร้างรถไฟฟ้านั้น รฟม.ต้องการหาผู้รับเหมาก่อสร้างที่มีศักยภาพ ประสบการณ์ก่อสร้างที่ชี้วัดกันที่ราคาก่อสร้าง”ต่ำสุด”เป็นเกณฑ์ชี้ขาด แบบเดียวกับการประมูลก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสายสีส้มตะวันออก หรือสายสีม่วงใต้ เตาปูน-วงแหวนกาญจนาภิเษก หรือสายสีอื่นๆ ของรฟม.
ส่วนการประมูลหาเอกขนเข้ารับสัมปทานเดินรถและซ่อมบำรุง (O&M)ที่จะมาเดินรถไฟฟ้าในระยะยาว 30-50 ปีนั้น สามารถแยกออกมาดำเนินการเป็นเอกเทศได้โดยไม่เกิดปัญหา เพราะขี้ขาดการประมูลกันที่ข้อเสนอผลตอบแทนต่อรัฐ “สูงสุด”เป็นเกณฑ์ เอกชนรายใดเสนอผลตอบแทนแก่รัฐสูงสุดก็เป็นผู้ชนะประมูลไป
ทำแบบนี้ รฟม และรัฐจะตัดปัญหาทั้งมวลไปได้หมด ไม่ว่าจะเป็นความไม่ขัดเจนในการกำหนดเกณฑ์ขี้ขาดผู้ชนะประมูล ที่เกิดจากการมั่วตุ้มสร้างเกณฑ์พิจสรณาคัดเบือกที่้เต็มไปด้วยความคลุม้ครืออย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
การประมูลหาเอกชนก่อสร้างสายสีส้มตะวันตก ที่เอาแต่ผู้รับเหมาก่อสร้างเข้ามาชิงดำ นั้นกลุ่ม BTS ไม่สามารถจะเข้าร่วมประมูลอยู่แล้วเพราะไม่มีคุณสมบัติด้านการก่อสร้าง จะไปร้องแรกแหกกระเชอก็คงไม่ได้แน่
รฟม. จะตั้งราคากลางไว้เท่าเดิม 96,000 ล้านบาท หรือปรับราคากลางขึ้นไปเป็นแสนล้าน และประเคนโครงการก่อสร้างไปให้กลุ่มทุนรายใดก็สุดแล้วแต่ ยากที่ใครหน้าได้ไหนจะล้วงลูกเข้ามาตรวจสอบได้ดังเช่นกรณีการประมูลสายสีส้มตะวันออก หรือสายสีม่วงใต้ ที่ดำเนินการไปก่อนหน้า
ส่วนการประมูลสัมปทานเดินรถและซ่อมบำรุงนั้น แม้จะแยกการประมูลออกมาดำเนินการอย่างเป็นเอกเทศ และจะมีแต่ผู้ให้บริการเดินรถไฟฟ้าเท่านั้นที่จะเข้าร่วมประมูลได้ โดยที่ภาครัฐคือรฟม.จะได้เม็ดเงินค่าตอบแทนจากการประมูลสัมปทานเดินรถอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย เพราะสามารถกำหนดเกณฑ์ชี้ขาดจากผู้เสนอผลประโยชน์สูงสุดแก่รัฐเป็นเกณฑ์
การแยกโครงการดังกล่าวออกมาประมูลเป็นการเฉพาะ จะไม่เกิดปัญหาต่อการดำเนินโครงการแต่อย่างใด ตรงกันข้ามกลับจะทำให้รฟม.สามารถเร่งรัดเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออกที่ก่อสร้างเสร็จแล้วได้เร็วขึ้น เพราะผู้ชนะประมูลสามารถจะดำเนินการติดตั้งระบบรถไฟฟ้าและเปิดการเดินรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออกได้ก่อน ช่วยคลี่คลายปัญหาในการจราจรไปได้อีกทาง
ก็คงมีแต่แนวทางนี้เท่านั้นจึงจะเป็นหนทาง”ผ่าทางตัน”การประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ที่ติดหล่มมานานนมได้ เพราะหากยังคงดั้นเมฆจะกระเตง”เผือกร้อน”ฝ่าด่าน ครม.และสังคมอยู่ต่อไปเห็นทีประขาชนคนไทยอาจหาวเรอไปถึงชาติหน้าแน่!!