พิมพ์ไทยออนไลน์ // แฉเบื้องหลัง มท.ถอนวาระต่ออสัมปทานรถไฟฟ้า สายสีเขียวออกจาก ครม. เหตุคมนาคมเล่มเกมยื้อสุดลิ่ม ยก 4 เหตุผลขวางเต็มพิกัด วงในมึนข้ออ้างสุดมั่วนิ่มคมนาคมดิ้นขอคืนส่วนต่อขยายหวังประเคนกลุ่มทุนหน้าเก่า ซัดหากรัฐดำเนินการได้ผลประโยชน์มากกว่า เที่ยวไปยก “แอร์พอร์ตลิงค์” รถไฟฟ้าในมือ รฟม.ประเคนกลุ่มทุนการเมืองทำไม
เป็นอีกคำรภ ที่เส้นทางการพิจารณาข้อเสนอต่อขยายสัมปทานรถไฟฟ้า สายสีเขียว ระหว่างกรุงเทพมหานคร (กทม.)กับ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTS) ต้องถูกถอนออกจากวาระการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม ที่ผ่านมา หลังจากที่กระทรวงคมนาคมกระโดดออกมาขวางแนวทางดังกล่าวเต็มพิกัด ด้วยข้ออ้างเดิมไม่เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว
โดยกระทรวงคมนาคมได้เสนอความเห็นประกอบการพิจารณาของครม.ยืนยันว่า ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอต่อสัญญาสัมปทานบีทีเอส โดยระบุว่า ได้ทำความเห็นแย้งมาถึง 8 ครั้งแล้ว หากกระทรวงมหาดไทยและ กทม.จะเดินหน้าต่อสัญญาสัมปทานโครงการ ก็ต้องทำให้เกิดความชัดเจน ถูกต้องเป็นไปตามระเบียบกฎหมาย ตลอดจนหลักธรรมาภิบาล พร้อมยังระบุด้วยว่า ที่ผ่านมากระทรวงคมนาคมได้จัดประชุมเพื่อร่วมหาข้อยุติร่วมกับกระทารวงมหาดไทยและ กทม.ตามที่นายกฯ มอบหมายแล้ว และได้สอบถามขอข้อมูลรายละเอียดไปยัง กทม.หลายครั้ง แต่ กทม.ไม่จัดส่งรายละเอียดให้ ทำให้ไม่สามารถจะพิจารณาได้
.แฉเบื้องหลังคมนาคมตีรวนขวาง กทม.–บีทีเอส
อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวระดับสูงใน กทม. เปิดเผยว่า เมื่อพิจารณาข้อท้วงติงของกระทรวงคมนาคมแล้ว ทุกฝ่ายได้แต่ “อึ้งกิมกี่” เพราะมีข้อท้วงติงและข้อเสนอที่แตกต่างไปจากข้อท้วงติงเดิมที่กระทรวงคมนาคมเคยนำเสนอต่อที่ประชุม ครม.เมื่อวันที่ 17 พ.ย.2563 จนทำให้เส้นทางการพิจารณาต่อขยายสัมปทานรถไฟฟ้า สายสีเขียว เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินคงค้างที่ กทม.มีอยู่กับผู้รับสัมปทานเอกชนไม่สามารถหาข้อยุติได้
โดยแต่เดิม กระทรวงคมนาคมได้อ้าง ประเด็นในเรื่องความครบถ้วนในการดำเนินการตาม พรบ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนปี 2562 และการกำหนดอัตราค่าโดยสารที่กำหนดไว้ 65 บาทตลอดสาย โดยอ้างว่าเป็นอัตราที่ไม่เหมาะสมเป็นธรรม พร้อมขอให้ กทม.และบีทีเอสแสดงต้นทุนที่มาที่ไปในการคำนวณอัตราค่าโดยสารดังกล่าว
แต่ล่าสุดกระทรวงคมนาคมได้เพิ่มเติมข้อท้วงติงใหม่ขึ้นมาอีกหลายข้อ ประกอบด้วย
1.หาก กทม.จะขยายสัญญาสัมปทานในช่วงที่ยังไม่มีกรรมสิทธิ์ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย กทม. ควรชำระหนี้สินให้แก่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ให้เรียบร้อยก่อนจะเริ่มกระบวนการจัดหาผู้ให้บริการในโครงข่ายสีเขียว ส่วนต่อขยาย
2.หาก กทม.ไม่มีความประสงค์จะให้บริการสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย ก็ควรเสนอ ครม.เพื่อทบทวนมติ ครม.เมื่อ 26 พ.ย.61 และมอบหมายให้ รฟม.ดำเนินการ(โอนโครงการกลับคืน รฟม.) 3. หากจะมีการต่อขยายสัญญาสัมปทาน บริษัทต้องแจ้งความประสงค์ไปยัง กทม.ในเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปีและไม่มากกว่า 5 ปีก่อนวันสิ้นสุดสัญญา เนื่องจากต้องให้หน่วยงานที่กำกับดูแลพิจารณาความคุ้มค่าของโครงการร่วมทุนที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งอัตราเงินเฟ้อ และดัชนีผู้บริโภค และต้องได้รับการอนุมัติจาก ครม.ก่อน
และ 4.กรณี กทม. มีภาระหนี้จากการว่าจ้างเอกชนติดตั้งระบบเดินรถไฟฟ้าและว่าจ้างเดินรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายทั้ง 2ส่วน ที่ได้ทำเมื่อปี 59 ควรมีการตรวจสอบสัญญาว่า มีความชอบด้วยกฎหมาย ระเบียบการจัดซื้อจัดจ้าง เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลหรือไม่ จะส่งผลต่อมูลหนี้ดังกล่าวว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ต่อไป
.อ้างรัฐ/กทม.เองทำได้ประโยชน์มากกว่า
นอกจากนี้ ในรายงานของกระทรวงคมนาคมยังระบุด้วยว่า จากการศึกษาข้อมูลยังพบว่า ผลประโยชน์ของภาครัฐที่จะได้รับตลอดระยะเวลาสัมปทานถึงปี 2602 ตามที่กระทรวงมหาดไทย(มท.) เสนอต่อขยายอายุสัญญา 30 ปีนั้น กรณีที่รัฐดำเนินการเองจะมีผลประโยชน์สูงกว่ากรณีให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการ โดยพบว่า กรณี กทม.ดำเนินการเองภาครัฐจะมีกระแสเงินสดสุทธิ (ปี 2602) 4.67 แสนล้านบาท แต่หาก กทม. ให้เอกชนดำเนินการ ภาครัฐจะมีกระแสเงินสดสุทธิในปี 2602 จำนวน 3.26 หมื่นล้านบาท ซึ่งหมายถึงหากรัฐดำเนินการเองจะมีกระแสเงินสดสุทธิมากกว่ากรณีให้เอกชนสูงถึง 4.35 แสนล้านบาท
เจอไม้นี้เข้าให้ก็ทำเอา รมว.มหาดไทย (มท.) และกทม.ไปไม่เป็น ได้แต่ถอนเรื่องออกไปจาก ครม.เพราะสิ่งที่กระทรวงคมนาคมออกโรงคัดง้างดังกล่าวมีการปรับเปลี่ยนข้อโต้แย้งและระอุข้อโย้แย้งใหม่ไปเรื่อย แถมสิ่งที่หยิบยกขึ้นมาขวางต่อการขยายสัมปทานนั้น ทุกฝ่ายต่างรู้กันอยู่เต็มอก เพราะต้องการนำโครงการนี้มาเป็นข้อต่อรองทางการเมือง เพื่อแลกกับการเดินหน้าโครงการรถไฟฟ้า สายสีส้ม และสีม่วงใต้ที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน(รฟม.)กำลังดำเนินการอยู่ และไม่ว่า กทม.จะชี้แจงอย่างไรก็เชื่อว่า หนทางกระเตงโครงการดังกล่าวเข้า คารม.ก็คงถูกกระทรวงคมนาคมตั้งแท่นขวางลำอยู่ดี”
.อัดข้อมูลตีรวนสุดมั่วคมนาคม
แหล่งข่าว เปิดเผยว่าหากทุกฝ่ายจะได้พิจารณาข้อโต้แย้งของกระทรวงคมนาคม ในประเด็นที่ว่าหากจะเจรจาต่อขยายสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้า สายสีเขียวให้ครอบคลุมไปถึงโครงข่ายรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ กทม.ยังไม่ได้เป็นเจ้าของ ควรจ่ายหนี้ค้างให้ รฟม.ให้เรียบร้อยก่อนนั้น ประเด็นดังกล่าวล้วนถูกบรรจุไว้ในข้อสัญญาการต่อขยายสัมปทานใหม่ที่ขจะมีขึ้นอยู่แปล้ว ที่บีทีเอส(BTS)จะต้องชำระหนี้ค้างทั้งหมดแทน กทม. จึงไม่ใช่ประเด็นปัษหา
ส่วนข้อ 2 ที่อ้างว่าหาก กทม.ไม่สามารถบริหารโครงข่ายรถไฟฟ้า สายสีเขียวส่วนต่อขยาย2 สายได้เอง ควรโอนคืนให้กับรฟม.นั้น ปัญหาที่จะมีตามมาก็คือ จะทำให้เกิดปัญหาคอขวดและการเชื่อมต่อโครงข่าย เพราะหากสิ้นสุดสัมปทานสายหลักในปี 72 และกทม.ต้องเปิดประมูลหาเอกชนเข้ามาเดินรถ หากผู้รับจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวหลักคือกลุ่ม บีทีเอสเดิม ในขณะที่ รฟม.นั้นไปว่าจ้างอีกกลุ่มเข้ามาเดินรถ ก็จะเกิดปัญหาในการเชื่อมต่อ เพราะเป็นคนละระบบ สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนและอาจทำให้อัตราค่าโดอยสารสูงลิบลิ่วกลายเป็นความเดือดร้อนของประชาชนผู้ใช้บริการทันที
กระทรวงคมนาคมคิดว่า รฟม.-กทม.มีศักยภาพที่จะบริหารได้เองหรืออย่างไร ก็ขนาด รฟม.ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นเจ้าของโครงข่ายรถไฟฟ้ารอบกรุงนับ 10 สาย ก็ยังไม่มี่ปัญญาบริหารโครงการได้เอง ต้องประเคนสัมปทานไปให้ BEM บริหารทุกโครงการไม่ใช่หรือ แล้วตัวเองจะเอาโครงการส่วนต่อขยายสายสีเขียวกลับไปทำไม จะเอาไปบริหารเอง หรือเอาไปเพื่อหวังประเคน BEM บริหารกันแน่”
3.หากจะมีการต่อขยายสัญญาสัมปทาน บริษัทต้องแจ้งความประสงค์ไปยังกทม. ในเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปีและไม่มากกว่า 5 ปีก่อนวันสิ้นสุดสัญญา และต้องให้หน่วยงานที่กำกับพิจารณาความคุ้มค่าของโครงการร่วมทุนที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งอัตราเงินเฟ้อ และดัชนีผู้บริโภคข้อเสนอดังกล่าวเท่ากับ กระทรวงคมนาคมกำลังจะให้กรมชขนส่งทางรางเข้ามากำกับดูแลโครงการและอาศัยเป็นเครื่องมือในการพิจารณาว่าจะให้ใครเป็นเจ้าของโครงการ และหากกรมขนส่งทางรางมีอำนาจขนาดนั้นจริง เหตุใด กรณีเปิดประมูลสัมปทาน รถไฟฟ้า สายสีส้ม ที่กำลังเปิดประมูลโดยรฟม.พยายามนำหลักเกณฑ์การคัดเลือกสุดพิสดารมาใช้ ทำไมกรมขนส่งทางรางจึงไม่สอดมือเข้าไปพิจารณาดูบ้างในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลรถไฟฟ้า
ส่วนข้ออ้างที่ 4 ที่ว่าควรมีการตรวจสอบสัญญาว่าจ้างการเดินรถระหว่าง กทม.และบีทีเอสตั้งแต่ต้นว่าถูกต้องชอบธรรมหรือไม่นั้น ประเด็นการตรวจสอบนั้นทาง กทม.ยืนยันว่าสัมปทานรถไฟฟ้า สายสีเขียวได้มีการดำเนินการภายใต้ข้อตกลงคุณธรรม Integrity pack มาตั้งแต่แรกอยู่แล้ว หากจะให้เหมาะสมควรตรวจสอบภาระหนี้ก่อสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้า 2 สาย ที่ รฟม.โยนโครมมาให้ กทม.แบกรับแทนจะเหมาะสมมากกว่า เหตุใด จึงไม่เรียกร้องเอากับ กทม.ทั้งที่เป็นโครงข่ายรถไฟฟ้าที่รัฐจะต้องลงทุนอยู่แล้ว อีกทั้งในส่วนของโครงการรถไฟฟ้าของ รฟม.เองจนป่านนี้ก็ยังไม่มีโครงการใดดำเนินการตามข้อตกลงคุณธรารมด้วยซ้ำ
.แฉจ้องประเคนโครงข่ายให้กลุ่มทุนการเมือง
กับข้ออ้างของกระทรวงคมนาคมที่ระบุว่า หากรัฐ/กทม.ดำเนินโครงการเองผลประโยชน์ของภาครัฐที่จะได้รับตลอดระยะเวลาสัมปทาน 30 ปี ถึงปี 2602 จะมากกว่าให้สัมปทานเอกชน โดยรัฐจะมีกระแสเงินสดสุทธิ (ปี 2602) 4.67 แสนล้านบาท และหาก กทม. ให้เอกชนดำเนินการจะเหลือเงินสดเมื่อสิ้นสุดสัมปทานในปี 2602 จำนวน 3.26 หมื่นล้านบาทเท่านั้น แหล่งข่าวกล่าวว่า หากการให้รัฐ/กทม.ดำเนินโครงการเอง เป็นวิธีการที่ดีที่สุด ทำให้รัฐมีกระแสเงินสดหรือได้ผลประโยชน์มากกว่าให้สัมปทานเอกชนไปแล้ว
เหตุใดกระทรวงคมนาคมถึงประเคนโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ ทีรัฐลงทุนไปกว่า 35,000 ล้าน รวมทั้งรถไฟฟ้า สายสีส้ม ที่รัฐต้องลงทุนกว่า 1.427 แสนล้านบาทกับรถไฟฟ้า สายสีม่วงใต้อีกกว่า 100,000 ล้านไปให้เอกชนดำเนินการแทน เหตุใดไม่ให้ รฟม.บริหารโครงข่ายเองในเมื่อการให้รัฐดำเนินการเองดีกว่า เพราะรัฐลงทุนในโครงขย่ายไปมากกว่า 80%อยู่แล้ว
นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมก็ควรตรวจสอบสัมปทานรถไฟฟ้าของตนเองทั้งสายสีน้ำเงินและสีม่วงเหนือด้วยว่า หลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน 30 ปีแล้ว รฟม.จะเหลือกระแสเงินสดเท่าไหร่ เพราะในส่วนของ กทม.นั้นยืนยันว่าการต่อขยายสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้า สายสีเขียวในคึรั้งนี้ บริษัทเอกชนคู่สัญญายังต้องจ่ายค่าสัมปทานให้แก่รัฐอีก 200,000 ล้านบาทด้วย
ขณะที่นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม กล่าวว่า สาเหตุการถอนเรื่องไม่ได้มาจากกระทรวงคมนาคมขัดขวางการนำเสนอ ครม.เพราะเลขาธิการ ครม.ได้แจ้งก่อนเข้าวาระว่ากระทรวงมหาดไทยขอถอนเรื่องแต่ไม่ได้แจ้งสาเหตุ โดยกระทรวงคมนาคมยังยืนยันประเด็นที่เคยเสนอทักท้วงการต่อสัญญา 4 เรื่องที่เสนอไปก่อนหน้านี้
ยืนยันว่า การพิจารณาเรื่องดังกล่าวต้องพิจารณาว่า ดำเนินการครบถ้วนตามระเบียบกฎหมายและมติ ครม.เรียบร้อยแล้วหรือไม่ ซึ่งได้มีข้อทักท้วงเพราะเห็นว่า การดำเนินการยังไม่ครบถ้วนตามระเบียบกฏหมายและมติครม.”
2 ปีสายสีส้ม-สีเขียว วนในอ่าง!
ตลอดระยะเวลาร่วม 2 ปีที่ผ่ารนมานั้น กล่าวด้วยว่า รถไฟฟ้า สายสีส้ม (บางขุนนนท์-มีนบุรี) และการต่อขยายสัมปทานรถไฟฟ้า สายสีเขียว ระหว่าง กทม.กับบมจ.บีทีเอสนั้น ยังคงย่ำอยู่กับที่ ทั้งที่กรณีหลังนั้นเป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) และคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่สั่งให้กระทรวงมหาดไทย และกทม.ไปดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างที่ กทม.มีอยู่กับ รฟม.ภายหลังการรับมอบโครงข่ายรถไฟฟ้า สายสีเขียว ส่วนต่อขยาย 2 สายไปดำเนินการ
แต่เส้นทางการต่อขยายสัมปทานรถไฟฟ้า สายสีเขียวกลับถูกลากเข้ารก เข้าพง จากกรณีที่กระทรวงคมนาคมสอดมือเข้ามาขัดขวางและลากโครงการดังกล่าวไปเป็นเกมต่อรองทางการเมือง เพื่อแลกกับรถไฟฟ้า สายสีส้ม ที่ รฟม.เปิดประมูลมากว่า 2 ปี แต่ต้องล้มลุกคลุกคลานไม่ขยับไปไหน เพราะมีคดีที่คั่งค้างอยู่ในศาล จากการที่ฝ่ายบริหาร รฟม.และคณะกรรมการคัดเลือกฯ ลุกขึ้นมาปรับเปลี่ยนเกณฑ์พิจารณาคัดเลือก จนถูก บีทีเอสยื่นฟ้อง ทำให้โครงการหยุดชะงักจนปัจจุบัน
จุดนี้เองที่เป็นมูลเหตุให้มีความพยายามจากฝ่ายการเมือง ที่จะบีบให้ บีทีเอส รามือจากโครงการรถไฟฟ้า สายสีส้ม เพื่อแลกกับการเดินหน้าโครงการ และแลกกับการให้กระทรวงคมนาคมรามือจากโครงการรถำไฟฟ้า สายสีเขียวเช่นกัน“
ทั้งหลายทั้งปวง จึงขึ้นอยู่กับนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่จะผ่าทางตันให้สะเด็ดน้ำเสียที จะปล่อยให้คาราคาซังกันอยู่อย่างนี้ ทิ้งระเบิกเวลาเอาไว้ให้นายชัชชาติ สิทธิพันธ์ ว่าที่ผู้ว่า กทม.เข้ามาหาทางออกแทนอย่างวนั้นหรือ อย่าลืมว่านายชัชชาติ นั้นคืออดีต รมต.คคมนาคมที่รู้ตื้นลึกหนาบางคารงการดังกล่าวเป็นอย่างดี
หากสุดท้ายแล้วการแก้ไขปัญหานรี้สำเร็จลุล่วงได้ในมือของผู้ว่า กทม.แล้วรัฐบาลจะไปมีความหมายอะไร?