พิมพ์ไทยออนไลน์// 2 ทายาทตระกูลดัง “พรประภา-ปราณีนิ” ทุ่มกว่า 120 ล้านปั้น “เมดิคาน่า แล็บ” ชูเทคโนโลยี smart farming ด้วยอุปกรณ์ชั้นนำระดับโลก รุกธุรกิจกัญชา-กัญชง เอาใจสายเขียวพร้อมผลักดันไทยสู่ฮับ กัญชา-กัญชง อาเซียน
ทายาทตระกูลดัง “พรประภา-ปราณีนิจ” ทุ่มงบกว่า 120 ล้านรุกธุรกิจกัญชา-กัญชง เปิดตัว “เมดิคาน่า แล็บ” เดินหน้าธุรกิจต้นน้ำ ผลิตช่อดอก มาตรฐาน Medical-Grade ด้วยเทคโนโลยี smart farming ครบเครื่องตั้งแต่การคัดสรรสายพันธุ์ โคลนนิ่งต้นกล้า ผลิตช่อดอก CBD สูง ก่อนต่อยอดสู่กลางน้ำ และปลายน้ำ ทั้งผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ ส่งออก ท่องเที่ยว พร้อมผลักดันไทยสู่ฮับกัญชา-กัญชง อาเซียน
นายวรภัทร พรประภา กรรมการผู้จัดการฝ่ายบริหาร บริษัท เมดิคาน่า แล็บ จำกัด ผู้ผลิตช่อดอกกัญชงมาตรฐาน Medical-Grade เปิดเผยว่า บริษัท เมดิคาน่า แล็บ จำกัด ได้รับใบอนุญาติผลิตกัญชง แห่งแรกของกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2565 จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดยวัตถุประสงค์หลักในการดำเนินธุรกิจคือ การผลิต ช่อดอกกัญชง ในมาตรฐาน Medical-Grade เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ด้วยการปลูกใน Indoor Facility ที่ถูกออกแบบด้วยเทคโนโลยี smart farming ทำงานควบคู่กับระบบ IOT เพื่อควบคุมสภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์สำหรับต้นกัญชงอย่างครบวงจร เช่น อุณภูมิ ความถี่ของแสง Co2ในอากาศ ระดับความชื้นและค่า VPD (ความต่างของแรงดันในใบ เทียบกับแรงดันในอากาศ) เป็นต้น
รวมถึงระบบ automatic fertigation หรือการจ่ายปุ๋ยแบบอัตโนมัติ เพื่อ dosing และ feeding program ที่แม่นยำ สามารถเก็บ data หรือข้อมูลสำคัญสำหรับการวิจัยอย่างต่อเนื่อง รวมถึงได้มีการตรวจสอบและเปรียบเทียบข้อมูลผ่านทางกล้องวงจรปิด ควบคู่กับ sensor เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลต้นกัญชงให้ได้มาตรฐาน นอกจากนี้ทางบริษัทยังได้รับการรับรองจากต่างประเทศให้เป็น “South East Asia’s largest Fluence Bioengineering Lighting Solution Cultivation Facility” การใช้ระบบเทคโนโลยี Artificial Lighting ซึ่งนำเข้าจากสหรัฐอเมริกาด้วย Innovation ที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการสังเคราะห์แสงและการบริหารการใช้พลังงาน เพื่อรักษาอุณหภูมิที่เหมาะสมและเพิ่ม yield หรือปริมาณผลผลิตที่สูงที่สุด เมื่อประกอบด้วยทีมนักปลูกระดับมืออาชีพ ในหลักการของ nature optimization เพื่อช่อดอกที่มีสาร CBD สูงปราศจากสารปนเปื้อน และ THC ไม่เกิน 1% เพื่อผลิตผลที่สอดคล้องกับกฎระเบียบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดยมีมาตรฐานที่ consistent อย่างต่อเนื่อง
เมดิคาน่า มีห้องปฏิบัติการซึ่งประกอบด้วย ห้องแม่พันธุ์ ห้องทำดอก ห้องทำใบ ห้องต้นกล้า และห้องเก็บผลผลิต โดยบริษัทออกแบบ Facility ให้รวมไปถึง Nursery Shelves หรือแหล่งเพาะปลูกต้นกล้า เกรด Indoor ด้วยสายพันธุ์กัญชงที่ได้รับการคัดเลือกและพัฒนามามากกว่า 2 ปี ซึ่งมีสาร CBD สูงถึง 22% และ Terpene profile ที่มีเอกลักษณ์ จากการวิจัยคัดสรรพันธุกรรมจากพาร์ทเนอร์ ด้วยความร่วมมือกับ วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ ภาควิชากัญชาเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เพื่อจำหน่ายให้กับผู้ประกอบการธุรกิจและเกษตรกรทั่วไป
นอกจากนี้บริษัทยังร่วมมือกับ บริษัท ธาราเธรา คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่มีประสบการณ์มีทีมงานที่มีความรู้ด้านกัญชาและกัญชงทั้งในและต่างประเทศมายาวนาน ผลิตสารสกัด CBD จากต้นกัญชง ที่มีประโยชน์ทางการแพทย์มากมาย เช่น ลดอาการชักจากโรคปลอกประสาทเสื่อม (Multiple Sclerosis), โรคลมชักที่ไม่ตอบสนองต่อยา, ลดอาการวิตกกังวล, โรคนอนไม่หลับ, มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ สามารถช่วยในโรคสะเก็ดเงิน รวมถึงผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์และเครื่องสำอางค์อื่นๆ ให้กับผู้ประกอบการธุรกิจ และผู้สนใจทั่วไป
