พิมพ์ไทยออนไลน์ // จับตา “บิ๊กตู่”จะเอาอยู่หรือไม่ หลังไฟเขียวมหาดไทยนำร่างสัญญาต่อขยายสัมปทานรถไฟฟ้า สายสีเขียวให้ “บีทีเอส”เข้าครม. แลกหนี้แสนล้าน แต่ถูกกระทรวงคมนาคมหักดิบขวางลำ อ้างค่าโดยสารแพงทั้งที่โครงการตนเองยังไปไม่ถึงไหน
กรณีกระทรวงมหาดไทยเตรียมเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี( ครม.) พิจารณาแนวทางการต่อขยายสัญญาสัมปทานรถไฟฟฟ้า สายสีเขียว 30 ปี ระหว่างกรุงเทพมหานคร (กทม.)กับ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน)หรือบีทีเอส (BTS) ตามข้อเสนอของคณะทำงานเจรจา เพื่อแลกกับการให้บริษัทแบกจรับภาระหนี้ของ กทม.ไปทั้งหมด และยังต้องจ่ายผลประโยน์ตอบแทนแก่รัฐอีกกว่า 200,000 ล้านบาท และตรึงอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า สายสีเขียวไว้สงสุดไม่เกิน 65 บาทตลอดสายด้วย
ทั้งนี้ แหล่งข่าวระดับสูงในกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า แนวทางการต่อขยายสัญญาสัมปทานดังกล่าว เป็นการดำเนินการ ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)เมื่อวันที่ 11 เม.ย.2562 เพื่อแก้ไขปัญหาภาระหนี้สินระหว่าง กทม.กับบีทีเอส โดยผลเจรจาที่ได้นั้นได้ผ่านความ
เห็นชอบให้มีการต่อขยายสัญญาสัมปทานบีทีเอสออกไปอีก 30 ปีจากที่สิ้นสุดในปี 2572 และได้ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจไปแล้วตั้งแต่ปลายปี 62 แต่ที่เกิดปัญหาขึ้นมา ก็เพราะกระทรวงคมนาคมที่มีการปรับเปลี่ยนรัฐมนตรีผู้กำกับดูแล ได้มีหนังสือทักท้วงการต่อขยายสัญญาสัมปทานดังกล่าว โดยอ้างว่ายังไม่เป็นไปตามกฎหมาย และมติ ครม. จึงทำให้กระบวนการแก้ไขสัญญาหยุดชะงัก และแม้กระทรวงมหาดไทย จะพยายามนำเสนอเรื่องต่อที่ประชุม ครม.มาแล้วถึง 2 ครั้ง แต่ก็ยังคงได้รับการทักท้วงจาก รมต.กระทรวงคมนาคมอย่างไม่ลดละ ทำให้หลายฝ่ายเชื่อว่า เป็นการดึงโครงการนี้เป็นข้อต่อรองทางการเมืองและ จับเอาประชาชสนคนกรุงเป็นเครื่องต่อรอง
ส่วนกรณีที่นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย(พท.) ออกมาคัดค้านการต่อขยายสัญญาสัมปทานบีทีเอสนั้น แหล่งข่าวเปิดเผยว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของนายยุทธพงศ์เอง พรรคไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้อง และไม่เข้าใจว่าเหตุใดนายยุทธพงศ์จึงออกมาเคลื่อนไหวในเรื่องนี้ ที่เป็นการดำเนินการที่สอดคล้อง กับกระทรวงคมนาคมและพรรคภูมิใจไทย(ภท.)ที่ต้องการใช้โครงการดังกล่าวเป็นเครื่องต่อรอง เพื่อแลกกับโครงการของกระทรวงคมนาคมที่อยู่ระหว่างการประมูล อาทิ โครงการประมูลก่อสร้างรถไฟทางคู่ 2สายทาง วงเงินกว่า 1.28 แสนล้านบาท, โครงการประมูลก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ วงเงิน 8.2 หมื่นล้านบาท และโครงการรถไฟฟ้า สายสีส้ม วงเงิน 1.427 แสนล้านบาท
“การลุกขึ้นมาคัดค้านของนายยุทธพงศ์นั้นที่ต้องการให้มีการโอนโครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้า สายสีเขียวกลับไปให้ รฟม.ดำเนินการเองนั้น เป็นที่น่าสังเกตว่า เป็นการนำเสนอที่ขาดเหตุผลและย้อนแย้งในตัวเองชัดเจน เพราะการโอนโครงข่ายดังกล่าวมาให้ กทม.นั้นเป็นการดำเนินการ ตามคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ให้กระทรวงคมนาคมและการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)ดำเนินการไปตั้งแต่ปี 2558-59 แล้วเพราะไม่สามารถจะแยกโครงข่ายรถไฟฟ้า สายสีเขียวส่วนต่อขยาย 2 สายทางที่อยู่คนละมุมโลกมาดำเนินการประมูลหาเอกชนรายใหม่ได้ แต่ นายยุทธพงศ์ กลับเสนอให้โอนคืนกลับไปให้ รฟม.ดำเนินการ ซึ่งก็คงหนีไม่พ้นเตรียมประเคนโครงการไปให้บริษัทเอกชนผู้รับสัมปทานบริหาร โครงข่ายรถไฟฟ้า รฟม.คือ กลุ่ม BEM บริหารต่อ ซึ่งนั่นจะยิ่งทำให้โครงการยุ่งขิงยิ่งกว่ายุงตีกันเข้าไปอีก”
แหล่งข่าวกล่าวว่า จะหวังให้ รฟม.บริหารโครงการเองก็คงไม่น่าจะใช่ เพราะแม้แต่โครงการรถไฟฟ้า สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย หรือสายสีม่วงใต้ที่ รฟม.เพิ่งประมูลเสร็จสิ้นไปวันก่อน รฟม.ก็จ้องประเคนโครงการให้ BEM บริหารจัดการเดินรถให้ โดยอ้างความต่อเนื่อง แล้วจะให้ตัดเอาส่วนต่อขยายรถไฟฟ้า สายสีเขียวออกไประมูลหาเอกชนรายใหม่เข้ามาเดินรถได้อย่างไร มันจะไม่ยุ่งขิงยิ่งกว่าหรือ?
