วันอังคาร, พฤศจิกายน 26, 2024

หนังสือพิมพ์ พิมพ์ไทยออนไลน์

หน้าแรกข่าวเด่นประเด็นร้อนข่าวกีฬาเวที “โฟกัส กรุ๊ป ดับควบ”ทรู-ดีแทค”รอบ2” ซัดดุเดือด เครือข่ายพิทักษ์ประโยชน์สาธารณะโผล่จี้กสทช.ยึดประโยชน์สาธารณะ

เวที “โฟกัส กรุ๊ป ดับควบ”ทรู-ดีแทค”รอบ2” ซัดดุเดือด เครือข่ายพิทักษ์ประโยชน์สาธารณะโผล่จี้กสทช.ยึดประโยชน์สาธารณะ

พิมพ์ไทยออนไลน์ // ผู้สื่อข่าวรายงานจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)ว่า เมื่อวันที่ 26 พ.ค.ที่ผานมา สำนักงาน กสทช. ได้เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นสาธารณะในวงจำกัด ( Focus Group)กรณีการควบรวมธุรกิจระหว่าง บมจ. ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด และบมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด หรือดีแทค ครั้งที่ 2 ผลกระทบต่อผู้บริโภคและพลเมือง โดยเชิญผู้แทนเครือข่ายองค์กรภาคประชาชนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมกว่า 100 คน โดยมี นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา อดีต กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภค และที่ปรึกษา กสทช. เป็นประธานที่ประชุม

โดย นพ.ประวิทย์ กล่าวว่า เวทีประชาพิจารณ์ในครั้งนี้เป็นการประชุมอนุกรรมการด้านคุ้มครองผู้บริโภคและพลเมือง เพื่อรวมรวบข้อมูลนำเสนอต่อ กสทช.ประกอบการตัดสินใจในการพิจารณาคำขอควบรวมกิจการฯ ซึ่งเดิมทีได้ประสานให้ผู้ควบรวมทรูและดีแทค เข้ามาร่วมประชุมด้วย แต่ไม่ทราบเหตุใดจึงไม่ได้มาร่วมประชุม

ส่วนข้อมูลที่ผู้เข้าประชุมจะได้รับทราบเบื้องต้นนั้น ล้วนมาจากข้อมูลที่บริษัทชี้แจงเข้ามา และที่ปรึกษาอิสระที่ทั้งสองบริษัทว่าจ้างให้ดำเนินการศึกษาได้ ได้นำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทได้รับทราบ เช่นเหตุผลเพื่อลดการลงทุนซ้ำซ้อน เปิดโอกาสให้บริษัทใหม่ นำเงินไปลงทุนพัฒนาประสิทธิภาพของโครงข่าย และพัฒนาธุรกิจในด้านเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพิ่มโอกาสบริษัทในการเสนอบริการอื่น ๆ ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นที่ปรึกษาอิสระรายงานเอาไว้ ในเรื่องที่อาจไม่ได้รับการอนุมัติหรืออนุญาตจากหน่วยงานกำกับ โดยในรายนงานที่ปรึกษาอิสระฯระบุอย่างชัดเจนว่ากิจการโทรคมนาคมยังคงอยู่ภายใต้การบังคับของกฎหมายแข่งขันทางการค้าอยู่ด้วย

นอกจากนี้ กสทช.อาจกำหนดเงื่อนไขหรือมาตรการเฉพาะให้บริษัทต้องปฏิบัติตาม ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดข้อจำกัดในการดำเนินธุรกิจ ขณะเดียวกันทั้งสองบริษัทต่างมีใบอนุญาต คำสั่งอนุญาต ใบรับจดทะเบียนและสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากหน่วยงานต่างๆเพื่อใช้ประกอบธุรกิจ แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วใบอนุญาต คำสั่งอนุญาต ใบรับจดทะเบียนและสิทธิประโยชน์บางประเภทจะสามารถโอนให้แก่บริษัทใหม่ได้ แต่อาจมีใบอนุญาต คำสั่งอนุญาต ใบรับจดทะเบียนและสิทธิประโยชน์บางประเภทที่ไม่สามารถโอนให้แก่บริษัทใหม่ได้โดยตรง จึงมีความเสี่ยงที่บริษัทจะไม่ได้รับใบอนุญาตในภายหลังการจัดตั้งบริษัทใหม่ได้ ก่อนที่จะเปิดเวทีให้ที่ประชุมได้แสดงความคิดเห็น