“เป้าหมายของเมดิคาน่า คือการเป็นผู้นำในการเพาะปลูกต้นกัญชง ที่ได้มาตรฐาน และเพื่อให้ได้ผลผลิตช่อดอกกัญชงที่มีคุณภาพเทียบเคียงกับประเทศชั้นนำ เมดิคาน่า ให้ความสำคัญตั้งแต่การคัดสรรสายพันธุ์จากสายพันธุ์อเมริกา ที่ให้ปริมาณ Cannabidiol (CBD) สูงอันดับต้นๆ ของโลก พร้อมใช้ technique ในการปลูก และเก็บเกี่ยวแบบ perpetual harvest หรือการเกี่ยวเก็บผลผลิตแบบรายเดือน เพื่อการบริหารผลผลิตที่ง่ายขึ้นสำหรับ supply chain และ คุณภาพช่อดอกที่สูงที่สุด นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งเพาะปลูกต้นกล้า โดยมีห้อง Nursery ในการโคนนิ่งต้นกล้า เพื่อให้ได้ต้นพันธุ์ที่แข็งแรง ส่งต่อให้ได้ผลผลิตช่อดอกที่มีคุณภาพสูงตามไปด้วย”
ด้านนายศิรสิทธิ์ ปราณีนิจ กรรมการผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท เมดิคาน่า แล็บ จำกัด กล่าวว่า บริษัทมีแผนใช้เงินลงทุนกว่า 120 ล้านบาท ในการเดินหน้าพันธกิจ (Mission) สร้างเครือข่ายเพื่อธุรกิจกัญชา-กัญชง และผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลาง (Hub) ธุรกิจกัญชา-กัญชงของอาเซียน ด้วยการผนึกกำลังกับพันธมิตรเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรมกัญชา-กัญชงไทย ทั้งในรูปแบบผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ การท่องเที่ยว การส่งออก และผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยแผนการดำเนินงานจะแบ่งออกเป็น 2 เฟส ได้แก่
เฟส 1 ใช้งบลงทุนราว 20 ล้านบาท สำหรับการลงทุนในโรงเรือนเพาะปลูก Indoor Facility ที่ถูกออกแบบด้วยเทคโนโลยี smart farming ทำงานควบคู่กับระบบ IOT ซึ่งสามารถผลิตช่อดอกแห้ง (Medical grade CBD Flower) ได้ราว 500 กิโลกรัมต่อปี รวมถึง การวิจัยและพัฒนา พร้อมห้องปฏิบัติการต่างๆ เช่น ห้องทำดอก ห้องแยกสายพันธุ์ ห้อง Nursery เพาะเลี้ยงต้นกล้า เป็นต้น โดยผลผลิตลอตแรกจะออกสู่ตลาดในเดือนกรกฎาคม 2565 นี้ โดยกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ได้แก่ หน่วยงานองค์กรภาครัฐ (B2G) และ บริษัท เอกชนที่ต้องการดำเนินธุรกิจ (B2B) ซึ่งขณะนี้มีผู้สนใจและอยู่ระหว่างการเจรจาเบื้องต้นแล้วหลายราย
เฟส 2 ใช้งบลงทุนกว่า 100 ล้านบาท ในการลงทุนขยายกำลังการเพาะปลูก กำลังผลิตพร้อมต่อยอดธุรกิจจากต้นน้ำ สู่กลางน้ำและปลายน้ำ ด้วยการจับมือกับพันธมิตรในการลงทุนแบบครบวงจร เพื่อสร้างผลผลิตให้มากขึ้น การแปรรูปสู่ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เครื่องสำอางค์ ฯลฯ เพื่อรองรับตลาดในประเทศและการส่งออกไปต่างประเทศ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย และผลผลิตคุณภาพสูง
โดยในปี 2565 ทางบริษัทตั้งเป้าในการเติบโตก้าวกระโดด จากผลผลิตช่อดอกและต้นกล้าคุณภาพสูง และในปี 2566 จะเริ่มจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากกัญชา-กัญชง ทางบริษัทจะมีรายรับเพิ่มขึ้นกว่า 100% จากการเริ่มออกวางจำหน่ายและการส่งออกไปยังต่างประเทศ
“สิ่งที่เมดิคาน่าภาคภูมิใจคือ เราไม่ได้เดินบนอุตสาหกรรมกัญชา-กัญชงเพียงลำพัง แต่เรามีพันธมิตรที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมนี้ยาวนานทั้งในและต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ธาราเธรา คอร์ปอเรชั่น หนึ่งในองค์กรที่รวมผู้เชี่ยวชาญแขนงต่างๆ ทั้งด้านการเพาะปลูก วิจัยและพัฒนา แปรรูปพืชกัญชา-กัญชง, Jesse C. Stallknecht Prof. ผู้ก่อตั้งและผู้บริหารบริษัทด้าน Cannabis ชั้นนำในประเทศสหรัฐอเมริกา มานานกว่า 20 ปี ทำให้เราสามารถก้าวเดินไปข้างหน้า ด้วยผลผลิตที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับสากล”
นายศิรสิทธิ์ กล่าวอีกว่า กัญชา-กัญชง เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีโอกาสมากมาย ทั้งกัญชาทางการแพทย์ และผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม เครื่องสำอาง ฯลฯ ทำให้มองเห็นโอกาสในการเติบโตทั้งภายในประเทศและต่างประเทศอีกมากมาย หากทุกคนร่วมกันสร้างมาตรฐานที่ดี โดยเฉพาะการปลูกกัญชา-กัญชงในรูปแบบอินดอร์ ที่สามารถควบคุมและให้ผลผลิตได้ดี ซึ่งปัจจุบันมีดีมานด์สูง แต่ซัพพลายยังต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับการปลูกในรูปแบบเอาท์ดอร์ จึงมีโอกาสที่จะเติบโตได้อีกมาก :Cr;มณสิการ รามจันทร์