ส่วนกรณีที่ กทม.ยังไม่สามารถจัดเก็บค่าโดยสารส่วนต่อขยาย2 สายทางได้ ต้องเปิดให้บริการฟรีมาตั้งแต่ปี 62 นั้น แหล่งข่าวกล่าวว่า ส่วนหนึ่ง ก็พราะคำสั่งหัวหน้าคสช.เมื่อวันที่ 11 เมย. 62 ที่ค้ำคออยู่ เพราะมติ ครม.ที่ให้กระทรวงมหาดไทยและคมนาคมไปหาข้อยุติร่วม จึงทำให้ กทม.ยังไม่สามารถจัดเก็บค่าโดยสารได้ จากที่เคยเสนอไปก่อนหน้านี้ และส่งผลให้หนี้ค่าจ้างเดินรถทั้งโครงการเดิม และส่วนต่อขยายวันนี้ทะลักขึ้นไปกว่า 12,000 ล้านบาทเข้าไปแล้ว
ส่วนกรณีที่อ้างว่า กทม.และมหาดไทยดำเนินการถูกต้องถูกตาม กม. เพราะไม่ได้แจ้งล่วงหน้า 3 ปี- 5 ปีตาม กม.(พรบ.ร่วมลงทุนปี 2562)นั้น แหล่งข่าวกล่าวว่า ในมาตรา 49 ห่างพรบ.ร่วมลงทุนฯปี 2562กำหนดไว้แต่เพียงให้หน่วยงานเจ้าของโครงการต้องจัดทำแนวทางในการดำเนิน
โครงการต่อเนื่องโดยเปรียบเทียนบกรณีที่รัฐดำเนินการเองกับการให้เอกชนร่วมลงทุน โดยต้องนำเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัดไม่น้อยกว่า5 ปี ก่อนสัญญาสัมปทานสิ้นสุดลงเท่านั้น แต่ในส่วนเหตุผลความจำเป็นในการแก้ไขสัญญาสัมปทานตามมาตรา 46,47และ48 นั้น ไม่ได้กำหนดในเรื่องกรอบเวลาเอาไว้ เพียงแต่ระบุว่า หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขสัญญาสัมปทาน หน่วยงานเจ้าของโครงการต้องนำเสนอเหตุผล ความจำเป็นเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด และขอความเห็นชอบจาก ครม.ก่อนลงนามในสัญญาเท่านั้น ซึ่งโครงการนี้ก็ได้ดำเนินการจามกรอบกฎหมายดังกล่าวมาตั้งแต่ต้น
“หากอยากรักษาผลประโยชน์ของชาติจริง ๆ เหตุใดไม่ล้วงลูกลงไปดู การประมูลสายสีม่วงใต้ และสายสีส้มของรฟม.บ้างว่า ทำไมถึงเต็มไปด้วยความล่าช้า และกรณีดังกล่าวหน่วยงานเจ้าของโครงการได้เม็ดเงินผลประโยชน์ตอบแทนจากเอกชนมากน้อยอย่างไร เมื่อเปรียบเทียบกับการต่อขยายรถไฟฟ้า สายสีเขียว ที่บีทีเอส นอกจากต้องแบกรับภาระหนี้ของ กทม.ไปแล้วยังต้องจ่ายผลตอบแทนให้ กทม.อีกกว่า 200,000 ล้านบาทด้วย
หรือกรณีที่การประปาส่วนภูมิภาค(กปภ.)ที่กำลังซุ่มเงียบเจรจาต่อขยายสัญญาสัมปทานประปาปทุมธานี-รังสิตออกไปอีก 20 ปี จากที่จะสิ้นสุดสัญญาในปีหน้า 2566 นี้ หน่วยงาน กปภ.ได้ดำเนินการ่จัดทำรายงานตามพระราชบัญญัติการร่วมใลงทุนฯปี 2562 หรือไม่อย่างไร และกปภ.ที่จะประเคนต่อสัญญาใหม่ให้เอกชสนรายเดิมไปอีก 20 ปีนั้น ได้ผลตอบแทนจากเอกชนกลับมาสักสตางค์แดงหรือไม่ เรนื่องแบบนี้ก็ไม่เห็นท่าน ส.ส.หารือพรรคจะลงมาให้ความสนใจ”