พิมพ์ไทยออนไลน์ // วงการวิทยุโทรทัศน์- สื่อสารโทรคมนาคม ลุ้นระทึกเปิดประชุมสภา-วุฒิสภา ปลดล็อคเคาะสรรหา กสทช.ชุดใหม่พ.ย.นี้ หลังกระแสข่าวสะพัดนายกฯงัด “บิ๊กป.” หวั่นกระทบตลาดวิทยุ โทรทัศน์ และอุตสาหกรรมโทรคมนาคม รวมถึงดาวเทียมสื่อสารประเทศ
แหล่งข่าวในวงการโทรคมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้วงการวิทยุโทรทัศน์และโทรคมนาคม ต่างลุ้นระทึกถึงการเปิดประชุมสภาผู้แทน และวุฒิสภาในเดือน พ.ย.64- ก.พ.65 นี้ โดยคาดหวังว่า ที่ประขุมวุฒิสภาจะให้ความเห็นชอบรายชื่อกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชา
ติ(กสทช.) ชุดใหม่ ตามที่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภานำเสนอได้ หลังจากที่กระบวนการสรรหาและแต่งตั้ง กสทช.ชุดใหม่ ต้องล้มลุกคลุกคลานมาร่วม 10 ปี
แม้จะมีรายงานว่าที่ประชุมวุฒิสภา ที่ได้แต่งตั้งคณะกรรมาธิการสามัญ เพื่อตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของว่าที่ กสทช. โดยมีพลเอกอู้ด เบื้องบน เป็นประธาน โดยเป็นที่น่าสังเกตว่า รายชื่อกรรมาธิการตรวจสอบประวัติว่าที่กสทช.ทั้ง 15 คนดังกล่าว ล้วนมีความใกล้ชิดพล
เอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีโดยตรง
ทำให้มีกระแสสะพัดว่า เกิดความไม่ลงรอยกันในเรื่องของรายชื่อว่าที่ กสทช.ที่ส่งมาดังกล่าว เนื่องจากยังคงมีความสัมพันธ์กับกลุ่มทุนที่หวังครอบงำ กสทช. จึงทำให้เชื่อว่า ที่ประชุมวุฒิสภาจะให้ความเห็นชอบ ว่าที่ กสทช.ชุดใหม่เพียง 4 รายเท่านั้น และจะให้สำนักงานเลขาฯ กลับไปดำเนินการสรรหาว่าที่ กสทช
.เพิ่มเติมอีก 3 ราย
อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวในวงการโทรคมนาคม กล่าวว่า ทุกฝ่ายต่างคาดหวังว่า ที่ประชุมวุฒิสภาจะให้ความเห็นชอบว่าที่ กสทช.ชุดใหม่ เพื่อจะได้ปฏิบัติหน้าที่วางรากฐานการกำกับดูแลกิจการวิทยุ โทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมได้อย่างเป็นรูปธรรมเสียที หลังจาก กสทช.ชุดปัจจุบันต้องอยู่โยงทำหน้าที่ดัง
กล่าวมากว่า 10 ปีแล้ว ยังผลให้การวางหลักเกณฑ์ในการจัดระเบียบวิทยุ โทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมขาดความต่อเนื่อง และต้องหยุดชะงักมาหลายปี
ล่าสุดยังมีแนวโน้มว่า หากกระบวนการสรรหาและแต่งตั้ง กสทช.ต้องล่าช้าออกไปอีก จะกระทบต่อกิจการดาวเทียมสื่อสารของประเทศตามมา เนื่องจากที่ผ่านมาประเทศไทยไม่สามารถจะยิงดาวเทียมขึ้นไปรักษาสิทธิ์วงโคจรได้ตามเงื่อนไขที่สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU)กำหนด จึงมีแนวโน้มที่ ITU
อาจยึดวงโคจรดาวเทียมในตำแหน่งที่ 50.5 องศาตะวันออกและ 142 องศาตะวันออกไปให้กับประเทศอื่นที่มีความพร้อมมากกว่าได้
แหลงข่าวกล่าวว่าก่อนหน้านี้ ผู้บริหาร กสทช.ได้ยอมรับต่อที่ประชุมคณะกรรมาธิการ(กมธ.) การสื่อสารโทรคมนาคมและดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ว่า ประเทศไทยมีความเสี่ยงที่อาจถูก ITU ยึดตำแหน่งวงโคจรดาวเทียมไป หลังจาก กสทช.ยังไม่สามารถประมูลสิทธิ์ในการยิงดาวเทียมขึ้นไปรักษา
ตำแหน่งวงโคจรเอาไว้ เพราะมีบริษัทเอกชนคือ ไทยคมเข้าประมูลเพียงรายเดียว ทำให้ไม่เกิดการแข่งขัน จึงทำให้ต้องเลื่อนการประมูลออกไป
“ความล้มเหลวในการจัดเประมูลสิทธิ์ยิงดาวเทียมในช่วงที่ผ่านมาปฏิเสธไม่ได้ว่า รัฐบาล และกระทรวงดีอีเอส ย่อมปฏิเสธความรับผิดชอบไปไม่พ้นเช่นกัน โดยเฉพาะ รมต.ดีอีเอสเองเป็นผู้ส่งหนังสือขอให้ กสทช.ชะลอการประมูลออกไป ด้วยข้ออ้างยังมีเวลาเหลือเฟือ ขณะที่ไทม์ไลน์ในการที่ไทยจะต้องยิงเดา
วเทียมเพื่อรักษาสิทธิ์วงโคจรดาวเทียมนั้น เหลือไม่ภถึง 2 ปีแล้ว
นอกจากนี้ยังมีภารกิจอีกหลายเรื่องที่รอ กสทช.ชุดใหม่เข้ามาขับเคลื่อน ทั้งการจัดระเบียบวิทยุ และวิทยุชุมชน การทบทวนบทบาทกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ และโดยเฉพาะการจัดระเบียบบริการ OTT และบรรดาแพลตฟอร์
มที่เข้ามาฝังรากลึกหากินอยู่ในเมืองไทย โดยยังคงปราศจากหลักเกณฑ์มาตรฐานในการกำกับดูแล
สำหรับรายชื่อตัวบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบให้เป็น 7 ว่าที่ กสทช.ชุดใหม่ ประกอบด้วย ด้านกิจการกระจายเสียง พล.อ.ท.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ, ด้านกิจการโทรทัศน์ นางพิรงรอง รามสูต, ด้านกิจการโทรคมนาคม นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ, ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์, ด้านการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน นายต่อพงศ์ เสลานนท์,ด้านอื่นๆ (ด้านกฎหมาย) ร.ท.ธนกฤษฏ์ เอกโยคยะ และด้านอื่นๆ (ด้านเศรษฐศาสตร์) นายศุภัช ศุภชลาศัย