ยัน กสทช. มีอำนาจอยู่เต็มมือ

อย่างไรก็ตาม นพ.ประวิทย์ได้ให้สัมภาษณ์สื่อถึงผลกระทบจากการควบรวมฯต่อผู้บริโภค หากมีการอนุญาตให้รวมธุรกิจระหว่าง ทรูและดีแทค จะส่งผลกระทบต่อสังคมและผู้เกี่ยวข้อง อาทิ ซัพพลายเออร์ และเอกชนที่ทำธุรกิจกับค่ายมือถือทั้ง 2 ค่าย เช่น SMS content หรือ content partners ต่างๆ แต่ผู้ที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ ผู้ใช้บริการหรือประชาชนที่เป็นลูกค้า เพราะมีรายงานผลการศึกษาว่าค่าบริการอาจแพงขึ้น 20% จากการที่ธุรกิจโทรคมนาคมมีการผูกขาด เพราะจะมีผู้ให้บริการเหลือ 2 รายหลังจากมีการควบรวมธุรกิจแล้ว

หากจะถามว่าผู้บริโภคจะปกป้องตัวเองได้อย่างไร เพราะเมื่อของมีจำกัด แต่มีแค่ 2 รายใหญ่ ที่ขายสินค้าในตลาด แล้วราคาอาจจะแพงขึ้น 20% และเราจะไม่ใช้ ก็ไม่ได้ เพราะถ้าจะไปเลือก NT (บมจ.โทรคมนาคมแห่งชาติ) ก็มี MVNO (ผู้ให้บริการเครือข่ายเสมือน) มา
เสนอข้อมูลให้ฟังว่า NT มีเฉพาะบริการ 3G เท่านั้น ไม่มี 4G และ 5G ถ้าใครอยากใช้ 4G และ 5G ก็ต้องไปผูกขาดกับ 2 รายใหญ่ ดังนั้น ลูกค้าจึงมีอำนาจในการปกป้องตัวเองต่ำ

นพ.ประวิทย์ ยังกล่าวด้วยว่า กรณีการรวมธุรกิจระหว่าง ทรู และ ดีแทค จะพิจารณาเฉพาะประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการกำกับดูแลการรวมธุรกิจในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2561 ไม่ได้ แต่ต้องพิจารณาไปถึงประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 ด้วย และเมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นได้ว่า กสทช. มีอำนาจอนุญาต-ไม่อนุญาตการรวมธุรกิจในครั้งนี้

“ประกาศฯควบรวมธุรกิจปี 2561 เสมือนหนึ่งเขียนว่า เป็นหน้าที่ของเอกชนที่จะรายงานให้ กสทช.รับทราบเท่านั้น กสทช. ไม่ต้องลุกขึ้นมาอนุมัติหรือไม่อนุมัติ แต่ถ้าเห็นว่ามีผลกระทบต่อประโยชน์สาธารณะถึงจะกำหนดเงื่อนไขหรือมาตรการเฉพาะ ซึ่งอันนี้เป็นเรื่องที่เล่าสู่สาธารณะมาโดยตลอด 2-3 เดือนที่ผ่านมา ทำให้ดูเสมือนหนึ่งว่า กสทช. ไม่มีอำนาจเลย แต่จริงๆแล้ว ในประกาศฯฉบับนั้น มีประกาศฯที่เกี่ยวข้องอีก 2 ฉบับ เพราะข้อ 9 ของประกาศฯรวมธุรกิจปี 2561 เขียนว่า การรายงานตามประกาศฯนี้ ให้ถือเป็นคำขออนุญาตตามประกาศฯปี 2549 ขณะที่ประกาศฯปี 2549 เป็นประกาศฯที่ให้ กสทช.มีอำนาจอนุญาตหรือไม่อนุญาตถือครองธุรกิจประเภทเดียวกัน ตรงนี้จึงไม่ได้ตัดอำนาจ กสทช.โดยเด็ดขาด ส่วน กสทช. จะตีความข้อ 9 อย่างไรก็เป็นดุลพินิจของ กสทช.ชุดปัจจุบัน”

เวทีผู้บริโภคค้านควบรวมกิจการสุดลิ่ม!

ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์ ประธานทีดีอารืไอ แสดงความเป็นห่วงต่อดีลควบรวมทั้งสองบริษัท ที่ได้ไปขออนุมัติมติผู้ถือหุ้นของทั้งสองบริษัทไปก่อนหน้าจะได้รับอนุมัติจาก กสทช.เพราะอาจเกิดปัญหาหากไม่ได้รับอนุมัติ ส่วนการพิจารณาจะอนุม้ติหรือไม่ให้เปรียบเทียบประโยชน์สาธารณะกับความเสี่ยงของสังคมที่จะได้รับจากการควบรวม โดยมีหลักในการพิจารณากลั่นกรองจากดัชนีการกระจุกตัวของตลาด(HHI) ซึ่งในต่างประเทศมีตัวอย่างของการพิจารณาในเรื่องนี้ชัดเจน แต่ในรายงานที่ปรึกษาอิสระที่มีต่อเรื่องนี้ กลับไม่มีการรายงานในเรื่องนี้

ข้อเสนอต่อกรณีการควบรวมฯ นั้นประธานทีดีอาร์ไอได้เสนอไม่ให้อนุมัติควบรวมฯ หรือให้ขายแก่ผู้ประกอบการรายใหม่ หรือให้ควบรวมโดยต้องกำหนดเงื่อนไขให้คืนคลื่นบางส่วนเพื่อนำมาจัดสรรให้รายใหม่ และการให้ควบรวม แต่กำหนดเงื่อนไขส่งเสริมให้เกิด MVNO

นางสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรเพื่อผู้บริโภค(สอบ.)กล่าวว่า องค์กรที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ กล่าวว่าเมื่อ วันที่ 25 พ.ค.ที่ผ่านมา สอบ.ได้จัดเสวนาในเรื่องนโยบายสาธารณะต่อกรณีการควบรวมกิจการในครั้งนี้ และที่ประชุมมีมติชัดเจนไม่เห็นด้วยกับการควบในครั้งนี้ ด้วยเหตุผล 3-4 ประการ คือ 1.การควบรวมขัดต่อกฎหมายอย่างน้อย 4 ฉบับ คือรัฐธรรมนูญ ,พรบ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ (พรบ.กสทช.)กำหนดไว้อย่างชัดเจนให้ กสท.กำหนดมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดการผูกขาดและกระทบการแข่งขัน รวมทั้งยังขัดประกาศ กสทช.ว่าด้วยมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดการผูกขาด รวมทั้งขัดต่อ พรบ.คุ้มครองผู้บริโภค 2522 มาตรา 4 ที่กำหนดให้ผู้
บริโภค ได้รับการคุ้มครองสิทธิที่จะเลือกหาสินค้าหรือบริการ รวมทั้ง พรบ.แข่งขันทางการค้า ปี 2560 เพราะทำให้บริษัทที่ควบรวมฯมีอำนาจเหนือตลาดอย่างชัดเจน

เครือข่ายประชาชนโผล่
จี้กสทช.ตื่นจากหลับ

ในระหว่างการจัดเวทีโฟกัสกรุ๊ปครั้งนี้ เครือข่ายประชาชนพิทักษ์ประโยชน์สาธารณะ (ปปณ.)นำโดย นายกานต์ ลือประเสริฐ ได้นำตัวแทนเครือข่ายราว 20 คนเข้ายื่นจดหมายเปิดผนึกต่อประธาน กสทช.ผ่านรักษาการเลขาธิการ กสทช. เพื่อขอให้ กสทช.ปฏิบัติหน้าที่ตามบทบัญญัติกฎหมาย และปลดแอกจากอำนาจที่ครอบงำทั้งปวง โดยระบุว่า จากการติดตามข่าวสารของ เครือข่ายประชาชนพิทักษ์ประโยชน์สาธารณะ(ปปณ.)พบว่า แม้จะมีข้อทักท้วงจากทุกภาคส่วน แต่ กสทช.ชุดปัจจุบันที่รับไม้ต่อมาจาก กสทช.ชุดรักษาการก่อนหน้า ยังคงมีแนวโน้มที่จะเดินหน้าพิจารณาให้ทั้งสองบริษัทดำเนินการควบรวมกันต่อไป ด้วยข้ออ้างข้อจำกัดด้านกฎหมาย และประกาศ กสทช.ที่ใช้บังคับอยู่ สิ่งเหล่านี้ทำให้ภาคประชาชนเต็มไปด้วยความกังวลว่า หาก กสทช.ยังปล่อยให้สองค่ายมือถือดำเนินการควบรวมกิจการกันไปโดยไม่มีการคัดค้านใดๆ ผลประโยชน์สาธารณะของประชาชนและประเทศชาติคงถูกลิดรอนตามมา

เครือข่ายประชาชนพิทักษ์ประโยชน์สาธารณะ (ปปณ.) จึงขอเรียกร้องให้คณะกรรมการกิจการกระจาขเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ “กสทช.”ชุดใหม่นี้ ได้ลุกขึ้นมาทำหน่าที่กำกับดูแลการแข่งขันให้สมกับบทบาทภาระหน้าที่ขององค์กรที่ต้องยึดมั่นในหลักการเสรี และเป็นธรรม ปราศจากการครอบงำของกลุ่มทุนใดๆ เพราะ หากผลประโยชน์สาธารณะของประชาชนต้องถูกลิดรอนลงไป หน่วยงานกำกับดูแล “กสทช.”ก็คงถูกตราหน้าว่า สร้างแต่ผลงาน “ชิ้นโบดำ” ให้กับอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของประเทศ!

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวใหม่