วันอังคาร, ธันวาคม 24, 2024

หนังสือพิมพ์ พิมพ์ไทยออนไลน์

หน้าแรกประชาสัมพันธ์4 กองทุน RMF เด่นปี 2567 สำหรับวางแผนกองทุนมนุษย์เงินเดือน

4 กองทุน RMF เด่นปี 2567 สำหรับวางแผนกองทุนมนุษย์เงินเดือน

พิมพ์ไทยออนไลน์//Retirement Mutual Fund หรือ RMF คือ “กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ” ที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้คนไทยมีช่องทางในการออมเงินเพื่อใช้สำหรับในช่วงวัยเกษียณ เป็นกองทุนรวมที่เมื่อเริ่มมีการลงทุนแล้ว ผู้ลงทุนจะต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี หรืออย่างน้อยต้องลงทุนแบบปีเว้นปี โดยผู้ลงทุนจะขายคืนหน่วยลงทุนได้เมื่อมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาใกล้เกษียณอายุจากการทำงานพอดี

มนุษย์เงินเดือนวางแผนซื้อกองทุน RMF อย่างไรดี

กองทุน RMF นับเป็นกองทุนรวมที่ตอบโจทย์สำหรับวัยทำงานเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งมนุษย์เงินเดือนด้วยแล้ว ควรวางแผนในการซื้อกองทุนรวม RMF เนื่องจากหลังจากที่เกษียณอายุ มนุษย์เงินเดือนจะขาดรายได้ที่เคยได้รับ ดังนั้นการวางแผนเก็บเงินเพื่อใช้จ่ายในวัยเกษียณจึงเป็นสิ่งสำคัญ และการซื้อ RMF ก็ตอบโจทย์นี้ได้เป็นอย่างดี

อันดับแรกสำหรับการวางแผนเพื่อซื้อกองทุน RMF สิ่งที่มนุษย์เงินเดือนจะต้องทำความเข้าใจก่อนก็คือ เงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน RMF นั่นคือ

  1. ช่วยลดภาษี กองทุน RMF ทุกกองทุนไม่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล และให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ด้วยการลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 30% ของรายได้ในปีนั้น แต่ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
  2. RMF ซื้อได้เท่าไหร่ การหาจำนวนเงินสูงสุดที่ซื้อได้ ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข คือ ซื้อได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้ทั้งปี เมื่อนำไปรวมกับการการออมและกองทุนเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
  3. การถือครองหน่วยลงทุน กองทุน RMF ต้องมีการลงทุนต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 5 ปี นับจากวันที่เริ่มซื้อ และซื้อต่อเนื่องไปจนถึงอายุ 55 ปีบริบูรณ์ ถึงจะขายคืนหน่วยลงทุนได้ ซึ่งหากมีการซื้อ RMF เพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นกองเดิมหรือกองใหม่ ก็จะใช้วิธีนับต่อจากการซื้อครั้งแรก
  4. เงื่อนไขการขายกองทุนรวม RMF นอกจากการถือครอง 5 ปีแล้ว ผู้ลงทุนจะต้องมีอายุ 55 ปีบริบูรณ์เท่านั้น จึงจะสามารถขายคืนได้แบบไม่ผิดเงื่อนไข
  5. ไม่มีขั้นต่ำในการซื้อ RMF แต่จะต้องมีการลงทุนต่อเนื่อง สามารถเว้นได้ไม่เกิน 1 ปี หรือลงทุน RMF แบบปีเว้นปี
  6. สับเปลี่ยนการลงทุนระหว่าง RMF ได้ ผู้ลงทุนสามารถสับเปลี่ยนการลงทุนในกองทุน RMF ไปยัง RMF กองอื่น ๆ ที่มีให้เลือกได้ ถือว่าไม่ผิดเงื่อนไข

หากทำผิดเงื่อนไขกองทุน RMF ต้องจัดการอย่างไรดี

กรณีที่ผู้ลงทุนมีการทำผิดเงื่อนไขการซื้อ RMF จะต้องถูกตัดสิทธิประโยชน์ในการซื้อ RMF ลดหย่อนภาษี และต้องดำเนินขั้นตอนต่าง ๆ เพิ่มเติม ตามการผิดเงื่อนไขแต่ละกรณี คือ

  1. ซื้อเกินสิทธิที่ซื้อได้
    • หากยังไม่ได้นำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษี และเป็นการซื้อ RMF ปีแรก สามารถขายคืนส่วนที่เกินสิทธิในปีนั้น ๆ ได้ และหากมีกำไรจากการขายหน่วยลงทุน RMF จะต้องนำไปคิดเป็นเงินได้เพื่อคำนวณภาษีในปีนั้น ๆ ด้วย
    • หากเคยซื้อกองทุน RMF มาแล้ว และปีนี้ซื้อเกินสิทธิ ไม่ควรขาย เพราะ RMF บันทึกต้นทุน Average Cost เพราะหากขาย จะไม่ได้ขายยอดที่ซื้อในปีนี้ ดังนั้น ควรรอขายคืนเมื่อครบอายุกองทุน RMF แล้วนำกำไรจากการขายคืนส่วนที่เกินสิทธิไปยื่นภาษีรวมกับเงินได้ในปีนั้น ๆ
  2. ขาย RMF คืนก่อนอายุครบ 55 ปี และลงทุนน้อยกว่า 5 ปี
    ผู้ลงทุนต้องคืนภาษีทั้งหมดที่ได้สิทธิลดหย่อนไป พร้อมเบี้ยปรับเพิ่มเติมร้อยละ 5 ต่อเดือน จากยอดที่ต้องคืนภาษี หากจ่ายคืนล่าช้า กำไรที่ได้จากการขายคืนนำไปรวมเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษีในปีที่ขาย หากขาย RMF ไปแล้ว และยื่นภาษีภายในมีนาคมของปีถัดไปเราจะไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือน
  3. ขาย RMF คืนก่อนอายุครบ 55 ปี แต่ลงทุนมากกว่า 5 ปี
    ผู้ลงทุนต้องคืนภาษี 5 ปีย้อนหลังที่ได้สิทธิลดหย่อน ซึ่งมีเบี้ยปรับเพิ่มเติมร้อยละ 5 ต่อเดือนหากจ่ายคืนล่าช้า โดยปรับจากยอดที่ต้องคืนภาษี เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมของปีที่ขายผิดเงื่อนไข แต่ไม่ต้องนำกำไรจากการขายไปรวมกับเงินได้เพื่อคำนวณภาษี
  4. ลืมลงทุน RMF เกิน 1 ปีติดต่อกัน
    ผู้ลงทุนต้องคืนภาษี 5 ปีย้อนหลังที่ได้สิทธิลดหย่อน ซึ่งมีเบี้ยปรับเพิ่มเติมร้อยละ 5 ต่อเดือนหากจ่ายคืนล่าช้า โดยปรับจากยอดที่ต้องคืนภาษี เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมของปีที่ผิดเงื่อนไข

เมื่อทราบรายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีและเงื่อนไขต่าง ๆ ตลอดจนการดำเนินการหากทำผิดเงื่อนไขแล้ว หน้าที่ของมนุษย์เงินเดือนที่มีความสนใจซื้อกองทุนรวม RMF ก็คือ การทำตามเงื่อนไขต่าง ๆ ที่กองทุนกำหนดเพื่อให้สามารถรับสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีและออมเงินเพื่อการเกษียณได้อย่างเต็มที่ โดยอาจจะวางแผนด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

  1. คำนวณรายรับ-รายจ่าย และสภาพคล่องทางการเงินของตนเองในแต่ละเดือนให้ดี และต้องมั่นใจว่าจะสามารถมีเงินเย็นเพียงพอที่จะใช้ในการลงทุนในกองทุน RMF เพราะเงินจำนวนนี้จะไม่สามารถนำออกมาใช้ได้ หากต้องการได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างเต็มที่ และต้องการออมเงินเพื่อการเกษียณอย่างแท้จริง
  2. คำนวณรายได้สุทธิหลังหักค่าลดหย่อนต่าง ๆ ทั้งหมดให้เรียบร้อย เพื่อคำนวณว่าจะสามารถซื้อกองทุน RMF ลดหย่อนภาษีได้เพิ่มอีกเท่าไหร่ที่คุ้มค่าที่สุด
  3. วางแผนแบ่งสัดส่วนการออมเงินเพื่อการเกษียณ ทั้งจากการซื้อ RMF หรือการออมและกองทุนเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ เพื่อไม่ให้เกินจำนวนสูงสุด คือ 500,000 บาท
  4. ศึกษาข้อมูลของกองทุนรวม RMF ที่ตอบโจทย์ความต้องการในการลงทุน และระดับความเสี่ยงที่ตนเองยอมรับได้ โดยอาจจะศึกษาจากข้อมูลของ RMF แนะนำ หรือจากสินทรัพย์ที่สนใจ
  5. ลงทุนกับกองทุน RMF ที่มั่นใจ อย่าลืมหมั่นตรวจสอบการเติบโต ความผันผวนที่เกิดจากการลงทุน เพื่อปรับสัดส่วนกองทุน หรือสับเปลี่ยนกองทุน RMF หากจำเป็น และรอเวลาในการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์เมื่อครบกำหนด 55 ปี

เลือกกองทุน RMF ที่ใช่ วางแผนเกษียณตั้งแต่เนิ่น ๆ

การเลือกกองทุน RMF นั้นถือเป็นหนึ่งในเรื่องสำคัญของการวางแผนการเกษียณ เพราะหากเลือกกองทุน RMF ได้ตอบโจทย์ความต้องการในการลงทุนและระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของตนเอง ก็จะทำให้มีโอกาสที่จะไปถึงเป้าหมายเกษียณได้ตามที่วางแผนไว้ โดยการเลือกกองทุน RMF ที่ใช่ ใคร ๆ ก็สามารถทำได้ หากมีการศึกษาข้อมูลกองทุน RMF ที่หลากหลายมากเพียงพอ หรืออาจจะขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนการเงิน การลงทุน และการลดหย่อนภาษีโดยเฉพาะ เพื่อให้มีความมั่นใจเพิ่มมากขึ้นในการเลือกกองทุน RMF ก็ได้ จะได้ไม่เสียโอกาสในการลงทุนเริ่มต้นลงทุน RMF ทำได้อย่างไร

สำหรับใครที่เล็งเห็นถึงความสำคัญในการวางแผนเกษียณ และกำลังสนใจการลงทุนที่มีโอกาสได้รับผลตอบแทนของเงินลงทุนที่สูงขึ้นอย่าง RMF ก็สามารถเริ่มต้นลงทุน RMF ได้เลย วิธีการลงทุนในกองทุน RMF สามารถทำได้ดังนี้

  1. ศึกษาข้อมูลรายละเอียดของกองทุน RMF ที่สนใจ

เพื่อดูว่ากองทุนนั้น ๆ มีนโยบายการลงทุนที่ตอบโจทย์ความต้องการในการลงทุนเพื่อการเกษียณของตนเองมากน้อยแค่ไหน และควรเลือกกองทุนที่มีระดับความเสี่ยงที่ตนเองสามารถยอมรับได้ โดยอาจจะทำแบบประเมินความเสี่ยงประกอบการพิจารณา เพื่อให้ลงทุนได้อย่างสบายใจ

  1. เปิดบัญชีซื้อขายกองทุนรวม RMF

หากผู้ลงทุนยังไม่เคยซื้อกองทุนรวมมาก่อน สามารถเปิดบัญชีซื้อขายได้ที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา หากมีบัญชีซื้อขายแล้ว ก็สามารถเลือกซื้อได้เลย

  1. ลงทุนตามสิทธิที่ได้รับ อย่าให้เกิน

ไม่ควรลงทุนเกินเงื่อนไขที่กองทุน RMF ระบุไว้ เพราะการลงทุน RMF เกินสิทธิ มีแต่จะทำให้เกิดความยุ่งยากในการลงทุน เสียทั้งเวลา และอาจต้องเสียภาษีเพิ่มด้วย

  1. กระจายการลงทุน RMF ในสินทรัพย์ที่หลากหลาย

ควรลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลาย เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงจากการลงทุนไว้ในที่เดียวในระยะยาว นอกจากนี้การเลือกลงทุนกับกองทุน RMF ที่มีนโยบายการลงทุน และระดับความเสี่ยงของกองทุนที่แตกต่างกัน จะช่วยเพิ่มโอกาสในการได้รับผลตอบแทนที่ดีขึ้นอีกด้วย

  1. หมั่นลงทุน RMF อย่างต่อเนื่อง

ด้วยเงื่อนไขที่ต้องลงทุนเพิ่มอย่างน้อยปีเว้นปี อาจจะเลือกวางแผนการลงทุนแบบถัวเฉลี่ย หรือ DCA (Dollar-Cost Averaging) แบบหักอัตโนมัติ ด้วยการลงทุนในจำนวนเงินที่เท่า ๆ กันในแต่ละเดือนอย่างสม่ำเสมอ ข้อดีของการลงทุนวิธีนี้ คือ จะช่วยเฉลี่ยต้นทุน และไม่ต้องกังวลว่าจะลืมซื้อ RMF

  1. หมั่นปรับสมดุลพอร์ตการลงทุนในกองทุนรวม RMF

เนื่องจากการซื้อ RMF เป็นการลงทุนระยะยาว ซึ่งโอกาสที่ตลาดการลงทุน หรือสินทรัพย์ต่าง ๆ จะมีความผันผวนก็เป็นได้ตลอดเวลา ดังนั้นการหมั่นปรับสมดุลพอร์ต RMF จึงจะช่วยเพิ่มโอกาสให้ได้รับผลตอบแทนที่ดีกว่าได้

4 กองทุน RMF แนะนำจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา

สำหรับใครที่กำลังสนใจลงทุนในกองทุน RMF แต่ยังคิดไม่ตกว่าควรลงทุนในกองทุนรวม RMF กองไหนดี ทางธนาคารกรุงศรีอยุธยาก็มี 4 กองทุน RMF 2567 ที่โดดเด่นและน่าสนใจมาแนะนำ เหมาะสำหรับมนุษย์เงินเดือนที่มีความต้องการใช้ RMF ลดหย่อนภาษี สามารถเลือกพิจารณาได้เลย

  1. กองทุนเปิดกรุงศรีแอคทีฟตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ (KFAFIXRMF)

ประเภทกองทุน: กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ / กองทุนรวมตราสารหนี้ / กลุ่มกองทุนรวม Mid Term General Bond
ระดับความเสี่ยง: ระดับ 4 เสี่ยงปานกลางค่อนข้างต่ำ
สินทรัพย์ที่ลงทุน: ลงทุนตราสารหนี้ระยะกลางคุณภาพดีทั้งในและต่างประเทศ
เหมาะกับใคร: เหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการลดหย่อนภาษี และยอมรับความเสี่ยงได้ปานกลางค่อนข้างต่ำ คาดหวังความสม่ำเสมอของผลตอบแทน
รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก

  1. กองทุนเปิดกรุงศรีโกลบอลสมาร์ทอินคัมเพื่อการเลี้ยงชีพ (KFSINCRMF)

ประเภทกองทุน: กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ / กองทุนรวมตราสารหนี้ / กองทุนรวมหน่วยลงทุนประเภท Feeder Fund / กลุ่มกองทุนรวม Global Bond Fully F/X Hedge
ระดับความเสี่ยง: ระดับ 5 เสี่ยงปานกลางค่อนข้างสูง
สินทรัพย์ที่ลงทุน: ลงทุนตราสารหนี้หลากหลายประเภททั่วโลก
เหมาะกับใคร: เหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการลดหย่อนภาษี รับความเสี่ยงได้ตั้งแต่ระดับ 5 ขึ้นไป และต้องการสร้างความสม่ำเสมอของผลตอบแทน
รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก

  1. กองทุนเปิดกรุงศรีหุ้นไดนามิคเพื่อการเลี้ยงชีพ (KFDNMRMF)

ประเภทกองทุน: กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ / กองทุนรวมตราสารทุน / กลุ่มกองทุนรวม Equity General
ระดับความเสี่ยง: ระดับ 6 เสี่ยงสูง
สินทรัพย์ที่ลงทุน: ลงทุนเชิงรุก เพื่อมุ่งหวังผลตอบแทนสูงกว่าดัชนี SET TRI
เหมาะกับใคร: เหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการลดหย่อนภาษี ความเสี่ยงได้ตั้งแต่ระดับ 6 ขึ้นไป และสามารถรับความผันผวนของราคาหุ้นที่กองทุนไปลงทุนได้
รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก

  1. กองทุนเปิดกรุงศรีโกลบอลแบรนด์อิควิตี้เพื่อการเลี้ยงชีพ (KFGBRANRMF)

ประเภทกองทุน: กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ / กองทุนรวมตราสารทุน / กองทุนรวมหน่วยลงทุนประเภท Feeder Fund / กลุ่มกองทุนรวม Global Equity
ระดับความเสี่ยง: ระดับ 6 เสี่ยงสูง
สินทรัพย์ที่ลงทุน: ลงทุนในหุ้นแบรนด์เด่นของบริษัทชั้นนำที่คนทั่วโลกเลือกใช้
เหมาะกับใคร: เหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการลดหย่อนภาษี และเพิ่มโอกาสลงทุนในอุตสาหกรรมสินค้าแบรนด์ที่แข็งแกร่ง และมีชื่อเสียงทั่วโลก อยากเสริมความต้านทานให้พอร์ตการลงทุนจากภาวะเศรษฐกิจ
รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก

การวางแผนลงทุน RMF ลดหย่อนภาษี และการลงทุนสำหรับพอร์ตเกษียณของมนุษย์เงินเดือน เป็นสิ่งที่ควรทำตั้งแต่เริ่มต้นทำงาน และควรวางแผนตั้งแต่ต้นปี เพื่อให้สามารถบริหารจัดการเงินลงทุนได้อย่างเหมาะสม โดยสามารถขอคำปรึกษาเกี่ยวกับกองทุน RMF เพิ่มเติมกับผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนการเงิน การลงทุน และการลดหย่อนภาษีโดยเฉพาะจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา ได้ที่ช่องทางฮอตไลน์ 02-296-5959 ทุกวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 9.00 น. – 17.00 น. หรือฝากข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับก็ได้เช่นกัน

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีในคู่มือการลงทุน ก่อนตัดสินใจลงทุน

  • ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
  • RMF เป็นกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีหากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน
  • KFAFIXRMF, KFSINCRMF อาจลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ (Non-investment grade) หรือที่ไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Unrated Bond) ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ของผู้ออกตราสาร ซึ่งส่งผลให้ผู้ลงทุนขาดทุนจากการลงทุนบางส่วน หรือทั้งจำนวนได้ และในการขายคืนหน่วยลงทุนอาจไม่ได้รับเงินคืนตามที่ระบุไว้ในโครงการ
  • KFGBRANRMF ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน จึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ :Cr;มณสิการ รามจันทร์ 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวใหม่