วันพฤหัสบดี, มกราคม 16, 2025

หนังสือพิมพ์ พิมพ์ไทยออนไลน์

หน้าแรกข่าวเด่นประเด็นร้อนจากกฎเหล็กไร้ค่า Must Carry ..ถึงมาตรการเฉพาะกำกับดีล “ทรู-ดีแทค ประชาชนยังจะฝากความหวัง กสทช.ได้อีกหรือ?

จากกฎเหล็กไร้ค่า Must Carry ..ถึงมาตรการเฉพาะกำกับดีล “ทรู-ดีแทค ประชาชนยังจะฝากความหวัง กสทช.ได้อีกหรือ?

พิมพ์ไทยออนไลน์ // เข้าสู่โค้งสุดท้ายของการแข่งขันฟุตอลโลก2022 ในรอบ 16 ทีมเข้าไปแล้ว และอีกไม่ถึงสัปดาห์จากนี้ มหกรรมฟุตบอลโลก2022 ก็จะปิดฉากลงแล้ว แต่ปมปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดบอลโลก 2022 ของประเทศไทยยังคง “วุ่นไม่จบ” หลังการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.)ที่รับหน้าเสื่อเจรจาขอซื้อลิขสิทธิ์ฟุตบอลโลก 2022 รอบสุดท้ายจากฟีฟ่า
(FIFA) เพื่อมาให้คอบอลไทยได้ชมการถ่ายทอดกัน “สมใจอยาก”

แต่ไม่รู้ กกท.ไปทำอิท่าไหน ลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก2022 ที่ กกท.มีข้อตกลง MOU อยู่กับ “คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)” ซึ่งเป็นผู้ให้งบสนับสนุนหลักในการจัดซื้อลิขสิทธิ์ในครั้งนี้ที่จะต้องเปิดกว้างให้ประชาชนคนไทยได้ดูการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก2022 ในครั้งนี้ในทุกช่องทาง และทุกแพ
ลตฟอร์ม จึงไปตกอยู่ในเงื้อมมือของกลุ่มทรู และทรูวิชั่นส์เอาได้

ทั้งที่ในข้อตกลง MOU ที่ กกท.มีอยู่กับ กสทช.นั้นกำหนดเอาไว้อย่างชัดเจนในข้อ 1.2 และ 2.2 ว่า กกท. ก็ตกลง ยินยอม ให้ผู้รับใบอนุญาตภายใต้กำกับของ กสทช. ได้สิทธิในการแพร่ภาพแพร่เสียงการแข่งขันฟุตบอลโลก ปี 2022 แบบ “ไม่จำกัดจำนวนการรับส่งสัญญาณ” ผ่านช่องทางและระบบ หรือรูปแบบการออกอากาศ ตลอดระยะเวลาที่กำหนด ตาม ข้อ 2.8 (2) ซึ่ง
หาก กกท.สละซึ่งสิทธิใดๆ ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น จะไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของสำนักงาน กสทช. และผู้ที่เกี่ยวข้องแต่อย่างใด

แต่ กกท.กลับดอดไปทำข้อตกลงยกสิทธิ์การถ่ายทอดและแพร่ภาพการแข่งขันฟุตบอลโลก2022 ที่ว่านี้ไปให้แก่กลุ่มทรูและทรูวิชั่นส์เพียงเจ้าเดียว ห้ามผู้ประกอบการที่ให้บริการรายอื่นๆ ถ่ายทอดหรือแพร่ภาพซ้ำในทุกกรณี โดยจัดทำข้อตกลงคุ้มครองสิทธิ์ในข้อ 4 ที่ระบุว่า ผู้รับการสนับสนุน(กกท.)รับรองว่า กสทช.ได้แจ้งกำชับมิให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจาย
เสียง หรือกิจการโทรทัศน์ที่เกี่ยวข่องทำการแพร่ภาพ การแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายผ่านระบบไอพีทีวี ระบบอินเทอร์เน็ต ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่และระบบ OTT ไม่ว่า จะเป็นบนช่องทางเว็ปไซต์หรือ แอปพลิเคชั่น…

ทำเอาสำนักงาน กสทช.ที่เป็นผู้ให้งบประมาณสนับสนุนการจัดซื้อลิขสิทธิ์ในครั้งนี้ถึงกับ “ฟิวส์ขาด” จากการที่ต้อง “เสียรู้-เสียค่าโง่” ให้แก่ กกท. เพราะไม่เพียง กกท.จะฉีกขอตกลง MOU ที่มีอยู่กับ กสทช.แล้ว การที่ กกท.ประเคนลิขสิทธิ์บอลโลกไปให้กลุ่มทรู และทรูวิชั่นส์”ชุบมือเปิบ” เพียงเจ้าเดียว ยังเป็นการดำเนินการที่ขัดประกาศ กสทช.เรื่องหลักเกณฑ์การแพร่ภาพ
กิจการโทรทัศน์เป็นการทั่วไปปี 2555 ที่กำหนดให้ผู้ประกอบการที่ให้บริการโทรทัศน์แบบไม่ใช้คลื่น ต้องดำเนินการแพร่ภาพรายการกีฬา 7 ประเภทตามหลักเกณฑ์ Must Have -Must Carry ของ กสทช.ด้วย

หากเป็นกรณีในต่างประเทศที่หน่วยงานกำกับดูแลกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ มีความเป็นอิสระมีความเข้มแข็งเพียงพอ กรณีเช่นนี้ไม่เพียง กสทช.จะสั่งลงโทษผู้ประกอบการที่ดำเนินการแหกหลักเกณฑ์ตนเองอย่างถึงพริกถึงขิงมรทันทีแล้วอาจถึงขั้นสั่ง“เพิกถอนใบอนุญาต” ประกอบกิจการโทรทัศน์กันไปแล้ว แต่สำหรับ กสทช.หน่วยงานของรัฐที่เป็นอิสระของประเทศไทยเรานั้น กลับ “บ้อท่า” ไม่เพียงจะไม่สามารถบังคับใช้กฎเหล็กของตนเองที่ออกมาเป็นสิบปีให้สัมฤทธิ์ผวัตถุประสงค์ของกฎเกณฑ์กฎระเบียบแล้ว ตัวกสทช.เองยังไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่า ตนเองจะมีอำนาจบังคับ กกท. และกลุ่มทรูวิชั่นส์ที่อ้างได้ลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก2022 จาก กกท.ได้หรือไม่ อย่างไร

แม้บอร์ด กสทช.จะมีมติให้สำนักงาน กสทช.ทำหนังสือแจ้งไปยัง กกท.ให้ปฏิบัติตามข้อตกลง MOU ที่มีอยู่ พร้อมส่งหนังสือไปยังผู้ประกอบกิจการรายการโทรทัศน์แบบไม่ใช้คลื่นความถี่ภายในกำกับให้ต้องดำเนินการเปิดสัญญาณถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก2022 รอบสุดท้ายตามหลักเกณฑ์ Must Have -Must Carry ของตนเองโดยเคร่งครัด แต่ทุกอย่างกลับเงียบหายเข้ากลีบเมฆโดยที่ กกท. ก็ไม่มีการชี้แจงหรือจัดส่งข้อมูลข้อตกลงใด ๆ มาให้กสทช.ที่เห็นและเป็นไป กลับเป็นกลุ่มทรู และทรูวิชั่นส์ ที่ดอดไปยื่นเรื่องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญา อ่างสิทธิ์การถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก2022 รอบสุดท้ายที่ตนเองได้รับจาก กกท. จึงขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวห้ามผู้ประกอบการ IPTV และ อินเตอร์เน็ตรายอื่นถ่ายทอดและแพร่ภาพรายการแข่งขันฟุตบอลโลก2022 ที่ว่านี้ นอกจากกลุ่มทรูและทรูวิชั่นส์เท่านั้นสะท้อนให้เห็นถึงความ “บ้อท่า” ในการบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายที่ตนเองมีได้อย่างชัดเจน!

จุดนี้เองที่ทำให้ทุกฝ่ายตั้งคำถามไปยัง กสทช.ว่าขนาดกฎเหล็กว่าด้วยการถ่ายทอดกีฬา 7 ประเภทที่ กสทช.กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ระบบภาคพื้นและในทุกแพลตฟอร์ต้องจัดให้มีการถ่ายทอดสดเป็นการทั่วไปเพื่อให้ประชาชนคนไทย ได้รับชมกันอย่างทั่วถึงนั้น กสทช.ยังไม่มีปัญญาจะบังคับใช้กฎหมายของตนเอง ให้เป็นตามเจตนารมณ์ของประกาศหลัก
เกณฑ์ดังกล่าวได้

แล้วนับประสาอะไรกับ “มาตรการเฉพาะ”จำนวน 14 ข้อที่บอร์ดกสทช.สั่งการให้สำนักงานกสทช.ยกร่างเอาไว้เพื่อเป็นมาตรการบรรเทาผลกระทบประโยชน์สาธารณะที่จะเกิดขึ้นจากการควบรวมธุรกิจระหว่าง “ทรูและดีแทค” ที่นัยว่าจะเป็นเงื่อนไขบังคับ ทั้งก่อนและหลัง สำหรับบริษัททรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (TUC) และ บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด (DTN) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของบริษัท New Co ที่เกิดจากดีลควบรวมฯที่ว่านั้น

กสทช. จะมีอำนาจใดในการบังคับใช้ “มาตรการเฉพาะ” ที่ว่านี้ต่อบริษัท New Co ที่ว่านี้ ในเมื่อบอร์ด กสทช.ได้ปฏิเสธอำนาจที่ตนเองมีไปตั้งแต่แรกแล้วว่า การควบรวมธุรกิจหรือการถือครองธุรกิจของสองยักษ์สื่อสารโทรคมนาคม (ทรูและดีแทค) ไม่ถือว่า เป็นการถือครองธุรกิจในบริการประเภทเดียวกันที่อยู่ในบังคับกฎหมายและประกาศใดๆ ของกสทช. เมื่อบริษัท New Co
ไม่อยู่หรืออยู่นอกเหนือประกาศ กสทช.(ประกาศกทช.เรื่องมาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดฯ ปี49)แล้ว กสทช.จะเอาอำนาจอะไรไปบังคับให้ทรูและดีแทคซึ่งเป็นบริษัทแม่ผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทสื่อสารที่ขอควบรวมกิจการปฏิบัติตามได้

ยิ่งหากทุกฝ่ายจะพลิกไปดูเงื่อนไขทั้ง 14 ข้อที่นัยว่าจะเป็นมาตรการเฉพาะบังคับก่อน-และหลังการควบรวมฯ ด้วยแล้วจะเห็นได้ว่า มาตรการหลักๆ ที่ออกมาส่วนใหญ่ ก็คือการห้ามไม่ให้ทรูและดีแทคใช้คลื่นความถี่ร่วมกัน ทั้งสองบริษัทจะยังคงแยกธุรกิจและคงแบรนด์ และทำตลาดแยกจากกันในระยะ 3 ปี นอกจากนี้ยังมีการกำหนดให้ต้องส่งเสริมให้มีผู้ให้บริการโครงข่ายเสมือน (MVNO) ทั้งก่อนและหลังการควบรวม การกำหนดให้บริษัทต้องแบ่งโครงข่าย 20% เพื่อสนับสนุนให้มีผู้ให้บริการรายใหม่ การคงคุณภาพการให้บริการ คงสัญญาการให้บริการทั้งกับผู้ใช้บริการ สัญญาการทำตลาดและอื่น ๆ

แต่ก็อย่างที่ทุกฝ่ายประจักษ์แก่สายตาวันนี้ ขนาดมีกฎเหล็ก Must Have -Must Carry กสทช.ที่ใช้บังคับมาเป็นสิบปี กสทช.ยังไม่มีปัญญาบังคับให้ผู้ประกอบกิจการที่รับใบอนุญาตใต้ชายคาอย่างกลุ่มทรูและทรูวิชั่นส์ปฏิบัติตามได้ และแม้จะเห็นอยู่โทนโท่ว่า บริษัทมีการดำเนินการอันเป็นการฝ่าฝืนกฎเหล็ก กสทช.โดยชัดแจ้ง แต่กสทช.ก็ได้แต่นั่งทำตาปริบๆ ไม่มีมาตรการ
ลงโทษใด ๆ ที่เป็นรูปธรรมออกมาแม้แต่น้อย แล้วเงื่อนไขจำนวน14 ข้อที่อ้างว่าจะเป็น “มาตรการเฉพาะ”บรรเทาผลกระทบต่อประโยชน์สาธารณะที่จะเกิดขึ้นจากดีลควบ
รวมกิจการระหว่าง “ทรูและดีแทค”จะไปมีความหมายอะไร กสทช.จะมีปัญญาบังคับผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท New Co ที่ไม่ได้รับใบอนุญาตจาก กสทช.โดยตรงได้หรือ? หากผู้ถือหุ้นใหญ่จะละเมิดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในมาตรการเฉพาะเสียอย่างเพราะตนเองไม่ได้อยู่ในกำกับดูแลของ กสทช.โดยตรง

เพราะแม้แต่การควบรวมกิจการทรู-ดีแทคที่ถนนทุกสายต่างยืนยัน นั่งยันว่า กสทช.มี “อำนาจที่จะพิจารณาอนุมัติ-หรือไม่อนุมัติ” ตัวองค์กร และบอร์ด กสทช.เองยัง “ตีกรรเชียง เลี่ยงบาลี”ไฟเขียวดีลควบรวมกิจการออกไปได้น้ำขุ่น ๆ ด้วยข้ออ้างที่ว่าตนเอง “ไม่มีอำนาจพิจารณา”

แล้วเช่นนี้ประชาชนคนไทยยังจะฝากความหวังอะไรได้กับ กสทช.ชุดนี้ได้อีก?

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวใหม่